22 มี.ค. เวลา 00:00 • การศึกษา

เราควรทนทำงานในสายวิชาที่เราเรียนมาหรือไม่

เด็ก’ถาปัดจำนวนมากเรียนจบแล้วไปประกอบอาชีพอื่น ทำให้มีคำถามหนึ่งที่หลายคนอยากถามคือ เราควรทำงานในสายวิชาที่เราเรียนมาหรือไม่
การเปลี่ยนสายเท่ากับรัฐเสียเงินค่าสร้างบุคลากรไปเปล่าๆ เสียของ จริงไหม?
ในมุมมองและความเห็นของผม - ไม่จริง
เวลาทำเค้กหรือขนมปัง ก็มีเศษแป้งที่ไม่ได้ใช้ ผัดกะเพรา ก็อาจมีวัตถุดิบบางส่วนที่ต้องทิ้งไป
เช่นกัน ทุกๆ การลงทุนในการศึกษามีโอกาสที่จะเสียของทั้งสิ้น แน่นอน ถ้าเสียน้อยกว่าก็ดี เพราะสังคมต้องเสียค่าใช้จ่ายในการสร้างบุคลากร
ลองมองอีกมุมหนึ่ง คนที่ทำงานตามสายวิชาที่เรียนมา แต่คดโกง หรือใช้วิชาชีพไปคอร์รัปชั่น หรือไปเอาเปรียบคนอื่น อย่างนี้ก็เสียของ
เสียของหรือไม่เสียของจึงขึ้นกับท้ายที่สุด บุคคลนั้นสร้างประโยชน์หรือเป็นโทษต่อสังคมมากกว่า
แต่เราต้องเข้าใจว่า เด็กวัยรุ่นส่วนใหญ่ที่เลือกเรียนคณะวิชาหนึ่งๆ นั้น อาจมีไม่ถึง 10 เปอร์เซ็นต์ที่รู้แน่วแน่ว่าชีวิตนี้จะไปทางไหน
บางคนเลือกคณะวิชาตามเพื่อน บางคนเลือกตามที่พ่อแม่บอก แล้ววัดดวงเอาว่า จบออกมาแล้วชีวิตจะดีมั้ง
คนเราต้องใช้เวลาในการเข้าใจและรู้จริงๆ ว่าตัวเองชอบอะไร จำนวนมากกว่าจะรู้ก็เรียนจบสายวิชาที่ไม่ชอบแล้ว
1
ใน 10 เปอร์เซ็นต์ที่รู้แน่วแน่ว่าชีวิตนี้จะไปทางไหน ก็อาจต้องเปลี่ยนสาย เพราะไปไม่รอดในเชิงรายได้
ดังนั้นไม่มีอะไรแน่นอน
ชีวิตคือการก้าวเคลื่อนไป ปรับตัวไปตามสถานการณ์ ผ่านไปช่วงหนึ่ง เราอาจเพิ่งรู้ว่าเราต้องการอะไรจริงๆ ในชีวิต
บางคนเรียนจบหลายปริญญา แต่ท้ายที่สุดพบว่าอยากเป็นพระ
ดังนั้นไม่ใช่เรื่องผิดที่เรียนจบสายหนึ่งแล้วไปทำงานอีกสายหนึ่ง
1
โดยเฉพาะผู้ชายที่แต่งงานแล้ว มักต้องทำงานสายที่ไม่ได้เรียนมาเสมอ
ซักผ้า
4
โฆษณา