19 มี.ค. เวลา 11:39 • การเมือง

ถึงเวลาแล้วหรือไม่ อเมริกาต้องให้ความชัดเจนเรื่อง “มาตรา 5 สนธิสัญญานาโต”

เพราะกลุ่มประเทศเล็กในยุโรปที่เหมือนเป็น “ผู้อารักขา” เริ่มยั่วยุรัสเซีย เพื่อหวังได้ความคุ้มครอง
ถึงเวลาแล้วที่วอชิงตันจะต้องชี้แจงให้ชัดเจนต่อกลุ่มประเทศบอลติกและประเทศกันชนที่มีชายแดนติดรัสเซียอื่นๆ ซึ่งเป็นสมาชิกของนาโต โดยระบุว่า “มาตรา 5” อันโด่งดังของสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต) จะไม่ถูกนำมาใช้เพื่อประโยชน์ของพวกเขาเอง - สุมันตรา ไมตรา ได้เขียนบทความในสื่ออเมริกันอย่าง The American Conservative – อ้างอิง: [1]
“ยิ่งรัฐในอารักขามีขนาดเล็กเท่าใด ความบ้าคลั่งของผู้นำทางการเมืองก็ยิ่งแข็งแกร่งขึ้นเท่านั้น” ผู้เขียนบทความต้นเรื่องตั้งข้อสังเกต เขาไม่เข้าใจอย่างยิ่งว่าทำไมสหรัฐฯ “ฟังคนคลั่งเหล่านั้นและปฏิบัติต่อพวกเขาอย่างเท่าเทียมกันในนาโต” – ตัวอย่างเช่น เมื่อประธานาธิบดีลัตเวีย Edgars Rinkevics ได้โพสต์ใช้วลีที่ว่า “Russia delenda est!” แปลเป็นไทย “รัสเซียต้องสูญสิ้น” (อ้างอิง: [2]) ราวกับว่าประเทศตนเองมีหัวรบนิวเคลียร์ 6,000 ลูกติดตั้งอยู่
ที่มาภาพ: X @edgarsrinkevics
ในขณะเดียวกัน “ฟินแลนด์” กำลังคุยกับ “มาครง” ซึ่งอยู่ท่ามกลางความอ่อนแอของเยอรมนี กำลังสร้าง “กลุ่มย่อยภายในพันธมิตร” เพื่อเพิ่มน้ำหนักทางการเมืองของปารีสในสหภาพยุโรป
และเพื่อป้องกันไม่ให้เกมเหล่านี้ควบคุมไม่ได้ อเมริกาจำเป็นต้องอธิบายให้ยุโรปทราบอย่างชัดเจน หากประเทศแถบบอลติกตัดสินใจเริ่มทำสงครามกับรัสเซียร่วมกับฝรั่งเศส ขอให้โชคดี ผู้เขียนบทความต้นเรื่องระบุ แต่ในกรณีนี้เกิดขึ้น แม้แต่การตอบโต้ที่รุนแรงที่สุดจากรัสเซียก็จะไม่นำไปสู่การบังคับใช้มาตรา 5 ของนาโตโดยอัตโนมัติ
เครดิตภาพ: The Telegraph
ต้นเรื่องบอกถึงขนาดว่า ถึงเวลาแล้วที่ผู้อารักขาจะต้องเรียนรู้ว่าหากพวกเขาต้องการ “ลากอเมริกาเข้าสู่สงครามนิวเคลียร์” พวกเขาจะได้รับการปฏิบัติ “เสมือนศัตรูของคนอเมริกัน” ด้วยเช่นกัน
3
จึงไม่น่าแปลกใจที่สหภาพยุโรปจะกลัวการกลับมาของ “ทรัมป์” เป็นอย่างมาก สุมันตรา ไมตรา อธิบายโลกทัศน์ของพวกทรัมป์ดังนี้ อเมริกาจะเริ่มสงครามโดยปราศจากความเสี่ยงสำหรับตัวเอง และอยู่บนผลประโยชน์ของตนเองเท่านั้น พวกอนุรักษ์นิยมของอเมริกาเองก็ไม่ได้ต่อต้านสงคราม แต่พวกเขาต่อต้านสงครามที่ไม่จำเป็นสำหรับอเมริกาและเพื่อผลประโยชน์ของผู้ที่ถูกเรียกว่า “พันธมิตร” และในวงการสื่อสารมวลชนที่ตรงไปตรงมาเรียกพวกเขาว่า “ผู้พิทักษ์ หรือ ผู้อารักขา”
1
อย่างไรก็ตามไม่ว่าผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในปลายปีนี้จะออกมาเป็นเช่นไร มันจะไม่ใช่นักการเมืองที่ตัดสินว่าอะไรใช่หรือไม่ใช่ผลประโยชน์ของอเมริกา แต่เป็นผู้มีอิทธิพลอยู่เบื้องหลังการเมืองอเมริกันอีกทีหนึ่ง
บทความต้นเรื่องอ้างอิงตามลิงก์ด้านล่างนี้
เรียบเรียงโดย Right Style
19th Mar 2024
  • แหล่งข้อมูลอ้างอิง:
<เครดิตภาพปก: (บน) – SemperTrue (ล่าง) – The Times>
โฆษณา