20 มี.ค. เวลา 03:07 • ธุรกิจ

สรุปวิธีเขียน Company Profile ที่คนทำธุรกิจควรรู้ จากเคส Google

Company Profile หรือบางครั้งก็ถูกเรียกว่า Company Credential อธิบายได้ง่าย ๆ ว่าเป็นเหมือน “โปรไฟล์” ที่ทำหน้าที่แนะนำตัว ให้กับคนอื่น ๆ ได้รู้จักแบรนด์หรือบริษัทของเรา
1
ไม่ว่าจะเป็น
- แบรนด์ของเราคือใคร ขายสินค้า หรือบริการชนิดใด
- ใครเป็นลูกค้าของเรา
- จุดเด่น และความแตกต่างของเรากับคู่แข่ง คืออะไร
- ทำไมต้องเลือกซื้อสินค้าหรือบริการ จากแบรนด์ของเรา
1
ทั้งหมดนี้ คือหน้าที่แบบเข้าใจง่าย ๆ ของ Company Profile
2
คำถามคือ เราจะมีวิธีการในการเขียน Company Profile ของเราอย่างไร มีข้อมูลอะไรที่ควรใส่เข้าไปบ้าง ?
MarketThink จะพาไปเจาะลึก ถึงองค์ประกอบ ที่ควรมีใน Company Profile กันแบบเข้าใจง่าย ๆ
ก่อนอื่น ต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า Company Profile มีอยู่หลายรูปแบบ
ทั้งในเว็บไซต์ของบริษัท ของแบรนด์ ที่ใคร ๆ ก็เปิดเข้าไปดูได้
เช่น https://about.google/ ของ Google
หรือ https://about.meta.com/ ของ Meta
หรือจะเป็นกระดาษ อย่างแผ่นพับ หรือใบปลิว ที่ใช้แจกให้กับลูกค้า
โดยองค์ประกอบของ Company Profile นั้น ไม่ได้มีสูตรตายตัว แต่โดยทั่วไปแล้วจะแบ่งออกเป็น 4 ส่วนด้วยกัน
- องค์ประกอบที่ 1 : เรื่องราวของแบรนด์ (Brand Story)
เป็นองค์ประกอบที่เรามักเห็นเป็นอย่างแรกใน Company Profile เพราะเป็นส่วนที่เนื้อหาค่อนข้างคงที่ ไม่ได้เปลี่ยนกันบ่อย ๆ
เนื้อหาในส่วนนี้ จะเป็น “เรื่องราวของแบรนด์” ที่อยากให้ลูกค้าของเรารู้ เป็นเหมือนการแนะนำตัว ว่าเราคือใคร
ไม่ว่าจะเป็น
- ประวัติของแบรนด์แบบคร่าว ๆ
- จุดเริ่มต้นการทำธุรกิจ
- ความหลงใหล ที่ทำให้เกิดเป็นแบรนด์นี้ขึ้นมา
- ความเชี่ยวชาญ หรือจุดเด่น
- Vision หรือ Mission ของแบรนด์
โดยเรื่องราวของแบรนด์ สามารถเล่าออกมาเป็นประวัติของแบรนด์แบบคร่าว ๆ เรียงตามไทม์ไลน์ ไม่วกไปวนมา
2
ที่สำคัญคือ ในประวัติของแบรนด์ ควรมีความสำเร็จในแต่ละช่วงเวลาแทรกอยู่ด้วย
เพื่อสร้างความแตกต่างระหว่างแบรนด์ของเรา กับแบรนด์อื่น ๆ
1
- องค์ประกอบที่ 2 : สินค้าหรือบริการของเรา คืออะไร
หลังจากที่ลูกค้าของเรา ได้รู้เรื่องราวของแบรนด์ทั้งหมดไปแบบคร่าว ๆ แล้วว่า แบรนด์ของเรามีที่มาอย่างไร
องค์ประกอบถัดไปใน Company Profile ก็คือ การอธิบายว่าสินค้าและบริการของเรา มีอะไรบ้าง
1
โดยเราสามารถแบ่งแนวทางการอธิบายได้เป็น 3 รูปแบบ
1
รูปแบบที่ 1 : คือ การอธิบายเฉพาะสินค้าและบริการยอดนิยมของแบรนด์ สินค้าหรือบริการตัวใดที่ขายดี ก็หยิบยกขึ้นมาโชว์ให้เห็นชัด ๆ
1
รูปแบบที่ 2 : คือ การจัดประเภทสินค้าหรือบริการของเราออกเป็นหมวดหมู่ โดยอธิบายแต่ละหมวดหมู่แบบคร่าว ๆ ให้พอเห็นภาพที่ชัดเจน
รูปแบบที่ 3 : คือ การอธิบายถึงสินค้าหรือบริการที่เรามีทั้งหมด แบ่งเป็นรายการให้อ่านแบบง่าย ๆ แต่ที่สำคัญคือ วิธีนี้อาจเหมาะกับแบรนด์ที่มีสินค้าหรือบริการที่มีจำนวนไม่มากเท่านั้น
โดยเราสามารถใส่จุดเด่นของสินค้า หรือบริการของเราลงไปด้วยก็ได้
เช่น สินค้าชิ้นนั้นของเรา มีฟีเชอร์เด่นอย่างไร มีประโยชน์อย่างไร เหมาะกับคนกลุ่มใด ทำไมลูกค้าจำนวนมากจึงนิยมใช้
- องค์ประกอบที่ 3 : รางวัล และความสำเร็จที่ได้รับ
องค์ประกอบนี้ จะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือ และสร้างความเป็นมืออาชีพให้กับแบรนด์ของเรา
ตัวอย่างของรางวัล และความสำเร็จที่เคยได้รับ ก็มีทั้ง
- รางวัลเกี่ยวกับมาตรฐานการผลิต
- รางวัลการออกแบบ รางวัลด้านความคิดสร้างสรรค์
- รางวัลด้านคุณภาพ และการให้บริการ
- หรือรางวัลเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
โดยเราอาจอธิบายเพิ่มเติม เกี่ยวกับรางวัล และความสำเร็จแต่ละอย่างด้วยว่ารางวัลนั้นคืออะไร ทำไมถึงได้รับ หรือได้มาจากความสำเร็จด้านใด
ก็จะทำให้แบรนด์ของเราดูมีความโดดเด่น และมีภาพลักษณ์ที่ดีมากขึ้นไปอีก
1
- องค์ประกอบที่ 4 : ลูกค้าของเราคือใคร
1
ในองค์ประกอบนี้ เราสามารถให้ข้อมูลเพิ่มเติมได้ว่า ที่ผ่านมาลูกค้าที่ซื้อสินค้าหรือบริการของเรา เป็นใครบ้าง
โดยเราสามารถใส่ข้อมูลได้ทั้งในลักษณะของ “โลโก” บริษัทหรือหน่วยงาน ที่เป็นลูกค้าของเรา
หรือจะใส่ข้อมูลเป็น โควตคำพูดสั้น ๆ เกี่ยวกับความประทับใจของลูกค้า ที่มีต่อสินค้าหรือบริการ ของแบรนด์เราก็ได้
หรือในบางครั้ง เราอาจเห็น Company Credential ของบางแบรนด์เลือกนำข้อมูลผลสำรวจความพึงพอใจจากลูกค้าจริง มาใช้ประกอบข้อมูลในส่วนนี้ ก็ได้เช่นกัน
แล้วถ้าถามว่าองค์ประกอบนี้ สำคัญอย่างไร ?
คิดภาพตามง่าย ๆ ว่า ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้เราสามารถ “ขาย” จุดเด่นของสินค้าหรือบริการของเราได้อีกครั้ง
เช่น สินค้าหรือบริการของเรา ช่วยให้ลูกค้าบรรลุเป้าหมายของตัวเองอย่างไร
หรือประโยชน์ที่ได้รับ จากการใช้สินค้าหรือบริการจากแบรนด์ของเรา
ทั้งหมดนี้ คือ 4 องค์ประกอบพื้นฐานที่เรามักเห็นกันบ่อย ๆ ใน Company Profile ของแต่ละแบรนด์
แต่ต้องหมายเหตุเอาไว้ด้วยว่า Company Profile นี้ ไม่ได้มีสูตรที่ตายตัว
บางแบรนด์อาจมีองค์ประกอบที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับความต้องการที่แตกต่างกัน
ทีนี้ เพื่อความเข้าใจที่ดียิ่งขึ้น เราลองไปดูตัวอย่างกันดีกว่าว่า Company Profile จริง ๆ ของแต่ละบริษัท เป็นอย่างไรบ้าง
โดยเราจะยกตัวอย่างเป็น Company Profile ของ Google จากหน้าเว็บไซต์ https://about.google/
1
สิ่งที่เราเห็นได้จาก Company Profile ของ Google เป็นอย่างแรก คือ การเล่าเรื่องราวของแบรนด์ ให้กับคนทั่วไปได้รู้จัก Google กันก่อน
ผ่านพันธกิจ (Mission) ของ Google ที่ระบุว่า “พันธกิจของเรา คือการจัดระเบียบข้อมูลในโลกนี้ และทำให้เข้าถึงได้ง่ายในทุกที่ และมีประโยชน์”
ตามด้วยประวัติคร่าว ๆ ของ Google ตลอด 25 ปีที่ผ่านมา
โดยการเล่าผ่านคลิปวิดีโอสั้น ๆ ความยาวไม่ถึง 4 นาที ว่าที่ผ่านมาคนทั่วโลก ใช้ Google ในการค้นหาสิ่งใดบ้าง
1
และที่สำคัญคือ คลิปวิดีโอนี้ ทำให้คนทั่วไปเข้าใจว่า Google มีอิทธิพลต่อการใช้ชีวิต ของคนทั่วโลกอย่างไร
หลังจากที่ Google เล่าเรื่องราวของแบรนด์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว Google ก็ได้เข้าสู่องค์ประกอบถัดไป นั่นคือ องค์ประกอบด้านสินค้าและบริการ
ซึ่ง Google ได้เลือกนำสินค้าและบริการของตัวเอง มาอยู่ใน Company Profile เพียง 2 หมวดหมู่ นั่นคือ Google Workspace ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับการทำงานในองค์กรต่าง ๆ
และเทคโนโลยีด้านความปลอดภัย ที่มีความเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของ Google เอง
โดยที่หากเราต้องการข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการทั้งหมดที่ Google มี ก็สามารถเข้าไปดูเพิ่มเติมได้ ในอีกเว็บไซต์หนึ่งแทน
เพราะ Google เป็นแบรนด์ที่มีสินค้าและบริการจำนวนมาก ไม่สามารถบอกได้ละเอียดหมด ในหน้าแนะนำบริษัท
และองค์ประกอบสุดท้ายใน Company Profile ของ Google ก็คือ “ลูกค้า”
ที่แม้ Google จะไม่ได้ระบุมาตรง ๆ ว่าบริษัทใด หรือใครบ้างที่เป็นลูกค้าของ Google เพราะแน่นอนว่า ทุกคนบนโลกน่าจะต้องเป็นลูกค้าของ Google กันอยู่แล้ว
แต่ Google เลือกที่จะนำเสนอองค์ประกอบในด้านนี้ ด้วยการระบุถึงบุคคลที่มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น จากการใช้งานผลิตภัณฑ์ของ Google
เช่น คนที่เข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัล ได้ดียิ่งขึ้น
ผู้หญิงที่เป็นแรงบันดาลใจด้านความเท่าเทียม
คนที่ใช้ YouTube เรียนรู้การประดิษฐ์ลูกตาปลอมให้กับลูกสาวของตัวเอง
หรือศิลปินที่ขอแฟนแต่งงานด้วยศิลปะที่ทำจาก Google Earth
1
อย่างไรก็ตาม สิ่งหนึ่งที่เราเห็นได้ว่าขาดหายไปจาก Company Profile ของ Google ก็คือ รางวัล และความสำเร็จ
1
ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะ Google เป็นบริษัทที่คนทั่วโลกรู้จักอยู่แล้ว
รวมถึงคนทั่วโลกก็รู้อยู่แล้วว่า Google ส่งผลต่อการใช้ชีวิตของคนทั่วโลกอย่างไร
รางวัลและความสำเร็จ จึงอาจไม่ใช่องค์ประกอบที่จำเป็นสำหรับ Company Profile ของ Google ก็เป็นได้
และนั่นก็เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจน ว่า Company Profile ไม่ได้มีสูตรสำเร็จที่ตายตัว
ทุกแบรนด์ ไม่จำเป็นต้องทำเหมือน ๆ กัน
แต่ต้องหาสูตรที่มีความเหมาะสมกับตัวเอง ให้มากที่สุด..
โฆษณา