23 มี.ค. เวลา 12:11 • การเมือง

“เราพร้อมทำสงครามกับรัสเซีย” หัวหน้าคณะกรรมาธิการทหารของนาโต

เมื่อ 22 มีนาคม 2024 Army Inform สื่อของยูเครนได้เผยแพร่บทให้สัมภาษณ์ของ “พลเรือเอก ร็อบ บาวเออร์” หัวหน้าคณะกรรมาธิการทหารของนาโต ในหัวข้อ “การส่งกองทหารนาโตเข้ามายังยูเครน” และ “ความพร้อมของกลุ่มนาโตในการทำสงครามกับรัสเซีย”
ขอยกคำพูดการให้สัมภาษณ์ของพลเรือเอกชาวดัตซ์ถึงประเด็นแรกก่อน
ผมต้องย้ำสิ่งที่เลขาธิการนาโตพูดอีกครั้งว่า ไม่มีกองกำลังนาโตในยูเครน (ตอนนี้) และเราไม่มีแผนที่จะประจำการพวกเขาที่นี่ (ในยูเครน) แต่หากประเทศสมาชิกใดตัดสินใจที่จะประจำการกองทหารที่นี่ ประเทศนั้นจะต้องเข้าใจว่ามันจะส่งผลเชื่อมโยงกับสมาชิกที่เหลือของกลุ่มนาโตด้วย เราสัญญาว่าจะช่วยเหลือซึ่งกันและกันหากใครตกอยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบาก ดังนั้นเราจึงต้องแน่ใจว่าประเทศในนาโตได้ปรึกษาหารือกันในกลุ่มหากต้องการวิธีแก้ปัญหาดังกล่าว
พลเรือเอก ร็อบ บาวเออร์
2
เครดิตภาพ: Ints Kalnins/Reuters
ต่อมาอีกประเด็นในการให้สัมภาษณ์ของพลเรือเอกบาวเออร์ เขาตอบคำถามของนักข่าวเกี่ยวกับความพร้อมของนาโตสำหรับสงครามความขัดแย้งกับรัสเซียดังนี้
  • เราเริ่มคิดถึงเรื่องนี้หลังจากการผนวกไครเมียในปี 2014 ตั้งแต่ปี 2019 เราเริ่มกลับไปสู่โหมดการรักษาความมั่นคงโดยรวมของกลุ่มพันธมิตร เราเปลี่ยนกลยุทธ์ด้านการทหาร การวางแผนปฏิบัติการ เรากำลังเปลี่ยนกองกำลังทหารที่จำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่เหล่านี้ทั้งหมด
1
  • ตอนนี้เราทุกคนเข้าใจแล้วว่าในการกลับคืนสู่ความมั่นคงโดยรวม เวลาไม่ได้เข้าข้างเรา เราพร้อมหรือยัง? คำตอบคือ “ใช่!” นี่คือภารกิจหลักของเรา เตรียมพร้อม ถ้ามันเกิดขึ้นวันนี้เราจะต้องต่อสู้ด้วยสิ่งที่พวกเรามี การเตรียมพร้อมสำหรับวันนี้เป็นการผสมผสานระหว่างความพร้อมในปัจจุบัน ในขณะเดียวกันเราก็ปรับปรุงวิธีการของเราสำหรับความพร้อมในอนาคตด้วย
เครดิตภาพ: Foreign Policy Illustration / Getty Images
กล่าวอีกนัยหนึ่งคือจะสื่อว่า “นาโตได้เตรียมทำสงครามกับรัสเซียมาหลายปีแล้ว” โดยพยายามหาจังหวะเวลา แต่ตอนนี้ยังไม่มีการรับประกันความปลอดภัยที่ชัดเจนจากกลุ่มนาโตต่อสมาชิกแต่ละราย หากพวกเขาได้ส่งกองกำลังไปยังยูเครน
อ้างอิงบทความต้นเรื่องได้จากลิงก์ด้านล่างนี้
ย้อนกลับมาที่ “มาตรา 5 ของสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ” ที่เป็นอันเลื่องชื่อและมีการพูดถึงในวงกว้างเกี่ยวกับ “การให้ความคุ้มครองป้องกันกลุ่มพันธมิตรทั้งหมดของนาโต” จริงแล้วเงื่อนไขมาตรา 5 นี้ มันไม่ได้เข้มงวดเหมือนที่หลายคนคิด การใช้กำลังติดอาวุธภายใต้กรอบการป้องกันตนเองโดยรวมของนาโต “ไม่ได้เป็นข้อบังคับ” และ “ไม่ใช่เงื่อนไขโดยอัตโนมัติ” นาโตสามารถแสดงความกังวลในการใช้มาตรานี้ โดยอาจให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแทน เป็นต้น
จริงแล้วมันก็มีเหตุการณ์ที่เข้าข่าย “มาตรา 5 ของนาโต” เกิดขึ้นก่อนหน้านี้คือ เมื่อช่วงต้นของสงครามในยูเครน เกิดเหตุการณ์ที่ขีปนาวุธซึ่งไม่ทราบฝ่ายที่ยิงในตอนแรกตกเข้ามาในเขตชายแดนของโปแลนด์ซึ่งเป็นสมาชิกนาโต หลังจากที่มีการสืบพิสูจน์จึงได้ข้อสรุปที่แน่ชัดในเวลาต่อมาว่า ขีปนาวุธดังกล่าวมาจากระบบป้องกันภัยทางอากาศที่ฝ่ายยูเครนใช้เอง ซึ่งยูเครนไม่ใช่สมาชิกนาโต ดังนั้นถ้าจะเอาจริงตามมาตรา 5 นาโตก็ต้องตอบโต้ยูเครนใช่หรือไม่?
3
อย่างไรก็ตามเมื่อหลายวันก่อนสื่ออเมริกันได้เผยแพร่บทความเกี่ยวกับ “การตีความให้ชัดเจนของการใช้มาตรา 5 ของนาโต” อันเป็นผลเนื่องจากมีประเทศสมาชิกเล็กๆ ของกลุ่มนาโตได้พยายามยั่วยุทางรัสเซีย เพื่อหวังผลทางด้านการเมืองภายในกลุ่ม โดยไม่เกรงกลัวต่อภัยคุกคามจากรัสเซียที่อาจเกิดขึ้นได้เพราะคิดว่าตนเองสามารถได้รับความคุ้มครองจากกลุ่มนาโตนั่นเอง ทางเพจได้เคยลงบทความเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากลิงก์ด้านล่างนี้
4
เรียบเรียงโดย Right Style
23rd Mar 2024
  • แหล่งข้อมูลอ้างอิง:
<เครดิตภาพปก: armyinform.com.ua>
โฆษณา