27 มี.ค. เวลา 05:10 • ท่องเที่ยว

หอไตรวัดระฆังฯ ยลจิตรกรรมเชิงช่างรัชกาลที่ 1

ถ้าพูดถึงวัดระฆังโฆษิตาราม เชื่อว่าหลาย ๆ คนอาจจะนึกถึงวัดริมฝั่งเจ้าพระยาใกล้วังหลังและตรงข้ามกับพระบรมมหาราชวังที่มีประติมากรรมของสมเด็จพุฒาจารย์จารย์ (โต พรหมรังสี) สูงเด่นเป็นเอกลักษณ์ แต่รู้หรือไม่ว่าภายในวัดแห่งนี้มีอะไรดี ๆ ซ่อนอยู่มากกว่าหลวงปู่โตเสียอีก ซึ่งในวันนี้เราจะพาไปดูกันสิ่งที่ซ่อนอยู่ในวัดระฆังอย่าง “ตำหนักจันทร์” เรือนสีแดงที่กลายมาเป็นหอไตรประจำวัด
ตำหนักจันทร์เดิมเป็นเรือนประทับของเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก หรือพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเมื่อครังยังรับราชการในแผ่นดินธนบุรี ก่อนที่จะรื้อไปถวายเป็นกุฏิพระที่วัดระฆังเมื่อครั้งเสด็จไปตีเมืองโคราช
ครั้นเมื่อย้ายราชธานี พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ก็ทรงมีพระราชปรารภถึงตำหนักหลังนั้นและประสงค์จะบูรณะปฏิสังขรณ์ใหม่ให้สวยงามและเปลี่ยนเป็นหอไตร จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอฯ เป็นแม่กองในการบูรณะปฏิสังขรณ์
จิตรกรรมสีฝุ่นฝีมือพระอาจารย์นาค
ซึ่งได้ “พระอาจารย์นาค” ซึ่งเป็นพระภิกษุจิตรกรคนสำคัญของยุค ตลอดจนพระภิกษุรูปอื่น ๆ ที่ไม่ปรากฏชื่อให้มาลงแปรงเขียนภาพสีฝุ่นภายในพระตำหนักหลังนี้จนสวยงาม เนื้อหาของภาพมีความเกี่ยวข้องกกับคติจักรวาลตลอดจนถึงเรื่องเล่าในสาสนาอย่างเรื่องของ “มฆมานพ” ผู้ซึ่งเป็นชาติก่อนของพระอินทร์ นอกจากนี้ภายในยังตู้พระธรรมจัดแสดงอีกด้วย
ตู้พระธรรม
สำหรับใครที่อยากเดินทางมาสำรวจดูจิตรกรรมภายในตำหนักจันทน์ก็สามารถเดินทางมาได้ โดยได้ถูกย้ายมาตั้งอยู่ภายในกำแพงแก้วของวัดและได้บูรณะซ่อมแซมไปบ้างแล้ว ปกติจะเปิดให้เข้าชมทุกวันตามเวลาเปิดปิดของวัด ราว 8.00 - 17.00 น.
อ้างอิง:
เผ่าทอง ทองเจือ, ชมบ้านโบราณ ชิมของอร่อย, ธนาคารกรุงเทพ.
โฆษณา