29 มี.ค. เวลา 09:43 • การตลาด

กำลังกังวลว่า วัฏจักร " โกโก้ " ในไทย จะซ้ำรอย ยางพารา เมื่อปี 54 ไหมคะ ?

ประโยคข้างต้น เป็นคำถามของ สมาชิกบูลฟิน ท่านหนึ่ง....
อืมมมม เรื่องนี้ยาวววว ค่ะ บอกเลย ><
ตอบสั้นๆคงไม่ได้ เอาเป็นว่าจะขอแชร์ในมุมที่เคยติดตามเรื่องการส่งออกภาคเกษตรบ้านเรามานะคะ
ปัญหาบ้านเราหลักๆ มาจากโครงสร้าง 3 ระดับ
1. เกษตรกร
ต้องยอมรับว่า เกษตรยังไม่สามารถเข้าถึง " องค์ความรู้ " ทั้งในด้านการเพาะปลูก ตลอดจนการควบคุม คุณภาพ และ การแปรรูป ผลิตผล ได้ดีพอ เมื่อเทียบกับ ประเทศผู้ส่งออกรายอื่นๆ ซึ่งในส่วนนี้รวมถึงความเข้าใจในเรื่อง "ตลาด" ด้วย ส่วนนี้คือ ปัจจัยของการนำไปสู่ การประหยัดต่อขนาดอีกที หรือ Economy of scale
ซึ่งในภาพใหญ่เป็นปัญหาของรัฐที่ยังผลักดัน คุณภาพตรงนี้ไม่ดีพอ เราขาดทั้ง โนว์ฮาว และ นวัตกรรม
2. เอกชน
 
เอกชนไทย หรือ ตลอดรวมถึง พ่อค้าคนกลาง ยังขาดแคลนระบบซัพพลายเชน (ห่วงโซ่อุปทาน) ระบบซัพพลายเชนในบ้านเรายังไม่แข็งแรงนัก ทำให้ราคารับซื้อแต่ละพื้นที่ มีผลต่อทุน ต่างกัน สิ่งนี้ ทำให้ ไม่ใช่ว่า ทุกพื้นที่เพาะปลูกจะมีจุดคุ้มทุนที่เท่ากัน สิ่งนี้รวมถึงการผลักดันสนับสนุน ภาคอุตรสาหกรรมกลางน้ำ ที่แปรรูป ยังน้อยอยู่ ไม่มีผู้เล่นมากพอ หรือ กระจายตัวมากพอ
ทำให้ในที่สุด ภาคเอกชนนี้ จึงใช้ความได้เปรียบของ
" ระบบเกษตรพันธสัญญา " ( contract farming )
ตรงนี้แหละ ที่เป็นหนึ่งในช่องโหว่ ของปัญหาหลายๆอย่างตามมา ตั่งแต่ การต้องซื้อ พันธุ์พืช ปุ๋ย ในแบบที่กำหนด ฯลฯ ไม่ได้หมายความว่า CF เป็นสิ่งไม่ดี เพียงแต่มันมีคนไม่ดีนำไปใช้หากินได้
3. ภาครัฐ
โดยรวมแล้ว ปฏิเสธว่าภาครัฐยังทำได้ไม่ดีพอ (แน่นอนว่า เรื่องงบประมาณนั้นมีผล อิงกับการจัดหาเงินทุน)
ปัญหาข้อนี้เป็น หลุมใหญ่สุดของโครงสร้าง เพราะ ภาครัฐมีส่วนสำคัญ ตั่งแต่การเริ่มให้ชุดข้อมูล และองค์ความรู้แก่เกษตรกรผู้ผลิต อาทิ การตั้งศูนย์เรียนรู้ จัดหาเจ้าหน้าที่เฉพาะภาคส่วน
การผลักดันบูรณาการทุกภาค ตั่งแต่การกำหนดลงทะเบียนผู้ผลิต การไปมีส่วนในรายละเอียดของ "พันธสัญญา" การ กำหนดเขตพื้นที่เพาะปลูก ปริมาณรับซื้อ รับประกัน ตลอดรวมถึงกำหนดสายพันธุ์ กำหนดผู้รับซื้อ ในตลาด และส่งเสริมตลาดทั้งภายในและภายนอก
นี่คือคร่าวๆ ของรากปัญหาในบ้านเรา
โอเค ทีนี้กลับมาที่ เรื่อง " โกโก้ "
อันที่จริง บ้านเราปลูก "โกโก้" กันมานาน นานมากเป็น 20-30 ปีเลยแหละ และหลายรัฐบาลก็เคยพลักดันให้เป็น พืชเศรษฐกิจ แห่ง อนาคต
1
แต่...ก็ด้วยปัญหาที่ว่ามา 3 ข้อใหญ่ ข้างต้นนี่แหละ ที่ฉุดรั้งให้เราไม่ได้ไปไกลเท่าที่ควร ตอนยางพารา คนแห่ปลูกมาก เพราะราคาดี แต่คนไม่เข้าใจ " กลไกตลาด" อีกทั้ง รัฐไม่ได้จัดการรัดกุมพอ ทำให้เจ๊งกันไปเป็นแถบๆ
เริ่มแรก "โกโก้" ถูกสนับสนุนให้เป็นพืชแซม สวนมะพร้าว เนื่องจาก มะพร้าวราคาตกต่ำ และก็ มายุค ยางพาราที่เริ่มล้น ก็ได้รับการสนับสนุนอีกครั้ง แต่ด้วยองค์ความรู้และระบบการจัดการทั้งหลายทั้งปวง ทำให้ โกโก้
"ไม่เกิด" ไม่ปัง พังต่ออีก และ จนมายุครัฐบาล ประยุทธ โกโก้ ก็ กลับมาได้รับความนิยมอีกครั้งแบบจริงๆจังๆ
(ยุครัฐบาลเศรษฐา ก็มีหาเสียงไว้กับเกษตรกรอยู่ เห็นแวบๆช่วงเลือกตั้ง)
สิ่งนี้ ปัจจัยส่วนหนึ่งที่ โกโก้ เติบโตขึ้นในบ้านเรา เพราะตลาด กาแฟ ตลาดคาเฟ่ มันโตขึ้นแบบก้าวกระโดด นี่คือคีย์สำคัญ โตขนาดที่ว่า ยอดผลิตไม่เพียงพอ ยังต้องนำเข้าเยอะมากกกก
บ้านเราเพาะปลูกได้แทบทุกพื้นที่ เป็นข้อได้เปรียบ
ก่อนหน้านี้ ผลผลิต เติบโต ไม่ทันตลาด เพราะรอบการผลิตมาเลทไป และ ก็วนกลับไปที่ ปัญหาซัพลายเชนด้วย
แต่...สิ่งที่ต้องกังวลต่อไปข้างหน้าคือ อนาคต เมื่อผลผลิตเราเติบโตขึ้น ขยายขึ้น ราคา หรือ ตลาด จะยังคง อยู่ในจุดพีค แบบนี้ต่อไปหรือไม่
ซึ่งส่วนตัว มอง เอนไปทางว่า "ไม่" เพราะ สินค้าเกษตร เป็น คอมโม ซึ่งมันมีรอบวัฏจักร และ เจ้าตลาดที่ทำกลไกราคาอยู่ เกษตรหรือ ผู้ผลิต รวมถึงภาครัฐ ต้องมีความเข้าใจให้ลึกซึ้งพอ มีการเตรียมการที่ดี ปีนี้ราคาแรงเพราะเอลนีโญ่ ปีต่อๆไปก็อาจจะทรงตัวอยู่ แต่ เมื่อซัพพลายเริ่มมีมาก และ ปัญหาสภาวะอากาศคลี่คลาย ราคาก็ย่อมร่วมลง ไม่มีอะไรที่ แน่นอน และ จีรัง ดังนั้นต้องมีการเตรียมการที่ดีและรอบคอบ ไม่ให้เกิดปัญหาแบบที่ผ่านมา
แต่อย่างไรก็ตาม ความต้องการของโกโก้ ในตลาดโลกก็ยังมีมาก มีรูมพอให้เราสู้ได้ หรือ อย่างน้อยๆ ในบ้านเราเองก็ยังมีความต้องการมากอยู่ เหลือแค่ว่า จะจัดการอย่างไร ทั้งการขยายตลาด และ การส่งเสริมการผลิตทั้งกระบวนการ ?
ประมาณนี้ เพื่อนๆพี่ๆ มีความเห็นว่าไงกันบ้าง แชร์ แลกเปลี่ยนกันได้นะคะ
มิ้วๆ
โฆษณา