29 มี.ค. เวลา 11:34 • ข่าวรอบโลก

มารู้จักโรคแบคทีเรียกินเนื้อ ซึ่งกำลังเป็นข่าวโด่งดังในประเทศญี่ปุ่นขณะนี้

จากที่ปรากฏเป็นข่าวว่า ทางการญี่ปุ่นออกมารายงานว่า พบโรคแบคทีเรียกินเนื้อ หรือโรคเนื้อเน่า เพิ่มขึ้น เป็นจำนวนมากหลายเท่าตัวในระยะนี้
4
ทำให้เป็นที่สนใจกันทั่วโลก รวมทั้งคนไทยเป็นจำนวนมาก ที่จะเดินทางไปท่องเที่ยวในประเทศญี่ปุ่น จึงควรมาทำความเข้าใจและรู้จักโรคนี้กันครับ
3
1) โรคแบคทีเรียกินเนื้อ หรือโรคเนื้อเน่า มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Flesh eating disease และมีชื่อทางการแพทย์ว่า Necrotizing Fasciitis
2) สาเหตุของโรคเกิดจากแบคทีเรียชื่อกรุ๊ปเอสเตปโตค็อกคัส (Group A Streptococcus) หรืออาจจะเป็นแบคทีเรียชนิดอื่นๆ อีกก็ได้เช่นกัน
1
3) โดยจะเกิดการอักเสบอย่างรุนแรงตั้งแต่ชั้นผิวหนังกำพร้า ลงไปชั้นผิวหนังแท้ ชั้นไขมัน และตำแหน่งที่เป็นปัญหามากที่สุดก็คือชั้นกล้ามเนื้อ
3
4) สาเหตุของการเกิดการอักเสบหรือการติดเชื้อ มักจะเริ่มต้นจากการมีบาดแผลเล็กน้อย เช่น แมลงกัดแล้วไปเกาด้วยมือที่สกปรก หรือเดินชมสวน ชมป่าที่ทำให้เกิดแผลเล็กน้อยที่ผิวหนัง แล้วดูแลรักษาไม่ดี ทำให้เกิดการติดเชื้อ
5) ประเทศไทยพบโดยเฉลี่ย 15 รายต่อประชากร 100,000 คน ในกรณีที่ติดเชื้อรุนแรงเข้ากระแสเลือด จะมีอัตราการเสียชีวิตสูงมากถึง 17-49%
6) ประเทศไทยมักจะพบมากในช่วงเดือนมีนาคมถึงมิถุนายน
7) อาการและอาการแสดง : มักจะเริ่มต้นด้วยการเป็นแผลเล็กๆ คันและเจ็บ หลังจากนั้นจะเริ่มมีอาการบวม แดง ร้อน แต่ที่แตกต่างไปจากโรคผิวหนังอักเสบอื่นก็คือ ความรู้สึกเจ็บปวดจะอยู่ลึกลงไป และมีขอบเขตที่กว้างกว่าพื้นที่ที่ผิวหนังอักเสบ
1
8) ถ้ายังไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ผิวหนังจะเปลี่ยนจากสีแดงเป็นสีม่วงคล้ำ และสีดำในที่สุด นอกจากนั้นยังอาจเกิดตุ่มน้ำที่ผิวหนัง กดแล้วรู้สึกเสียงดังกรอบแกรบคล้ายมีอากาศอยู่ข้างใต้ได้ด้วย ตามด้วยกล้ามเนื้อบางส่วนตาย
2
9) คนกลุ่มเสี่ยงได้แก่ ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น คนที่รับยาสเตียรอยด์ รับยากดภูมิ หรือเป็นมะเร็งที่รับการฉายแสงหรือรับเคมีบำบัด ในผู้ที่มีโรคประจำตัวเป็นเบาหวาน ตับแข็ง ไตวาย ผู้ที่สูบบุหรี่หรือดื่มสุราเป็นประจำ
2
10) การติดต่อ : โรคไม่ได้ติดต่อผ่านทางอากาศแบบเดียวกับโรคไข้หวัดใหญ่หรือโรคโควิด-19 แต่เกิดจากได้รับเชื้อแบคทีเรียโดยตรง
3
11) การรักษา : ทำแผลให้สะอาด และกรณีที่มีเนื้อตายแล้ว แพทย์จะทำการตัดเอาเนื้อที่ตายนั้นออก ให้ยาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อ
3
12) การป้องกัน : เมื่อเกิดแผลไม่ว่าจะใหญ่หรือเล็กเพียงใด ควรทำความสะอาดเป็นอย่างดี คอยเฝ้าระวังดูแลให้มือและผิวหนังมีความสะอาดอยู่เสมอ ในกรณีที่เป็นแผลเล็กน้อย ทำแผลแล้วอาการไม่ดีขึ้น มีลักษณะคล้ายกับที่กล่าวมาข้างต้น ให้รีบไปพบแพทย์โดยเร็ว
3
โรคแบคทีเรียกินเนื้อ หรือโรคเนื้อเน่า แม้พบไม่บ่อยนัก แต่มีความรุนแรงสูง ทุกคนจึงควรมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง
โฆษณา