5 เม.ย. เวลา 06:00 • สุขภาพ

‘คนเมือง’ ย่อยผักได้น้อยลง ขาด ‘แบคทีเรียในลำไส้’ เหตุพฤติกรรมการกินเปลี่ยนไป

วิจัยพบ “Ruminococcus” แบคทีเรียในลำไส้ที่ทำหน้าที่ช่วยย่อย “เส้นใย” ของพืชผัก ในร่างกายของมนุษย์ที่อาศัยอยู่ในเมืองมีจำนวนลดลงเป็นอย่างมาก เพราะมนุษย์มีพฤติกรรมการกินและวิถีชีวิตเปลี่ยนไปจากเดิม
5
ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเบ็น-กูรีย็อน หรือ BGU ในอิสราเอล ค้นพบว่า มนุษย์ที่ใช้ชีวิตในสังคมเมืองมีจำนวนแบคทีเรียในลำไส้ “Ruminococcus” ที่ทำหน้าที่ย่อยสลายเซลลูโลสลดลง
2
แบคทีเรียที่ย่อยสลายเซลลูโลสชื่อ Ruminococcus ทำหน้าที่ผลิตคอมเพล็กซ์โปรตีนขนาดใหญ่ เรียกว่า “เซลลูโลโซม” เพื่อย่อยสลายเซลลูโลส ซึ่งเซลลูโลโซมถูกออกแบบมาให้สามารถดึงเส้นใยเซลลูโลสออกจากกันโดยเฉพาะ โดยจะเปลี่ยนเส้นใยให้เป็นน้ำตาลที่หล่อเลี้ยงทั้งร่างกาย
3
ธรรมชาติของเซลลูโลสจะย่อยยาก เพราะไม่ละลายน้ำ ปรกติแล้วไฟเบอร์ในลำไส้ก็เปรียบเสมือนกับท่อนซุงที่ลอยอยู่ในสระว่ายน้ำ ถึงมันจะเปียกแต่ก็ไม่สามารถละลายได้
4
นักวิจัยกล่าวว่าแบคทีเรียที่ผลิตเซลลูโลโซมพบได้ในไมโครไบโอมของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมโดยทั่วไป แต่งานวิจัยนี้ค้นพบแบคทีเรียย่อยสลายเซลลูโลส 4 ชนิดที่อยู่ในสกุล Ruminococcus ซุกซ่อนอยู่ในร่างกายของมนุษย์ ซึ่งพบได้มากในกลุ่มไพรเมตที่ไม่ใช่มนุษย์ โดยมีชุมชนแบคทีเรียดังกล่าวมากถึง 30-40%
2
ส่วนชุมชนคนเก็บของป่าล่าสัตว์ และกลุ่มประชากรในชนบทในปัจจุบัน ยังคงมีแบคทีเรียที่ย่อยเซลลูโลสเหล่านี้ประมาณ 20%
แต่กลับพบแบคทีเรียดังกล่าวได้น้อยกว่า 5% ในหมู่คนที่อยู่ในเมืองและใช้ชีวิตในสังคมอุตสาหกรรม เช่น เดนมาร์ก จีน สวีเดน และสหรัฐ นั่นหมายความว่า ยิ่งมีเส้นใยไฟเบอร์ในอาหารของแต่วัฒนธรรมมากเท่าไร แบคทีเรียที่ย่อยเซลลูโลสก็จะมีความหลากหลายมากขึ้นเท่านั้น
กินไฟเบอร์เพิ่มจำนวน “แบคทีเรียในลำไส้”
นักวิจัยให้ความเห็นว่า มีความเป็นไปได้ว่าแบคทีเรีย Ruminococcus หายไปจากลำไส้ของมนุษย์ยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะ “คนเมือง” เป็นเพราะมนุษย์ในปัจจุบันกินผักผลไม้ที่มีไฟเบอร์ลดน้อยลง และอาจจะได้รับอิทธิพลมาจากรูปแบบการใช้ชีวิตและพฤติกรรมการกินเปลี่ยนไป
2
หน่วยงานบริการสุขภาพแห่งชาติของสหราชอาณาจักรแนะนำให้ผู้ใหญ่บริโภคไฟเบอร์ 30 กรัมต่อวัน แต่โดยเฉลี่ยนแล้วมนุษย์มีการบริโภคไฟเบอร์เพียง 20 กรัมต่อวันเท่านั้น
หากแบคทีเรียในลำไส้หายไปจนหมด อาจจะทำให้คนเมืองยุคใหม่มีระบบเผาผลาญที่ไม่ดีได้ ซึ่งจะทำให้สุขภาพของมนุษย์ย่ำแย่ลง โดยนักวิจัยแนะนำให้เพิ่มปริมาณไฟเบอร์ด้วยการกินธัญพืชโฮลวีต เช่น ข้าวกล้อง ควินัว และข้าวโอ๊ต ตลอดจนการบริโภคผักและผลไม้ รวมถึงถั่วและเมล็ดพืชมากขึ้น
4
ที่มา:
The Science Times: https://bit.ly/3VJrptz
โฆษณา