6 เม.ย. เวลา 05:00 • สุขภาพ

“แคดเมียม”โลหะหนัก ก่อโรคอิไตอิไต เป็นพิษต่อไต ซ่อนในร่างกายตลอดชีวิต

สธ. เผยคุณสมบัติของ สารแคดเมียม หลังพบซุกกว่า 1.5 หมื่นตัน ที่โรงงานย่านสมุทรสาคร ย้ำเป็นพิษต่อร่างกายเป็นพิษต่อไตกระดูกเปราะแตก รูปร่างผิดปกติ โรคอิไต-อิไต แนะวิธีปฐมพยาบาล
แคดเมียม Cadmium (Cd) เป็นโลหะหนักเป็น เป็นโลหะลักษณะเป็นของแข็งสีเงิน เนื้ออ่อน หลอมละลายที่ 321 องศาเซลเซียส พบปนเปื้อนอยู่กับแร่ธาตุอื่นๆ เช่น แร่สังกะสี แร่ตะกั่ว หรือ ทองแดง ในการทำเหมืองสังกะสีจะแคดเมียมเป็นผลตามมา สามารถพบแคดเมียมปนเปื้อนได้ในอาหารและน้ำ นอกจากนี้ยังสามารถพบในสีที่ผสมใช้กับบ้านอาคารด้วย
อาการและความอันตราย
แคดเมียมเป็นสารพิษที่อันตรายต่อสุขภาพอนามัย ปวดศีรษะ ปวดเมื่อย อ่อนเพลีย คลื่นใส้ อาเจียน ท้องเสีย ระคายเคืองหลอดลม จมูก และลำคอ เกิดถุงลมโป่งพอง
แคดเมียม
สามารถสะสมในร่างกายตลอดชั่วอายุขัยของคน เมื่อเข้าสู่ร่างกายเพียงเล็กน้อย มีผลต่อระบบไต ความดันโลหิตสูง เส้นเลือดฝอยแข็งตัว หัวใจวาย เป็นแผลเรื้อรังในปอด
ทำให้กระดูกเปราะแตก มีรูปร่างผิดปกติเจ็บปวดโรคอิไต-อิไต
อย่างไรก็ตาม เมื่อร่างกายสูดดมสารแคดเมียม จะเก็บสะสมไว้ในตับ และส่วนของหมวกไต ได้นานถึง 30 ปี นอกจากนี้จะพบสารแคดเมียมได้ในปอด และมีความเสี่ยงเกิดอันตรายส่วนของไตทำให้หน้าที่การกรองของไต (GFR)ลดลง แคดเมียมอาจได้รับโดยการกินอาหารทะเลที่มีการปนเปื้อนของสารแคดเมียม
นอกจากนี้ยังมีกรณีของประเทศญี่ปุ่น ที่ได้รับควันของสารดังกล่าวจากการสูดดมในเหมือง โดยมีโรงงานปล่อยสารแคดเมียมมากับน้ำเสียของโรงงาน และปล่อยลงในโรงข้าว ทำให้เกิดการปนเปื้อนของแคดเมียมในเมล็ดข้าว และอาหาร พบผู้ป่วยมากกว่าพันคน เกิดอาการเจ็บป่วยอย่างทรมาน โดยบริเวณ แขน ขา สะโพก และบริเวณฟัน จะพบมีวงแหวนสีเหลืองติดกับเหงือก เรียกว่า วงแหวนแคดเมียม และจะมีอาการปวดร้าวสะสมนานถึง 20-30 ปี และเมื่อร่างกายเดินไม่ไหว ก็จะเกิดการกดกระดูกสันหลัง เรียกว่าโรคอิไต-อิไต (Itai-Itai disease)
โรคอิไต-อิไต
แคดเมียมเป็นสารพิษที่อันตรายต่อสุขภาพอนามัย สามารถสะสมในร่างกายตลอดชั่วอายุขัย ของคน เมื่อเข้าสู่ร่างกายเพียงเล็กน้อย มีผลต่อระบบไต ความดันโลหิตสูง เส้นเลือดฝอยแข็งตัว หัวใจวาย
ตามประกาศกรมอนามัย พ.ศ. 2553 ได้กำหนดเกณฑ์คุณภาพน้ำประปาดื่มได้พบแคดเมียมได้ไม่เกิน 0.003 มิลลิกรัมต่อลิตร
การปฐมพยาบาล
  • หากสูดดม: ให้รีบออกจากพื้นที่ รับอากาศบริสุทธิ์นำส่งแพทย์ทันที
  • หากสัมผัสกับผิวหนัง: ถอดเสื้อผ้าที่เปื้อนออกหมดทันที ล้างด้วยน้ำไหลผ่าน รีบพบแพทย์
  • หากเข้าตา: ล้างออกด้วยน้ำปริมาณมาก รีบพบจักษุแพทย์
  • หากกลืนกิน /ดื่ม ให้รีบดื่มน้ำตามทันทีอย่างน้อย 2 แก้ว รีบพบแพทย์
งดเข้าพื้นที่เกิดเหตุ ติดตามสถานการณ์ สังเกตอาการตนเอง ผิดปกติรีบพบแพทย์ทันที
อาการและความอันตราย
แคดเมียมเป็นสารพิษที่อันตรายต่อสุขภาพอนามัย ปวดศีรษะ ปวดเมื่อย อ่อนเพลีย คลื่นใส้ อาเจียน ท้องเสีย ระคายเคืองหลอดลม จมูก และลำคอ เกิดถุงลมโป่งพอง
สามารถสะสมในร่างกายตลอดชั่วอายุขัยของคน เมื่อเข้าสู่ร่างกายเพียงเล็กน้อย มีผลต่อระบบไต ความดันโลหิตสูง เส้นเลือดฝอยแข็งตัว หัวใจวาย เป็นแผลเรื้อรังในปอด ถุงลมโป่งพองและทำให้กระดูกเปราะแตก มีรูปร่างผิดปกติเจ็บปวดโรคอิไต-อิไต
อย่างไรก็ตาม เมื่อร่างกายสูดดมสารแคดเมียม จะเก็บสะสมไว้ในตับ และส่วนของหมวกไต ได้นานถึง 30 ปี นอกจากนี้จะพบสารแคดเมียมได้ในปอด และมีความเสี่ยงเกิดอันตรายส่วนของไตทำให้หน้าที่การกรองของไต (GFR)ลดลง แคดเมียมอาจได้รับโดยการกินอาหารทะเลที่มีการปนเปื้อนของสารแคดเมียม
นอกจากนี้ยังมีกรณีของประเทศญี่ปุ่น ที่ได้รับควันของสารดังกล่าวจากการสูดดมในเหมือง โดยมีโรงงานปล่อยสารแคดเมียมมากับน้ำเสียของโรงงาน และปล่อยลงในโรงข้าว ทำให้เกิดการปนเปื้อนของแคดเมียมในเมล็ดข้าว และอาหาร พบผู้ป่วยมากกว่าพันคน เกิดอาการเจ็บป่วยอย่างทรมาน โดยบริเวณ แขน ขา สะโพก และบริเวณฟัน จะพบมีวงแหวนสีเหลืองติดกับเหงือก เรียกว่า วงแหวนแคดเมียม และจะมีอาการปวดร้าวสะสมนานถึง 20-30 ปี และเมื่อร่างกายเดินไม่ไหว ก็จะเกิดการกดกระดูกสันหลัง เรียกว่าโรคอิไต-อิไต (Itai-Itai disease)
แคดเมียมเป็นสารพิษที่อันตรายต่อสุขภาพอนามัย สามารถสะสมในร่างกายตลอดชั่วอายุขัย
ของคน เมื่อเข้าสู่ร่างกายเพียงเล็กน้อย มีผลต่อระบบไต ความดันโลหิตสูง เส้นเลือดฝอยแข็งตัว หัวใจวาย
ตามประกาศกรมอนามัย พ.ศ. 2553 ได้กำหนดเกณฑ์คุณภาพน้ำประปาดื่มได้พบแคดเมียมได้ไม่เกิน 0.003 มิลลิกรัมต่อลิตร
การปฐมพยาบาล
  • หากสูดดม: ให้รีบออกจากพื้นที่ รับอากาศบริสุทธิ์นำส่งแพทย์ทันที
  • หากสัมผัสกับผิวหนัง: ถอดเสื้อผ้าที่เปื้อนออกหมดทันที ล้างด้วยน้ำไหลผ่าน รีบพบแพทย์
  • หากเข้าตา: ล้างออกด้วยน้ำปริมาณมาก รีบพบจักษุแพทย์
  • หากกลืนกิน /ดื่ม ให้รีบดื่มน้ำตามทันทีอย่างน้อย 2 แก้ว รีบพบแพทย์
งดเข้าพื้นที่เกิดเหตุ ติดตามสถานการณ์ สังเกตอาการตนเอง ผิดปกติรีบพบแพทย์ทันที
ป้องกันพิษจากแคดเมียม
  • ตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน โดยเน้นที่ประวัติการเป็นโรคไตที่สำคัญๆ ประวัติการสูบบุหรี่ และโรคทางเดินหายใจ และควรทดสอบสมรรถภาพการทำงานของปอด รวมทั้งเอกซเรย์ปอดด้วย เพื่อเก็บไว้เป็นข้อมูลสุขภาพเบื้องต้น
  • การตรวจเป็นระยะๆ ขณะทำงาน ควรเน้นที่ระบบหายใจ รวมทั้งทดสอบสมรรถภาพการทำงานของปอดและไต
แคดเมียม
ขอบคุณข้อมูลจาก : กรมควบคุมโรค , กองห้องปฏิบัติการสาธารณสุขกรมอนามัย และ ม.มหิดล
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมที่เว็บไซต์ https://www.pptvhd36.com
และช่องทาง Social Media
โฆษณา