5 เม.ย. เวลา 12:27 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

การคำนวนโหลดภาระห้องเย็น (Cooling Load)

𝗖𝗼𝗼𝗹𝗶𝗻𝗴 𝗟𝗼𝗮𝗱 หรือ ภาระการทำความเย็น คือ ปริมาณความร้อนที่เกิดขึ้นในบริเวณที่ปรับอากาศหรือทำความเย็น ที่ต้องใช้ระบบทำความเย็นกำจัดความร้อนนี้ออกไปจากพื้นที่
สำหรับห้องเย็นแล้ว อย่างที่เราทราบกันดีกว่า ห้องเย็นใช้สำหรับจัดเก็บสินค้าที่เน่าเสียง่าย และไวต่ออุณหภูมิ เช่น เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ ยา วัคซีน ฯลฯ เพื่อชะลอการเสื่อมสภาพและรักษาคุณภาพ ความสดของสินค้าให้ได้นานที่สุด
อุปสรรคที่สำคัญที่สุดในการจัดเก็บสินค้าคือ "ความร้อน" เนื่องจากความร้อนจะเร่งการเสื่อมสภาพผลิตภัณฑ์ ดังนั้นการขจัดความร้อนจากแหล่งที่มาต่างๆ จะทำให้เราใช้ระบบทำความเย็นได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ช่วยให้ควบคุมอุณหภูมิได้แม่นยำ
ในการขจัดความร้อน เราจำเป็นต้องรู้ว่าภาระการทำความเย็นทั้งหมด เพื่อคำนวนปริมาณการทำความเย็นโดยเฉลี่ย และความสามารถในการทำความเย็น โดยทั่วไปแล้ว Heat Load หรือแหล่งความร้อนทั้งหมดที่เราต้องคำนวนโหลดมีทั้งหมด 5 ส่วนด้วยกัน
• 𝗧𝗿𝗮𝗻𝘀𝗺𝗶𝘀𝘀𝗶𝗼𝗻 𝗟𝗼𝗮𝗱 (𝟱-𝟭𝟱% ของโหลดทั้งหมด) :
คือพลังงานความร้อนที่ถูกถ่ายโอนจากด้านนอกเข้าสู่ด้านในห้อง ผ่านหลังคา ผนัง พื้น ทุกด้านเข้าสู่ห้องเย็น ปกติแล้วความร้อนมักจะไหลจากร้อนไปเย็นเสมอ ดังนั้นความร้อนจึงพยายามเข้าสู่อากาศเนื่องจากอุณหภูมิที่ต่างกัน รวมไปถึงตำแหน่งที่ตั้งของห้องเย็นด้วย
• 𝗣𝗿𝗼𝗱𝘂𝗰𝘁 𝗟𝗼𝗮𝗱 (𝟱𝟱-𝟳𝟱% ของโหลดทั้งหมด) :
ความร้อนจากผลิตภัณฑ์ถือเป็น 𝗛𝗲𝗮𝘁 𝗟𝗼𝗮𝗱 ที่สูงที่สุดจากภาระทั้งหมด ตั้งแต่การนำผลิตภัณฑ์ใหม่เข้าสู่ห้องเย็น พลังงานที่ต้องใช้ในการทำให้เย็นลง แช่แข็ง ความร้อนแฝงเมื่อเกิดการเปลี่ยนเฟสระหว่างการแช่แข็ง รวมไปถึงการคำนึงถึงบรรจุภัณฑ์ ยิ่งมีจำนวนผลิตภัณฑ์ (Product) มากเท่าไหร่ หรือเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีการหายใจคลายความร้อนมากเท่าไหร่ จำนวนโหลดความร้อนในส่วนนี้ก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้นเท่านั้นครับ
• 𝗜𝗻𝘁𝗲𝗿𝗻𝗮𝗹 𝗟𝗼𝗮𝗱 (𝟭𝟬-𝟮𝟬% ของโหลดทั้งหมด) :
Internal Load คือความร้อนที่ปล่อยออกมาจากบุคลากรที่ทำงานในห้องเย็น ไฟ และอุปกรณ์ต่างๆ เช่น รถยก เป็นต้น ดังนั้นผู้ออกแบบห้องเย็นจำเป็นต้องพิจารณาว่าพนักงานจะใช้อุปกรณ์ใดบ้างในการเคลื่อนย้ายสินค้าเข้า และเมื่อออกจากห้องเย็นแล้วความร้อนจะระบายออกไปเท่าไหร่ในแต่ละวัน
• 𝗘𝗾𝘂𝗶𝗽𝗺𝗲𝗻𝘁 𝗟𝗼𝗮𝗱 (𝟭-𝟭𝟬% ของโหลดทั้งหมด) :
โดยส่วนมากแล้ว Equipment Load มาจาก พัดลมอีแวป และการ ดีฟรอสต์ การคำนวนเราจำเป็นต้องทราบพิกัดของมอเตอร์พัดลมและประมาณว่ามอเตอร์จะทำงานนานเท่าใดในแต่ละวัน ไปจนถึงความร้อนที่ถ่ายเทเข้าสู่พื้นที่จากการละลายน้ำแข็งของ Evaporator ด้วย
• 𝗜𝗻𝗳𝗶𝗹𝘁𝗿𝗮𝘁𝗶𝗼𝗻 𝗟𝗼𝗮𝗱 (𝟭-𝟭𝟬% ของโหลดทั้งหมด) :
Infiltration Load คือโหลดจากการรั่วไหล ซึ่งจะเพิ่มภาระการทำความเย็นอีกเล็กน้อย โดยจะเกิดขึ้นในกรณีเช่น การเปิด/ปิดประตู ที่มีการถ่ายเทความร้อนผ่านอากาศสู่พื้นที่ และ การระบายอากาศ ผักและผลไม้ที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ตัวอย่างเช่นใน Supermarket บางแห่งในโซนผักผลไม้ ที่มีการใช้ Ventilation fan เป็นตัวช่วย
การคำนวนโหลดแต่ละตัวนั้นแตกต่างกันออกไป และมีความซับซ้อนขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้งาน อุปกรณ์ในห้องเย็น และผลิตภัณฑ์ เช่น การคำนวนจากการหายใจของผลไม้ ในห้องเย็นเก็บผลไม้ หรือ Equipment Load จากการคำนวณภาระความร้อนที่เกิดจากการละลายน้ำแข็งของ Evaporator
ผู้ออกแบบห้องเย็นควรให้ความสำคัญกับทุกโหลดภาระความเย็นที่กล่าวมา โดยเฉพาะ Product Load ที่ถือว่าเป็นภาระการทำความเย็นที่สูงที่สุดถึง 55-75% ให้สัมพันธ์กับ Cooling capacity/Storage capacity และความต้องการของอุตสาหกรรมให้ได้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
บทความที่เกี่ยวข้อง
• วิธีการออกแบบห้องเย็น : https://www.advancecoldroom.com/design-coldroom/
• ความสำคัญของ Cooling capacity และ Storage capacity ใน ห้องเย็น : https://www.advancecoldroom.com/capacity-coldroom/
𝗔𝗖𝗥 : 𝗔𝗱𝘃𝗮𝗻𝗰𝗲 𝗖𝗼𝗹𝗱 𝗥𝗼𝗼𝗺 ให้ความสำคัญกับระบบทำความเย็นสำหรับอุตสาหกรรม และธุรกิจทุกประเภทมานานกว่า 30 ปี ทั้งในและต่างประเทศ พร้อมให้บริการด้านวิศวกรรมแบบครบวงจร ตั้งแต่ให้คำปรึกษา ออกแบบ การจัดซื้อจัดจ้าง การติดตั้ง ไปจนถึงการบำรุงรักษาและการตรวจสอบหลังติดตั้ง
↗ ห้องแช่แข็ง/ห้องเย็น Air Blast Freezer/Chilled Room
↗ ห้องแช่แข็ง/ห้องเย็นเพื่อเก็บรักษาสินค้า
↗ ห้องเย็นพักสินค้า (Anti Room)
↗ Processing Room
Line id : @advancecool หรือคลิก https://lin.ee/Uv6td2a
#ห้องเย็น #ภาระการทำความเย็น #CoolingLoad #HeatLoad #ColdStorage #Coldroom #ออกแบบห้องเย็น #อุณหภูมิห้องเย็น
โฆษณา