7 เม.ย. เวลา 01:10 • ประวัติศาสตร์
เส้นทางรถไฟสายมรณะ

ม.ล.กรี เดชาติวงศ์ รมต.คมนาคม ผู้หวังรื้อฟื้นใช้งานทางรถไฟสายมรณะ อีกครั้ง นำคณะไปสำรวจตกเหวทั้งขบวน

สำรวจเส้นทางรถไฟสายมรณะ
ด้วยความมุ่งหวังจะนำเอาเส้นทางรถไฟสายมรณะ ซึ่งรัฐบาลไทยได้ซื้อจากรัฐบาลอังกฤษมาด้วยมูลค่า 50 ล้านบาท ให้กลับมาใช้งานเพื่อเกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติ
1
สำรวจเส้นทางรถไฟสายมรณะ
ด้วยความมุ่งหวังจะนำเอาเส้นทางรถไฟสายมรณะ ซึ่งรัฐบาลไทยได้ซื้อจากรัฐบาลอังกฤษมาด้วยมูลค่า 50 ล้านบาท ให้กลับมาใช้งานเพื่อเกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติ
1
ม.ล.กรี เดชาติวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงได้เดินทางพร้อมคณะเพื่อสำรวจเส้นทางรถไฟสายมรณะ แต่โชคร้ายคณะม.ล.กรี เดชาติวงศ์ ประสบอุบัติเหตุ จน ม.ล.กรี เดชาติวงศ์ เสียชีวิต ที่ทางใต้ของสถานีเกริงกวยทะหรือแก่งคอยท่า 1 กุมภาพันธ์ 1947
ม.ล.กรี ในวัยหนุ่ม
รัฐบาลไทยตัดสินใจซื้อเส้นทางรถไฟสายไทย-พม่า จากสถานีหนองปลาดุกจนถึงบริเวณชายแดนคืนมาจากอังกฤษ มีเหตุผลเพราะป้องกันปัญหายุ่งยากที่จะตามมาในเรื่องอำนาจสิทธิการครอบครองทางรถไฟและพื้นที่โดยรอบที่อังกฤษถือครองหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
ส่วนอังกฤษเองก็ประสบปัญหาเรื่องการเงินเนื่องจากสภาวะหลังสงคราม การที่ไทยขอซื้อทางรถไฟ อังกฤษเองก็จะได้นำเงินเหล่านั้นไปจ่ายให้กับประเทศในอาณานิคมของตนเองที่ได้รับผลกระทบจากสงคราม (รวมไปจนถึงเนเธอร์แลนด์ด้วย)
4
ก่อนที่รัฐบาลไทยจะทำการตกลงกับฝ่ายอังกฤษ ฝ่ายไทยมีการจัดตั้งคณะกรรมการลงพื้นที่สำรวจทางรถไฟตลอดแส้นทางในฝั่งไทยตั้งแต่หนองปลาดุกถึงสถานีนิเถะ สังขละบุรี พบว่าสภาพทางรถไฟกองทัพญี่ปุ่นสร้างอย่างเร่งรีบ บางส่วนรัศมีความโค้งของทางรถไฟแคบและอันตราย
1
บางส่วนมีการใช้วัสดุที่ไม่ได้มาตรฐานในการก่อสร้างทำให้เกิดการเสียหายเสื่อมสภาพอย่างรวดเร็ว เช่นสะพานไม้บางแห่งกองทัพญี่ปุ่นใช้ไม้เนื้ออ่อนทำสะพาน บางพื้นที่ใช้หินกรวดแม่น้ำแทนหินรองรางรถไฟ หากจะเปิดใช้เส้นทางนี้ควรมีการบูรณะซ่อมแซมใหม่หลายจุด
รูปสะพานทางรถไฟที่สร้างจากไม้
ที่มาของแนวคิดริเริ่มจะนำทางรถไฟกลับมาใช้งานอีกครั้ง
หลังจากสงครามสิ้นสุดลงประมาณเกือบ 2 ปี เข้าใจว่าในขณะนั้นประเทศไทยประสบปัญหาด้านการขนส่งสินค้า ซึ่งสินค้าที่นำเข้ามาจากต่างประเทศนั้น ไทยต้องไปรับจากท่าเรือที่สิงคโปร์
ทางกระทรวงคมนาคมโดย หม่อมหลวงกรี เดชาติวงศ์ ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรี มีแผนที่จะใช้เส้นทางรถไฟสายนี้ให้เกิดประโยชน์ ทั้งด้านการคมนาคม ขนส่ง การค้า
หม่อมหลวงกรี เดชาติวงศ์ มองว่าทางรถไฟสายมรณะซึ่งสร้างขึ้นเพื่อการทหารในช่วงสงครามโลกครั้งที่2 อาจจะนำมาใช้เป็นทางรถไฟเชิงพาณิชย์หรือเชิงอุตสาหกรรมได้ หากเชื่อมกับทางรถไฟเดิมของไทยและพม่าเข้าอีกครั้ง จะทำให้ไทยสามารถขนส่งสินค้าจากมหาสมุทรอินเดียได้โดยตรง และไม่ต้องพึ่งพาแค่ท่าเรือที่สิงคโปร์เพียงอย่างเดียว
เพื่อต้องการตรวจสอบความเป็นไปได้ของการพัฒนาทางรถไฟสายนี้ ทางหม่อมหลวงกรี พร้อมคณะได้เดินทางไปสำรวจทางรถไฟมรณะ
โดยมี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม หม่อมหลวงกรี เดชาติวงศ์
อธิบดีกรมรถไฟ นายปุ่น ศกุนตนาค
อธิบดีกรมทางหลวง หลวงเพชร เกษมวิถีสวัสดิ์
นายช่างบำรุงทางเขตหัวหิน นายสำราญ สาครินทร์
นายช่างก่อสร้างเขตกาญจนบุรี นายเชถ รื่นใจชน
พร้อมคณะรวม 26 คน
สะพานแห่งหนึ่งบนเส้นทางรถไฟสายมรณะ
คณะออกเดินทางในวันที่ 31 มกราคม 1947 จากสถานีธนบุรี โดยขบวนรถไฟพิเศษ แวะตรวจการซ่อมแซมสะพานทางรถไฟเสาวภา ที่นครชัยศรี
แวะตรวจโรงงานซ่อมหัวรถจักรของญี่ปุ่นที่เขาดิน(โรงซ่อมนี้เป็นโรงซ่อมที่ญี่ปุ่นสร้างขึ้น เป็นโรงซ่อมที่ใหญ่ที่สุดและดีที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทุกวันนี้ไม่เหลืออะไรแล้ว)
คณะเดินทางต่อไปที่สถานีกาญจนบุรี (สถานีกาญจนบุรีเดิมอยู่ตรงสถานีปากแพรกครับ) คณะลงจากรถไฟขบวนพิเศษ และขึ้นรถยนต์รางตรวจการจำนวน 2 คัน ออกจากสถานีกาญจนบุรี 14.00 น. มุ่งหน้าสถานีปรังกาสี (สถานีอยู่ที่หน้าวัดจันเดย์ ปัจจุบันไม่เหลือร่องรอยอะไรมากแล้วเช่นกัน)
คณะถึงสถานีปรังกาสี 22.00 น. พักค้างแรม 1 คืน
2
วันรุ่งขึ้น 1 กุมภาพันธ์ 1947
คณะเตรียมเดินทางจากสถานีปรังกาสีไปที่สถานีนิเถะ แต่รถยนต์รางตรวจการ 1 คันเกิดขัดข้อง ถึงจะแก้ไขอย่างไรก็ไม่สามารถสตาร์ทเครื่องยนต์ได้
แต่หม่อมหลวงกรีก็ยังคงมุ่งมั่นที่จะเดินทางต่อ คณะจึงเดินทางด้วยรถยนต์ตรวจรางหนึ่งคันที่เหลือ คือหมายเลข 2512 พร้อมกับผู้ร่วมคณะบางคนที่พอที่จะเดินทางไปในรถคันเดียวได้ โดยมีนายชิต เชิดวุฒิ เป็นพลขับ
อย่างที่กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ว่า เส้นทางนี้เป็นเส้นทางที่ถูกสร้างอย่างเร่งรีบ ในบางจุดก็อันตราย หลายจุดสะพานหรือโครงสร้างเริ่มเสื่อมสภาพ เพราะไม่มีการดูแลบำรุงรักษามาสักระยะ ประกอบกับไฟป่าที่เกิดขึ้นทุกปีในช่วงหน้าแล้ง จึงทำให้ทางรถไฟสายนี้เป็นทางที่เสี่ยงอันตรายมาก
ระหว่างที่คณะเดินทางด้วยรถยนต์ตรวจราง หมายเลข 2512 ก่อนที่จะถึงบริเวณที่เป็นสะพานข้ามห้วยก่อนถึงสถานีแก่งคอยท่า (สถานีแก่งคอยท่า หรือ สถานี Konkoita ในภาษากะเหรียงเรียกว่าเกริงกวยทะ เป็นชื่อที่เรียกตามชื่อห้วยในบริเวณนั้น) ทางรถไฟช่วงนั้นเป็นลงเขาและเป็นทางโค้งเมื่อสุดทางโค้งก็จะมีสะพานข้ามห้วยเกริงกวยทะ หรือแก่งคอยท่า (ปัจจุบันพื้นที่นี้ถูกน้ำท่วม อยู่ในเขื่อนวชิราลงกรณ)
เข้าใจว่ารถยนต์รางตรวจการรุ่นนี้คือรุ่นเดียวกับที่ประสอุบัติเหตุ
เมื่อรถยนต์ตรวจรางหมายเลข 2512 ใกล้ถึงสะพาน นายชิต เชิดวุฒิ (พลขับ) สังเกตเห็นว่ารางรถไฟนั้นแขวนอยู่โดยไม่มีเสาสะพาน (เนื่องจากในพื้นที่ป่ากาญจนบุรี ในช่วงฤดูร้อนเกิดไฟป่าเป็นประจำ ไฟป่าได้ไหม้ตับสะพานไม้จนเหลือแค่รางเหล็กที่แขวนต่อกันเท่านั้น)
นายชิตจึงทำการเบรครถยนต์ตรวจรางทันที แต่ด้วยน้ำหนักที่บรรทุกคนจำนวนมากกว่าปรกติ ประกอบกับทางรถไฟช่วงนั้นเป็นทางลาด ทำให้ไม่สามารถหยุดรถได้ทัน รถยนต์ตรวจรางหมายเลข 2512 พร้อมผู้โดยสารภายในจึงตกลงไปในห้วยเกริงกวยทะ ที่ความสูงประมาณ 8 เมตร
สภาพรถยนต์รางตรวจการหมายเลข 2512 ในระหว่างคณะตรวจสอบอุบัติเหตุเข้าตรวจสอบซากรถยนต์รางตรวจการ
เป็นเหตุให้ หม่อมหลวงกรี เดชาติวงศ์ได้รับบาดเจ็บสาหัสและเสียชีวิตในเวลาต่อมา และนายจรุง จิรานนท์ บุรุษพยาบาลก็เสียชีวิตในเหตุการณ์นี้ด้วยเช่นกัน
นายปุ่น ศกุนตนาค , นายเชถ รื่นใจชน ได้รับบาดเจ็บสาหัส
หลวงเพชร เกษมวิถีสวัสดิ์ ซี่โครงหักสามซี่ ส่วนนายสำราญ สาครินทร์ได้รับบาดเจ็บ
คณะสำรวจที่เป็นผู้บาดเจ็บและศพผู้เสียชีวิตต้องค้างอยู่ในป่า 1 คืน ในเวลาค่ำคืนและต้องก่อกองไฟระวังเสือและสัตว์นักล่า
คนที่บาดเจ็บน้อยที่สุด ต้องเดินเท้ากลับมายังสถานีปรังกาสี เพื่อโทรเลขขอรถพยาบาลให้มาช่วยเหลือ ในวันรุ่งขึ้น 2 กุมภาพันธ์ 1947 จึงมีรถยนต์ตรวจรางมารับผู้บาดเจ็บและศพผู้เสียชีวิต กลับไปยังสถานีปรังกาสี และพักค้างแรม 1 คืน
3 กุมภาพันธ์รถเดินทางจากปรังกาสี กลับถึงสถานีกาญจนบุรี และพักค้างแรมที่กาญจนบุรี
4 กุมภาพันธ์ผู้บาดเจ็บและศพผู้เสียชีวิตเดินทางด้วยรถไฟขบวนพิเศษจากสถานีกาญจนบุรี ถึงสถานีธนบุรี เวลา 10.00 น.
ศพของหม่อมหลวงกรี เดชาติวงศ์ ถูกนำไปที่วัดเบญจมบพิตร ส่วนผู้ได้รับบาดเจ็บถูกส่งรักษาตัวที่ โรงพยาบาลศิริราช
คณะตรวจสอบอุบัติเหตุ เข้าตรวจสอบซากรถยนต์รางตรวจการ 2512
บทความเพิ่มเติมเพื่อชี้ให้เห็นว่า หม่อมหลวงกรีนั้นเป็นที่น่ายกย่องมาก คัดลอกมาจากเพจ ม.ล.ชัยนิมิตร นวรัตน
" แม้จะเคยเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวง และตำแหน่งราชการสำคัญ ๆ ที่สามารถหาผลประโยชน์ให้ตัวเองได้ หม่อมหลวงกรี เดชาติวงศ์ก็ไม่ยอมทำชั่ว ปรากฏว่าในวันตายไม่ได้ทิ้งสมบัติไว้ให้ลูกเมียเลย แม้กระทั่งบ้านก็ยังเช่าเขา ลูกๆต้องไปอาศัยอยู่กับคุณป้าสมบุญที่เคยเลี้ยงพ่อมาก่อน จนรัฐบาลต้องยื่นมือเข้ารับภาระในเรื่องการเล่าเรียน ให้เบี้ยเลี้ยงชีพทั้งภรรยาและบุตรธิดา เพื่อตอบแทนคุณงามความดีของคนที่ทุ่มเททำงานให้ชาติ โดยไม่มีประวัติด่างพร้อยเลยตลอดชีวิต
บุตรธิดาของท่านทั้ง ๓ คนนั้นมีชื่อว่า
นายสุธีร์ เดชาติวงศ์ ณ อยุธยา จบวชิราวุธวิทยาลัย วิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แล้วทำงานบริษัทปูนซีเมนต์ไทยและบริษัทวิศวกรที่ปรึกษา สมรสกับ แพทย์หญิงขวัญฤดี
นางกุศลิน ศรียาภัย สมรสกับ นายนิตย์ ศรียาภัย
น.ส.กีรติ เดชาติวงศ์ ณ อยุธยา
เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานที่ระลึกถึงหม่อมหลวงกรี เดชาติวงศ์ รัฐบาลได้ตั้งชื่อสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบนถนนพหลโยธิน ในเขตตัวเมืองนครสวรรค์ว่า "สะพานเดชาติวงศ์" แม้ปัจจุบันจะมีการสร้างสะพานใหม่ขึ้นเป็นคู่ขนาน เพื่อรองรับถนนที่ขยายใหญ่โต ผลงานของหม่อมหลวงกรีชิ้นนี้ก็ได้รับการอนุรักษ์ไว้อย่างดี ยังคงเป็นสะพานที่สวยงามและสำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย คนนครสวรรค์พึงภูมิใจ "
1
สะพานเดชาติวงศ์
หลังจากเกิดอุบัติเหตุครั้งนี้ทำให้รัฐบาลตระหนักว่าทางรถไฟที่อยู่เลยสถานีปรังกาสีขึ้นไปนั้นเป็นเส้นทางที่อันตรายเนื่องจากวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างนั้นไม่ได้มาตรฐาน และทางรถไฟเสื่อมสภาพไปด้วยไฟป่า หรือด้วยกาลเวลาก็ตามแต่
การที่จะฟื้นฟูกลับมาใช้งานในเชิงพาณิชย์นั้นต้องลงทุนมหาศาล และเมื่อคำนวณแล้วผลตอบแทนที่ได้รับนั้นไม่คุ้มค่า
ประกอบกับทรัพย์สินต่างๆของการรถไฟที่เคยเป็นของญี่ปุ่นเก่าตามทางรถไฟนั้นถูกโจรและชาวบ้านในพื้นที่เข้าลักเอาไป ดูแลค่อนข้างลำบากเพราะเป็นพื้นที่ป่าเขาห่างไกล แผนการรื้อฟื้นเส้นทางรถไฟสายนี้จึงตกไป
ในคราแรกรัฐบาลตัดสินใจรื้อเส้นทางรถไฟที่จากสถานีนิเถะลงมาถึงสถานีทองผาภูมิเท่านั้น(ช่วงแรกรัฐบาลไทยยังมีแนวคิดที่จะบำรุงรักษาเส้นทางจนถึงทองผาภูมิ)
ทางกรมรถไฟมองว่าทางรถไฟหนองปลาดุกถึงกาญจนบุรี ไปจนถึงสถานีวังโพนั้น ยังพอที่จะมีประโยชน์ในด้านการคมนาคมตลอดจนด้านอุตสาหกรรมป่าไม้อยู่บ้าง
ทางกรมรถไฟมีการของบประมาณในการซ่อมทางรถไฟในช่วง หนองปลาดุก-กาญจนบุรี, กาญจนบุรี วังโพ, วังโพ-เขาพัง(น้ำตกไมรโยคน้อย)
รัฐบาลมีการอนุมัติงบประมาณให้ทำการซ่อมแซมเป็นระยะ ๆ แต่เมื่อมีการของบประมาณในการซ่อมแซมทางรถไฟจาก เขาพัง(สถานีน้ำตก)ไปยังท่าขนุน กลับไม่มีการอนุมัติแต่อย่างใด
เมื่อดูแล้วว่าไม่น่าจะมีการซ่อมแซมเส้นทางรถไฟจากสถานีน้ำตกไปสถานีท่าขนุน กรมรถไฟจึงจัดให้มีสัมปทานรื้อทางรถไฟสายมรณะในช่วงที่ต่อจากที่อังกฤษรื้อ 6 กิโลเมตรจากชายแดนเข้ามายังฝั่งไทย สถานีนิเถะ ลงมาจนถึงสถานีน้ำตก โดยแบ่งการรื้อออกเป็น 2 ระยะ
ภาพการขนรางเหล็กที่รื้อแล้วขึ้นรถบรรทุกเพื่อนำไปรวบรวมและส่งให่กรมรถไฟต่อไป
จำนวนน้ำหนักราง ทั้งรางประธานและรางหลีกต่างๆที่รื้อจากชายแดน จนถึงสถานีน้ำตกเป็นระยะบทางประมาณ 170 กิโลเมตร มีน้ำหนักรวมประมาณ 13,518ตัน
โดยส่วนใหญ่รางเหล่านี้จะถูกนำมาจัดเก็บที่สถานีน้ำตกและสถานีวังโพ
รางเหล็กบนเส้นทางรถไฟสายมรณะเหล่านี้หากอยู่ในสภาพดีก็จะมีการขนย้ายนำเอารางไปใช้งานวางรางใหม่ ซ่อมแซมหรือทดแทนรางเดิมที่ชำรุดในเส้นทางรถไฟสายอื่นๆในประเทศไทย
และการรถไฟมีการเปิดเดินรถจากสถานีธนบุรีถึงสถานีน้ำตกในวันที่ 1 กรกฎาคม 1958 จนถึงปัจจุบัน หลังจากที่รื้อรางรถไฟเสร็จผืนป่าก็เข้ามาปกคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่บนเส้นทางรถไฟสายนี้
เขื่อนเขาแหลมหรือเขื่อวชิราลงกรณ ถูกสร้างขึ้นทำให้น้ำท่วมพื้นที่สถานีแก่งคอยท่า ภาพโดย Matichon.co.th
ตลอดจนมีการสร้างเขื่อนเขาแหลมขึ้นในปี 1979 ทำให้น้ำท่วมพื้นที่แนวทางรถไฟสายมรณะตั้งแต่สถานีน้ำโจนใหญ่ จนถึงก่อนถึงสถานีทิมองทะ
และจุดที่รถยนต์ตรวจรางหมายเลข 2512ของ หมอมหลวงกรีที่ตกลงในห้วยเกริงกวยทะ หรือห้วยคอยท่าก็จมอยู่ใต้น้ำเช่นกัน
ช่วงหลังประชากรเริ่มขยายตัวเข้าจับจองพื้นที่ทางรถไฟที่ถูกทิ้งร้าง ปัจจุบันพื้นที่เหล่านี้หลายแห่งมีเอกสารสิทธิ์อย่างถูกต้องตามกฎหมาย บางพื้นที่ก็ชาวบ้านเข้าอยู่อาศัย บางพื้นที่ก็เป็นที่ของนายทุนเข้าจับจอง บางแห่งอยู่ในการดูแลของหน่วยงานรัฐ
1
เมื่อพูดถึงเกริงกวยทะหรือแก่งคอยท่า ก็จะต้องกล่าวถึงเรื่องราวความสำคัญของพื้นที่นี้ว่า ทางเหนือของสถานีเกริงกวยทะหรือสถานีแก่งคอยท่าขึ้นไปเล็กน้อยยังเป็นจุดที่ทางรถไฟสายมรณะที่สร้างจากฝั่งไทยและฝั่งพม่ามาบรรจบกันในวันที่ 17 ตุลาคม 1943 และมีพิธีเปิดใช้เส้นทางในวันที่ 25 ตุลาคม 1943 เช่นกัน
เกริงกวยทะ แก่งคอยท่า หรือ Konkoita ซึ่งเป็นชื่อเรียกภาษาที่แตกต่างกัน
1
ภาพถ่ายทางอากาศสถานีแก่งคอยท่า
แผนที่จุดบริเวณวณสถานีแก่งคอยท่า
แต่พื้นที่นี้กลับเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญมากๆแห่งหนึ่งบนเส้นทางรถไฟสายมรณะ
กล่าวได้เลยว่าทางรถไฟถือกำเนิดเกิดขึ้นก็ที่แก่งคอยท่า และทางรถไฟก็จบลง ณ แก่งคอยท่าเช่นกัน
เพราะทางรถไฟสร้างเสร็จเริ่มเปิดใช้ที่เกริงกวยทะแห่งนี้ และทางรถไฟมีแผนจะถูกฟื้นฟูให้เป็นเส้นทางพาณิชย์และคมนาคมเะอเชื่อมกับพม่าอีกครั้งก็ต้องมาจบลงที่เกริงกวยทะแห่งนี้เช่นกัน
เนื่องจากเกิดอุบัติเหตุจนทำให้หมอมหลวงกรี เดชาติวงศ์ เสียชีวิตลง
หลังจากที่เกิดอุบัติเหตุในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 1947 รถยนต์รางตรวจการหมายเลข 2512 ตกลงไปในห้วยแก่งคอยท่า ทางกรมรถไฟได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนกรณีอุบัติเหตุขึ้น
มีการส่งคนลงพื้นที่เพื่อสอบสวน และมีการถ่ายภาพซากรถยนต์ตรวจราง 2512 ที่ตกอยู่เบื้องล่างของห้วยคอยท่า ซึ่งเป็นภาพที่หาชมยากมาก ดังที่นำเสนอในเพจ
ปัจจุบันซาก รถยนต์ตรวจราง 2512 ถูกจัดแสดงที่สถานีวังโพ
รถยนต์รางตรวจการ หมายเลข 2512 ที่จอดที่สถานีวังโพ ภาพโดย เพจโรงเรียนวิศวกรรมรถไฟ
โดยซากเหลือเพียงฐานและล้อของตัวรถเท่านั้น ในส่วนของโครงสร้างอื่นๆ หากเทียบกับภาพเดิมแล้วชิ้นส่วนต่างๆหายไปเยอะมาก อาจจะเพราะการเก็บกู้ ขนส่ง หรือการจัดเก็บที่ไม่ได้มาตรฐาน จึงทำให้เหลือเพียงเท่าที่เห็นเท่านั้น
ขออุทิศบทความนี้แด่ หม่อมหลวงกรี เดชาติวงศ์
เถ้าอัฐิของหม่อมหลวงกรี ยังคงถูกบรรจุไว้ที่ วัดมหาธาตุ บางเขน จนถึงปัจจุบัน ภาพโดย คุณ Sarich Arun
เถ้าอัฐิของหม่อมหลวงกรีถูกบรรจุไว้ที่ วัดมหาธาตุบางเขนครับ ดังภาพที่เห็น ขอบพระคุณ คุณ Sarich Arun ที่ถ่ายภาพมาให้ผมชมและอนุญาตให้เผยแพร่ได้
โฆษณา