15 เม.ย. 2024 เวลา 08:00 • ไลฟ์สไตล์

รู้จัก “Lucky Girl Syndrome” ผ่านแนวคิด “เปลี่ยนวิธีคิด ชีวิตก็เปลี่ยน” จาก “ILLIT” หรือ ไอลิท

รู้จัก “Lucky Girl Syndrome” แนวคิดของคนรุ่นใหม่ที่เชื่อว่า “เปลี่ยนวิธีคิด ชีวิตก็เปลี่ยน” ผ่านเพลงของ “ILLIT” หรือ ไอลิท เกิร์ลกรุ๊ปใหม่มาแรง เจ้าของสถิติชนะรายการเพลงเร็วที่สุดหลังจากเดบิวต์ของเจน 5
25 มี.ค. 2567 “ILLIT” (ไอลิท) เกิร์ลกรุ๊ปวงแรกภายใต้สังกัด “BELIFT LAB” ได้เดบิวต์ด้วยมินิอัลบั้มแรก “SUPER REAL ME” สำหรับสมาชิกของ “ILLIT” มีทั้งสิ้น 5 คน ประกอบไปด้วย ยุนอา (Yunah) มินจู (Minju) โมกะ (Moka) วอนฮี (Wonhee) และ อิโรฮะ (Iroha)
1
🧲“Lucky Girl Syndrome” แค่คิดดีก็จะมีแต่โชคดี
นอกจากเพลง Magnetic ที่ฮิตติดลมบนไปแล้ว อีกหนึ่งเพลงที่น่าจับตามอง คือเพลง “Lucky Girl Syndrome” เพลงน่ารักที่หยิบเอาแนวคิด Lucky Girl Syndrome ซึ่งเป็นเทรนด์ที่ได้รับความนิยมในหมู่วัยรุ่นชาวเจน Z ที่ว่า การมีทัศนคติที่ดีในชีวิตจะทำให้ในการใช้ชีวิตในแต่ละวันมีแต่เรื่องราวดี ๆ และสมหวัง นับเป็นการส่งเสริมการมองโลกในแง่ดีและเพิ่มความมั่นใจในตัวเอง
เหล่าวัยรุ่นต่างพากันแชร์สิ่งดี ๆ ที่เกิดเกิดขึ้น ผ่าน #LuckyGirlSyndrome บน TikTok จนมียอดเข้าชมมากกว่า 2,000 ล้านครั้ง จุดเริ่มต้นของกระแสดังกล่าวมาจากลอรา กาเลบ ครีเอเตอร์วัย 23 ปี ที่โพสต์เรื่องราวอัศจรรย์ในชีวิตของเธอ ทั้งเรื่องงานและเรื่องส่วนตัว
สำหรับคนรุ่นเจน Z นี่ถือเป็นคำแนะนำที่เรียบง่ายที่สุดในการดำเนินชีวิต แต่ความจริงแล้ว แนวคิด Lucky Girl Syndrome ไม่ได้เป็นเรื่องใหม่ เพราะตั้งอยู่บนพื้นฐานของ “กฎแห่งการดึงดูด” (law of attraction) ซึ่งเป็นแนวคิดที่มีมาตั้งแต่ยุค 1800 โดยเชื่อว่าจิตของเรามีพลังมากพอที่จะดึงดูดสิ่งต่าง ๆ เข้ามาในชีวิต ซึ่งถ้าเราคิดแต่เรื่องดี ๆ ชีวิตก็จะพานพบแต่สิ่งที่ดี และประสบความสำเร็จอย่างที่ต้องการ
การฝึกมองโลกในแง่ดีช่วยให้เพิ่มภูมิคุ้มกันในจิตใจและมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น เช่นเดียวกับการสร้างเป้าหมายและคอยย้ำเตือนอยู่เสมอเพื่อปลุกความสงบหรือความมั่นใจ ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าช่วยให้ความเป็นอยู่ดีขึ้น ขณะที่ “การพูดคุยกับตัวเอง” (self-talk) จะช่วยให้เข้าใจตนเองมากขึ้น และจะช่วยให้มีประสิทธิภาพดีขึ้นได้
บางคนเชื่อว่าการเปลี่ยนความคิดช่วยทำให้ชีวิตดีขึ้นได้ เพราะมันสอดคล้องกับประสบการณ์เชิงบวกที่พวกเขาสังเกตเห็นในแต่ละวัน คริสโตเฟอร์ ชาบริส นักประชานศาสตร์ กล่าวว่าทั้งหมดนี้เป็นผลมาจากอคติทางจิตวิทยา ที่เรียกว่า “สหสัมพันธ์ลวง” (illusory correlation)
ซึ่งเรามักจะเชื่อมเหตุการณ์หรือสถานการณ์สองอย่างเข้าด้วยกัน คิดว่ามันจะต้องเกี่ยวข้องกัน ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว มันเป็นเพียงเรื่องบังเอิญเท่านั้น ดังนั้นการที่เราย้ำเตือนตัวเองบ่อย ๆ หรือภาวนาให้สิ่งดี ๆ เกิดขึ้น แล้วมันเกิดขึ้นจริง จึงถือว่าเป็นสหสัมพันธ์ลวงด้วยเช่นกัน
ในการศึกษาชิ้นหนึ่ง นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาชาย 83 คนในเยอรมนีถูกขอให้ทำนายความเป็นไปได้ที่จะได้งานในสาขาวิชาที่ตนเรียน และดูว่าพวกเขาจะฝันกลางวันถึงเกี่ยวกับงานที่พวกเขาต้องการหรือไม่ เอิททิงเกนพบว่านักเรียนชอบเพ้อฝันจะส่งใบสมัครงานน้อยลง ทำได้รับการเสนองานน้อยลง และมีรายได้น้อยกว่านักเรียนคนอื่น ๆ ในสองปีต่อมา
ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าพวกเขาไม่ได้ห้ามไม่ให้ใช้แนวคิด Lucky Girl Syndrome ทุกคนสามารถสร้างเป้าหมาย มีความหวัง หรือแม้พึ่งพาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ได้ แต่สิ่งสำคัญคือ ต้องลงมือทำด้วย อย่ารอหวังลม ๆ แล้ง ๆ ว่าทุกอย่างสำเร็จได้เพียงเพราะเราตั้งจิตอธิษฐาน หรือแค่เปลี่ยนวิธีคิด
อ่านต่อ:
โฆษณา