14 เม.ย. เวลา 17:38 • ประวัติศาสตร์

กรุงศรีอยุธยา คราเสียกรุง EP2

  • ​พม่ารุกรานไทย
สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงนิพนธ์เอาไว้ในหนังสือเรื่อง "ไทยรบพม่า" เอาไว้ว่า ไทยแต่เดิมมา ไม่มีเหตุที่จะไปตีเมืองมอญทั้งนี้เพราะสองชาติต่างมีความอุดมสมบูรณ์ด้วยกัน ทั้งสองฝ่ายอยู่แล้ว มีช่องทางทำการค้าของตัวเองอยู่แล้ว อีกทั้งอยู่ริมทะเลด้วยกันสามารถติดต่อกับนานาชาติได้อย่างสะดวก ที่สำคัญคืออาณาจักรกรุงศรีอยุธยากับอาณาจักรมอญนั้น ในแนวแดนที่ต่อกันนั้นมีอุปสรรคสำคัญนั่นคือมีเทือกเขามาปั้นเขต ทำให้มีความชัดเจนในเรื่องเขตแดน ดังนั้นจึงไม่มีเหตุผลที่จะรุกรานกัน ทั้งเรื่องทางเศรษฐกิจ และแนวเขตแดน
แต่สำหรับทางพม่าแล้ว ถือเป็นเรื่องจำเป็น ทั้งนี้เพราะพม่าอยู่ทางเหนือขึ้นไปจากหัวเมืองมอญ ดินแดนของชาวพม่านั้นอยู่แถบริมแม่น้ำสะโตง ต่อเนื่องถึงตอนบนของแม่น้ำอิระวดี ขณะที่เมืองรามัญของชาวมอญนั้นอยู่ตรงปากน้ำ มีความสมบูรณ์ และทั้งสองประเทศต้องใช้ประโยชน์จากแม่น้ำนี้ร่วมกัน อีกทั้งเขตที่เป็นเมืองหรืออาณาจักรของชาวพม่านั้นไม่มีความบริบูรณ์เหมือนแผ่นดินรามัญ ทำให้เมื่อต้องการออกไปค้าขายจำเป็นจะต้องผ่านเมืองมอญ ด้วยเหตุนี้ จึงก่อให้เกิดการกระทบกระทั่งกันอย่างง่ายดาย
เมืองของชาวพม่านั้นแรกเริ่มเดิมทีตั้งอยู่ที่เมืองพุกาม มีความเจริญและอำนาจอยู่พอสมควร แต่ปรากฏว่าเมื่อผู้รุกรานชาวมองโกล ยกทัพเข้ามาปราบปรามทำให้เมืองนี้พร้อมกับราชวงศ์ที่ปกครองของชาวพม่า นั่นคือราชวงศ์พุกามต้องล่มสลายไปด้วย
หลังการล่มสลายของพุกามร่วมสองศตวรรษ ในเวลาต่อมาพระเจ้าเมงคยินโย ได้รวบรวมชาวพม่าที่หลงเหลืออยู่อย่างจะจัดกระจาย ได้สถาปนาเมืองตองอูขึ้นเป็นราชธานีของชาวพม่า สาเหตุที่เลือกเมืองนี้ก็เพราะว่าเมืองนี้เป็นเมืองที่อยู่ในขุนเขา ซึ่งเป็นปราการที่เข้มแข็งหลักฐานมั่นคงดี
เมืองตองอู เริ่มมีความเข้มแข็งขึ้นมาในรัชสมัยของพระองค์เจ้า คือพระองค์ได้มีการเริ่มสร้างกำแพงเมืองและป้อมปราการที่เข้มแข็งรอบเมือง และด้วยความสามารถของพระองค์ จึงทำให้บรรดาหัวเมืองต่างๆ ให้การยอมรับในพระราชอำนาจของพระองค์มากขึ้น
ต่อมาตองอูเข้มแข็งมากยิ่งขึ้นไปอีกในรัชสมัยของ พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ พระโอรสของพระเจ้าเมงคยินโย ที่ขึ้นครองราชย์ ต่อมาพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ได้เริ่มแผ่อาณาเขตและอำนาจของอาณาจักร ขยายไปรอบด้าน เช่น แปร, พะสิม, อังวะ, ยะไข่ และที่สำคัญที่สุดคือ หงสาวดี อันเป็นอาณาจักรเดิมของมอญ ซึ่งเป็นศัตรูที่สำคัญของพม่า
ยุคสมัยของพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ได้ครอบคลุมอาณาจักรพม่า ทั้งตอนบนและตอนล่างลุ่มน้ำอิรวดี อีกทั้งได้บุคลากรที่สำคัญ เช่น มหาอุปราชาบุเรงนอง เมงเยสีหตู ร่วมกันสร้างอาณาจักรให้ยิ่งใหญ่ เข้มแข็ง และได้ย้ายเมืองหลวงจากตองอูมาอยู่ที่หงสาวดี
และในช่วงเวลานี้เองเมื่อพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้มีพระราชอำนาจเหนือหัวเมืองมอญแล้ว ซึ่งในเวลาต่อมาก็ได้มีการกระทบกระทั่งกับกรุงศรีอยุธยา จนก่อให้เกิดสงครามครั้งแรกขึ้นของระหว่าง 2 ราชอาณาจักร นั่นคือศึกเชียงกรานนั่นเอง
ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ เมืองต่างๆ ที่เคยขึ้นต่อตองอู หงสาวดี ก็แข็งเมืองไม่ยอมขึ้นตรงต่อไป มีกบฎขึ้นมามากมาย มหาอุปราชาบุเรงนองต้องใช้เวลาปราบปรามอยู่อีกราว 2 ถึง 3 ปี จึงจะได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์
ในรัชสมัยของพระเจ้าบุเรงนอง ได้แผ่อาณาเขตของอาณาจักรตองอู หงสาวดี ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยครอบคลุมตั้งแต่ลุ่มน้ำอิระวดี ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ไปจรดถึงลุ่มน้ำโขงในลาว มีเมืองเป็นประเทศราชต่างๆ มากมายไม่นับในอดีต เช่น เชียงใหม่, ฉาน, อยุธยา, ล้านช้าง, กัมพูชา เป็นต้น จนได้ขนานนามว่าเป็น "พระเจ้าผู้ชนะสิบทิศ"
เรียกได้ว่า เพียงแค่สามรัชกาลของพม่าที่ตั้งมั่นขึ้นที่ตองอูก่อนจะย้ายมาที่หงสาวดีนั้น พม่าสามารถเติบโตและเข้มแข็งขึ้นอย่างรวดเร็ว จนสามารถเข้ามายึดเอากรุงศรีอยุธยาได้ ด้วยการทำสงครามขยายพระราชอำนาจของพระเจ้าบุเรงนอง
โฆษณา