16 เม.ย. เวลา 04:43 • ประวัติศาสตร์

เหตุใดชาวยิวจึงถูกกดขี่ข่มเหงมาตลอดในประวัติศาสตร์?

เราอาจจะเคยได้ทราบว่า “ชาวยิว (Jewish)” คือกลุ่มชนที่ถูกกดขี่ข่มเหงมากที่สุดกลุ่มหนึ่งในประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
หลายคนคงเกิดคำถามว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น? ซึ่งความเกลียดชังต่อต้านชาวยิวนี้ไม่ได้มีแค่ในเยอรมนีเท่านั้น หากแต่ทั่วยุโรป
เราลองมาหาสาเหตุกันครับ
สำหรับประวัติศาสตร์ชาวยิวนั้น ส่วนมากจะเป็นข้อเขียนใน “พันธสัญญาเดิม (Old Testament)” ซึ่งทำให้ได้รู้ว่าชาวยิวนั้น คือ “ผู้ที่ถูกเลือก”
ด้วยการทำสัญญาต่อพระเจ้า ชาวยิวจะได้เป็นผู้ที่ถูกเลือกและปฏิบัติตามกฎของพระเจ้า และหลังจากถูกเนรเทศ ต่อมาชาวยิวก็ได้ “โมเสส (Moses)” นำทางกลับเข้ามาในอิสราเอล และสามารถครอบครองดินแดนของตนได้เมื่อราว 1,100 ปีก่อนคริสตกาล
ในช่วงราว 100 ปีก่อนการประสูติของ “พระเยซู (Jesus)” ตะวันออกกลางและจูเดียได้ตกอยู่ใต้การครอบครองของโรมันและเป็นส่วนหนึ่งของ “จักรวรรดิโรมัน (Roman Empire)”
โมเสส (Moses)
จากข้อเขียนใน “พันธสัญญาใหม่ (New Testament)” ชาวคริสต์ได้ทราบถึงวิธีการที่พวกโรมันปกครองจูเดีย โดย “ป็อนติอุส ปีลาต (Pontius Pilate)” ข้าหลวงชาวโรมัน ได้ตัดสินให้ตรึงกางเขนพระเยซู โดยมีเสียงสนับสนุนจากชาวยิวให้สังหารพระเยซู
ทางด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรมันกับชาวยิว ก็ใช่ว่าจะดีนัก
พวกโรมันพบว่ากลุ่มชาวยิวนั้นเป็นพวกที่ชอบสร้างปัญหา วุ่นวาย ไม่อนุญาตให้ทำการบวงสรวงบูชาเทพเจ้าโรมันในวิหารชาวยิว ทั้งๆ ที่ชาวโรมันจำนวนมากก็ให้ความเคารพเทพเจ้าของยิว
ด้วยความขัดแย้งที่สะสมมาเรื่อยๆ ทำให้ความรุนแรงเกิดขึ้นในที่สุด เกิดจลาจล ซึ่งชาวโรมันก็ปราบปรามพวกยิว ก่อนที่กลุ่มชาวยิวจะถูกขับไล่ออกจากจูเดียในปีค.ศ.135 (พ.ศ.678)
พระเยซูถูกตรึงกางเขน
แต่ถึงจะถูกขับไล่และกระจัดกระจายไปคนละทิศละทาง แต่ชาวยิวก็ยังไม่ได้หายไปจากประวัติศาสตร์
สัญญาต่อพระเจ้าคือสิ่งที่ผูกเหล่าชาวยิวเข้าไว้ด้วยกัน โดยชาวยิวเชื่อว่าหากตนปฏิบัติตามกฎ ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น พวกตนก็ยังเป็นผู้ที่ถูกเลือก
ความเชื่อนี้ได้ทำให้ชาวยิวมีศรัทธาและสร้างเอกลักษณ์ให้ชาวยิว แต่ในขณะเดียวกันก็ทำให้ชาวยิวแปลกแยกจากคนอื่นๆ
1
กฎเกณฑ์ที่เคร่งครัดนั้นเป็นสิ่งที่ชาวยิวให้ความสำคัญ หากแต่ก็ไม่ได้เข้ากับกฎเกณฑ์ของดินแดนต่างๆ ที่ชาวยิวตั้งรกรากอยู่เสมอไป
2
ชาวยิวนั้นเริ่มลดการปฏิสัมพันธ์และติดต่อกับโลกภายนอกให้น้อยที่สุด โดยสาเหตุก็เพื่อจะได้รักษากฎเกณฑ์ของพวกตน ซึ่งการเกาะกลุ่มอยู่ด้วยกันในชุมชนกันเองนั้น ก็เป็นวิธีการที่ทำให้ชาวยิวเอาตัวรอดได้ หากแต่ก็เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ชาวยิวถูกกดขี่ข่มเหง
จากมุมมองภายนอกที่หลายๆ คนมอง (ไม่ใช่ทุกคนนะครับ) หลายคนมองว่าชาวยิวเป็นพวกที่สันโดษ แปลกแยก และบางคนก็มองไปถึงขนาดว่าเป็นพวกชั่วร้าย
การเป็นชาวยิวนั้นโดยมากจะขึ้นกับชาติกำเนิด เกิดมาในครอบครัวชาวยิว การจะรับคนจากศาสนาอื่นเข้ามานั้นเป็นเรื่องที่ยาก
ในสมัยโบราณ ผู้ที่ทำหน้าที่ถ่ายทอดคำพูดของพระเจ้าก็คือเหล่าบาทหลวง นักบวช ซึ่งก็มักจะเป็นกลุ่มคนเพียงกลุ่มเดียวที่อ่านออกเขียนได้
1
หากแต่สำหรับชาวยิว ได้มีการกำหนดว่าชายชาวยิวทุกคนจะต้องอ่านออกเขียนได้ เพื่อที่จะได้อ่านพระคัมภีร์ได้และนำเนื้อหามาถกเถียงพูดคุยกัน
1
เมื่อพิจารณาถึงตรงนี้ เราจะเห็นได้ว่ามีปัจจัยสำคัญสองข้อ
1.ความสามารถในการอ่านออกเขียนได้ ซึ่งในยุคมืดนั้น ถือว่านี่เป็นคุณสมบัติที่หาได้ยาก
2.การตั้งข้อสงสัยในสิ่งที่อ่าน ไม่อือออตามไปด้วยง่ายๆ ซึ่งหมายความว่าสังคมชาวยิวนั้นคือสังคมที่ส่งเสริมให้เกิดการถกเถียง แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและความรู้
1
ด้วยความที่อ่านออกเขียนได้และมีความรู้ ชาวยิวจึงประกอบอาชีพหลายหลาย เช่น แพทย์ ทนายความ ที่ปรึกษา และนายธนาคาร
ในยุคสมัยก่อน ความมั่งคั่งนั้นวัดจากจำนวนที่ดินที่ถือครอง เจ้าที่ดินนั้นไม่ต้องทำงาน เพียงแค่ปกครองที่ดินและคอยดูแลในยามศึกสงคราม
ชาวยิวนั้นไม่มีที่ดินเป็นของตนเองและมักจะถูกกีดกันจากสังคม ไม่สามารถถือครองที่ดิน หากแต่ชาวยิวก็มีสกิลล์หรือความสามารถที่เจ้าที่ดินต่างๆ ต้องการ
แรงงานที่ใช้แรงกายนั้น เจ้าที่ดินมีจำนวนเหลือเฟือ หากแต่งานที่ต้องใช้ความรู้เช่น แพทย์ งานเหล่านี้มีไม่มากนัก
ด้วยเหตุนี้ ชาวยิวจึงได้รับการว่าจ้างโดยมีผลตอบแทนเป็นเงิน หากแต่ก็ยังไม่สามารถซื้อที่ดินได้อยู่ดี ชาวยิวจึงนำเงินซึ่งเป็นผลตอบแทนที่ได้นั้นไปประกอบกิจการอื่น
กิจการเหล่านั้นมักจะเป็นกิจการการเงิน การธนาคาร ปล่อยเงินกู้ ด้วยเหตุนี้ ประกอบกับข้อห้ามไม่ให้ชาวคริสต์ปล่อยเงินกู้ในอัตราดอกเบี้ยที่สูง ทำให้ชาวยิวกลายเป็นเสมือนนายทุนใหญ่หรือนายธนาคารใหญ่ของสังคม
จะเห็นได้ว่าชาวยิวนั้นมีความเป็นอิสระ อาศัยอยู่หลายแห่งทั่วโลกโดยไม่เลียนแบบชนดั้งเดิมในพื้นที่นั้นๆ มีความเป็นตัวของตัวเองสูง แต่ในขณะเดียวกัน ชนดั้งเดิมที่ไม่ใช่ชาวยิวก็จำเป็นต้องพึ่งพาชาวยิว
ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้ชาวยิวมีอิทธิพลมากพอที่จะทำให้ชนดั้งเดิมในพื้นที่นั้นๆ ไม่วางใจ
และนอกจากเงินและอิทธิพลแล้ว ชาวยิวยังมี “ความรู้”
3
ในยุคสมัยที่ผู้คนยังไม่มีปากมีเสียงมากนัก ไม่มีขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมหรือแนวคิดต่างๆ ชาวยิวนับว่าเป็นกลุ่มชนที่มีเอกลักษณ์
1
ชุมชนชาวยิวนั้นกระจายอยู่ในดินแดนต่างๆ ทั่วโลก และในสังคมของดินแดนต่างๆ เหล่านั้น ชาวยิวก็ได้เรียนรู้ภาษาของดินแดนนั้นๆ และผนวกเข้ากับความรู้และเฉลียวฉลาดของตน
ความรู้ต่างๆ เหล่านั้นกระจัดกระจายไปตามดินแดนต่างๆ ผ่านกลุ่มชาวยิวที่เดินทางไปยังที่ต่างๆ รวมทั้งหนังสือที่ชาวยิวอ่าน ทำให้ความรู้ต่างๆ แพร่กระจายไปทั่วสังคมชาวยิว
แพทย์ชาวยิวอาจจะทำการรักษาคนไข้ในสก๊อตแลนด์ โดยศาสตร์หรือความรู้นั้นอาจจะเป็นศาสตร์จากซีเรีย แต่ก็อาจจะทำให้เกิดประเด็นตามมา นั่นก็คือศาสตร์ที่ดูปกติธรรมดาในซีเรีย แต่ที่สก๊อตแลนด์อาจจะถูกมองว่าเป็น “ศาสตร์มืด”
3
การกดขี่ชาวยิวครั้งแรกนั้นมาจากประเด็นเรื่องศาสนา โดยชาวยิวถูกมองว่าเป็น “ผู้สังหารพระคริสต์” และเป็น “ผู้ศรัทธาในศาสตร์มืด” เป็นผู้ที่ไม่เชื่อในคำสอนของพระเยซู
ความเกลียดชังนี้ฝังรากอยู่กับชาวบ้านในท้องถิ่นต่างๆ มาเป็นเวลานานแล้ว หากแต่ผู้ที่จุดชนวนให้สังคมลุกขึ้นต่อต้านก็มักจะเป็นผู้นำในด้านต่างๆ
ผู้นำให้เกลียดชังชาวยิวอาจจะเป็นนักบวชระดับสูงในคริสตจักร หรืออาจจะเป็นอัศวินที่เป็นหนี้เงินกู้นายธนาคารชาวยิว หรือไม่ก็อาจจะเป็นเหล่าที่ปรึกษากษัตริย์ที่อิจฉาความร่ำรวยของชาวยิว
เหล่านี้ล้วนเป็นไปได้หมด
ในศตวรรษที่ 19 การกดขี่ทางศาสนาเป็นการเปิดทางไปสู่การกดขี่ทางเชื้อชาติ โดยชาวยิวนั้นถูกมองว่าเป็นเหมือนกับเหลือบไรที่คอยกัดกินสังคม โดยกระแสชาตินิยมที่กำลังมาแรงในยุโรปยิ่งทำให้ที่ยืนของชาวยิวยิ่งเหลือน้อยลงทุกที
1
ไม่เพียงแค่ถูกมองว่าแปลกแยก แต่ชาวยิวยังถูกมองว่าเป็นเหมือนภัยคุกคาม ความเก่งกาจและรุ่งเรืองของชาวยิวก็ได้สร้างความอิจฉาและหวาดระแวงให้ชนหลายกลุ่ม
เมื่อมาถึงศตวรรษที่ 20 ก็ได้เกิดปัจจัยที่ยิ่งทำให้ชาวยิวยิ่งลำบาก นั่นก็คือการถูกมองว่าชาวยิวนั้นมีส่วนเชื่อมโยงกับ “คอมมิวนิสต์”
1
ในปีค.ศ.1897 (พ.ศ.2440) มีการจัดประชุมไซออนิสต์ (Zionist Conference) ครั้งแรกที่บาเซิล ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดย “ทีโอดอร์ แฮร์ทเซิล (Theodore Herzl)” บิดาแห่งลัทธิไซออนิสต์ ได้พูดถึงประเด็นเรื่องการส่งชาวยิวไปปาเลสไตน์เพื่อตั้งถิ่นฐาน และยังพูดถึงระบอบสังคมแบบสังคมนิยม
ทีโอดอร์ แฮร์ทเซิล (Theodore Herzl)
ในปีค.ศ.1917 (พ.ศ.2460) ได้เกิดเหตุการณ์ “การปฏิวัติรัสเซีย (Russian Revolution)” โดยหนึ่งในผู้นำก็คือ “ลีออน ทรอตสกี (Leon Trotsky)” ก็เป็นชาวยิว
ทรอตสกีเป็นผู้ที่เชื่อในการปฏิวัติ และคิดว่าควรมีการปฏิวัติโลก โดยอิทธิพลและแนวคิดของทรอตสกีก็ไปไกลถึงเยอรมนี สถานที่ซึ่งมีชาวยิวอยู่ไม่น้อย
1
ซึ่งสภาพการณ์ต่างๆ ในสังคมก็จะนำมาสู่สงครามและโศกนาฏกรรมอย่างที่หลายๆ ท่านทราบกันดี
ลีออน ทรอตสกี (Leon Trotsky)
อาจจะสรุปได้ว่าความเกลียดชังและกดขี่ข่มเหงชาวยิวนั้นเป็นสิ่งที่อยู่มานานกว่า 2,000 ปีแล้ว และอัตลักษณ์ที่โดดเด่นของชาวยิวดังที่ผมได้บอกเล่าข้างต้น ประกอบกับปัจจัยต่างๆ ก็ทำให้ชาวยิวเป็นเป้าแห่งความเกลียดชังได้โดยง่าย
ในปัจจุบัน ความเกลียดชังนั้นอาจจะไม่ได้เข้มข้นรุนแรงเท่ากับในอดีต หากแต่ก็เป็นบทเรียนหนึ่งที่อยู่คู่ประวัติศาสตร์มาจนถึงปัจจุบัน
1
โฆษณา