16 เม.ย. เวลา 17:23 • ไลฟ์สไตล์

กฏของการขอโทษ

หากปรารถนาชัยชนะ
เหตุใดการเอ่ยขอโทษถึงยาก
ทุกคนเคยผิดพลาดและทุกคนเคยต้องมาเสียใจจากความผิดพลาดเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นการทำร้ายทำลายจิตใจหรือร่างกายของผู้อื่น
และทุกคนก็ต่างต้องเคยได้รับโทษจากการกระทำเหล่านั้นของตัวเองกันทั้งนั้น ถึงแม้ความเสียหายที่เกิดขึ้นมันจะไม่อาจที่จะเยียวยาให้มันกลับคืนมาสมบูรณ์เหมือนดั่งเดิมได้
แต่การกล่าวขอโทษคือสิ่งที่ผู้เจริญและมีอารยะเรียนรู้ที่จะใช้กล่าวซึ่งกันและกันเมื่อตนกระทำการผิด นั้นคือเหตุผลที่มนุษย์เราขอโทษซึ่งกันและกัน แต่
มันก็จะมีบางเคสที่มันแปลกไปคือกฏที่ว่า เราขอโทษเมื่อทำผิดต่อผู้อื่นให้ต้องเจ็บปวดทางกายหรือใจก็ดีมันใช้ไม่ได้เสียอย่างงั้น
โดยคนประเภทดังกล่าวชอบปากแข็งปากไม่ตรงกับใจหรือออกไปทางแล้งน้ำใจเลยก็มี โดยน่าแปลกที่คนส่วนใหญ่ในประเภทนี้จะมีคุณสมบัติง่ายๆคือ ผู้กระทำผิดจะมีอายุที่มากกว่าผู้เสียหาย
ทำไมกันละ? ทำไมการที่แค่อายุของคนในเหตุการณ์เปลี่ยนก็ทำให้ตอนจบของเหตุการณ์เปลี่ยน? ไม่ใช่ว่าพอเราโตขึ้นคนเราจะยิ่งแล้งน้ำใจยิ่งขึ้น แต่มันมีสาเหตุมาจาก ความไม่คุ้นชิน
คุณเคยเห็นคุณปู่ขอโทษคุณพ่อมั้ย? คุณเคยเห็นคุณครูขอโทษนักเรียนมั้ย? อะไรประมาณนี้คุณเคยเห็นรึป่าว? ถ้าคุณไม่เคยเห็นยิ่งเหล่านี้นี่แหละคือเหตุผลที่ว่าทำไมคุณถึงต้องยิ่งรู้ตัวว่าคุณทำอะไรอยู่
อย่างแรกคือคุณถูกสอนมาให้ขอโทษ ถ้าเจอเหตุการณ์แบบนี้หรือถ้าทำแบบนี้กับคนอื่นคุณต้องขอโทษ คุณอาจไม่ได้เข้าใจหรอกว่าทำไมคุณต้องขอโทษหรือคุณอาจไม่ได้รู้หรอกว่าคุณทำอะไรผิด แต่คุณแค่ถูกสอนให้ขอโทษ
เหมือนกับเวลาที่คุณเดินชนใครสักคนคุณไม่รู้หรอกว่าทำไมคุณถึงต้องขอโทษทั้งที่คุณอาจไม่ได้ผิดด้วยซ้ำ แต่คุณก็ขอโทษ หรือคุณอาจจะเป็นฝ่ายถูกชนด้วยซ้ำแต่คุณก็ขอโทษไว้ก่อนเพราะนั้นคือมารยาทที่ถูกสอนมา
แต่การที่คุณไม่เคยเห็นผู้อาวุโสกว่าขอโทษผู้น้อยนั้น และคุณต้องอยู่ในสถานการณ์ที่คุณจำเป็นต้องขอโทษ ความไม่คุ้นเคยและการวางตัวที่ไม่รู้ว่าจะทำยังไงจะทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่าการปล่อยวาง
เมื่อมนุษย์ไม่เข้าใจสิ่งใดว่ามันคืออะไรหรือต้องทำยังไงมนุษย์จะปล่อยวางสิ่งนั้น ในกรณีนี้ก็เช่นกันมนุษย์จะปล่อยวางการขอโทษ เพราะว่าคนเราไม่รู้จะวางตัวยังไงในสถานการณ์เช่นนี้
แถมอาจจะบวกกับสิ่งที่เรียกว่าศักดิ์ศรีที่ในสังคมอันบิดเบี้ยวที่มองคุณค่าของผู้คนว่าเท่ากันเป็นเรื่องตลก มันเลยทำให้การที่ผู้อาวุโสกว่าที่มักถูกเข้าใจไปเองว่ามีศักดิ์ศรีที่มากกว่าคนที่มีอายุที่น้อยกว่าไม่ขอโทษผู้น้อยเพราะคิดว่าตนถูกเพราะตนอาวุโสกว่าจึงเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ทั่วไปในสังคมนี้
ทั้งที่ความจริงแล้วมันคือตรรกะที่บิดเบี้ยวและไร้สาระสิ้นดี และด้วยเหตุผลดังกล่าว+กฏ3ข้อขอฃการไม่ขอโทษ คือ
1.ขอโทษ=ผิด
ทำไมคุณจำเป็นด้วยละที่จะขอโทษทั้งๆที่คุณไม่ได้เป็นคนผิด? แน่นอนมันเป็นเรื่องที่แน่นอนอยู่แล้วในประโยคนี้ แต่ผิดถูกมันขึ้นอยู่กับเคสบายเคส ไม่ได้หมายความว่าคุณอาวุโสคุณจะถูกตลอด
และเพราะด้วยเหตุผลดังกล่าว ทำหูทวนลมไปซะเดี๋ยวเรื่องก็ลืมๆไปเองและแน่นอนในสังคมที่ผู้อาวุโสมีอภิสิทธิ์ที่มากกว่าคนที่อายุน้อยกว่า การที่ผู้น้อยจะกล้าที่จะเอาเรื่องผู้ที่ใหญ่กว่าเป็นเรื่องผิดกาละเทศะและไร้มารยาท ซึ่งเป็นการเอื้อต่อการไม่ขอโทษไปโดยปริยาย
2.ขอโทษ=รับผิดชอบ และ 3.ขอโทษ=ต้องเปลี่ยนแปลง
ไม่มีใครทั้งสิ้นบนโลกนี้ที่จะคิดว่าตัวเองผิดในวินาทีแรก จนกว่าสมองจะประมวลผมได้ว่าตัวเองผิดอะไร และแน่นอนความผิดพลาดมีราคาของมัน
คุณไม่สามารถที่จะทำลายข้าวของและบอกว่าคุณรู้เท่าไม่ถึงการณ์พร้อมกับบีบน้ำตาก่อนจะเดินจากไปได้ ทุกความผิดมีราคามากกว่าแค่การขอโทษหรือคำแก้ตัว
แต่พวกหัวหมอเหล่านี้ที่คิดถึงแต่ประโยชน์ของตัวเอง คิดแค่ศักดิ์ศรีและหน้าของตัวเองเท่านั้น หากไม่ยอมรับผิดก็ไม่มีใครที่จะมายัดเยียดความผิดได้และเมื่อไม่ผิดก็ต้องรับผิดชอบ
ด้วยความบิดเบี้ยวในสังคมที่เกิดจากองค์ประกอบหลายอย่างในสังคมนี้แต่ดั่งแต่เดิม รวมเข้ากับกฏ3ข้อดังกล่าว ทำให้สิ่งที่เรียกว่าการขอโทษนั้นถึงได้ยากขึ้นอย่างมากในทุกวันนี้
แต่จำไว้ว่าทุกอย่างเปลี่ยนแปลงได้เสมอ เพียงแก้ไขและรอเวลาเท่านั้น ลองสูดหายใจเข้าลึกๆดูสิในวันที่คุณเริ่มที่จะเปลี่ยนแปลงทุกอย่าง
หายใจเข้าลึกๆ... มันสดชื่นใช่มั้ยละ!?
โฆษณา