18 เม.ย. เวลา 11:11 • ประวัติศาสตร์

การล่มสลายของอียิปต์โบราณ

ในประวัติศาสตร์นั้น “อียิปต์” นับเป็นดินแดนในสมัยโบราณที่รุ่งเรืองและมีอารยธรรมที่ก้าวหน้าที่สุดแห่งหนึ่งในประวัติศาสตร์ รุ่งเรืองสุดขีดในสมัยอาณาจักรใหม่ (New Kingdom Period) เมื่อ 1,550-1,070 ปีก่อนคริสตกาล
1
ในช่วงที่รุ่งเรืองนี้ จักรวรรดิอียิปต์ได้ครอบครองดินแดนผืนใหญ่ กว้างไกลตั้งแต่ดินแดนที่คืออียิปต์ในปัจจุบัน ขึ้นไปถึงคาบสมุทรไซนายทางเหนือ รวมทั้งคานาอัน
1
แต่แล้วเมื่อเกิดการปลงพระชนม์ “ฟาโรห์ราเมซีสที่ 3 (Ramesses III)” เมื่อ 1,155 ปีก่อนคริสตกาล อียิปต์ก็เข้าสู่ยุคตกต่ำ
1
ฟาโรห์ราเมซีสที่ 3 (Ramesses III)
เรื่องราวเป็นอย่างไร ลองมาดูกันครับ
“ฟาโรห์ราเมซีสที่ 3 (Ramesses III)” ทรงปกครองอียิปต์เป็นเวลา 31 ปี และทรงได้รับการยอมรับว่าเป็นฟาโรห์ผู้ยิ่งใหญ่องค์สุดท้ายแห่งอียิปต์
รัชสมัยของพระองค์เป็นช่วงเวลาเดียวกับที่อียิปต์ต้องเผชิญกับความท้าทายครั้งยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์เมดิเตอเรเนียนโบราณ นั่นคือการรุกรานจาก “ชาวทะเล (Sea Peoples)”
ตัวตนจริงของชาวทะเลยังคงเป็นที่ถกเถียงกันในหมู่นักประวัติศาสตร์ แต่นักประวัติศาสตร์จำนวนมากเชื่อว่าชาวทะเลคือกลุ่มชนหลายๆ เผ่าที่อพยพมาจากเมดิเตอเรเนียนตะวันตก ซึ่งได้อพยพหนีภัยแล้งและความอดอยาก มุ่งหน้ามาทางตะวันออกเพื่อมองหาดินแดนใหม่ที่จะยึดครองและลงหลักปักฐาน
3
เป็นไปได้ว่ากองเรือของชาวทะเลได้เคยเข้าโจมตีอียิปต์หลายครั้ง และเมื่อ 1,177 ปีก่อนคริสตกาล ฟาโรห์ราเมซีสที่ 3 และกองเรืออียิปต์ก็สามารถขับไล่ชาวทะเลให้ล่าถอยไปได้ และได้มีการสลักเรื่องราวชัยชนะนี้ไว้ในวิหารของฟาโรห์ราเมซีสที่ 3
2
ชาวทะเล (Sea Peoples)
แต่ความยินดีก็อยู่ได้ไม่นาน เนื่องจากในเวลาต่อมา ฟาโรห์ราเมซีสที่ 3 ก็ถูกปลงพระชนม์ด้วยการถูกแทงที่พระศอเมื่อ 1,155 ปีก่อนคริสตกาล
1
และนั่นก็คือช่วงเวลาที่นักประวัติศาสตร์หลายคนกล่าวว่าคือจุดเริ่มต้นของจุดจบ และอียิปต์ก็ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป
ในสมัยยุค 1,100 ปีก่อนคริสตกาล ดินแดนในเมดิเตอเรเนียนก็ได้เข้าสู่ช่วงเวลาที่เรียกว่า “การล่มสลายของยุคสัมฤทธิ์ (Bronze Age Collapse)”
ในช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่ชาวทะเลออกรุกรานและยึดครองดินแดนหลายแห่ง ซ้ำเติมด้วยภัยแล้งและความอดอยาก ทำให้ดินแดนและอารยธรรมต่างๆ ล่มสลาย
1
หากแต่อียิปต์นั้นยังสามารถรักษาดินแดนของตนไว้ได้นานหน่อยเนื่องจากฟาโรห์ราเมซีสที่ 3 สามารถต้านทานชาวทะเลไว้ได้ หากแต่ก็ต้องพบกับภัยแล้งครั้งใหญ่ที่มีระยะเวลายาวนานกว่า 150 ปี และทำให้เครือข่ายการค้าในแถบเมดิเตอเรเนียนต้องล่มสลาย
1
หลังจากการสวรรคตของฟาโรห์ราเมซีสที่ 3 อียิปต์ก็ถูกปกครองโดยฟาโรห์อีกหลายองค์ และจากการตรวจสอบมัมมี่พระบรมศพฟาโรห์หลายองค์หลังจากนั้น ก็พบร่องรอยของโรคระบาด และคาดว่าน่าจะเกิดการระบาดของไข้ทรพิษ
2
ในรัชสมัยของ “ฟาโรห์ราเมซีสที่ 5 (Ramesses V)” และ “ฟาโรห์ราเมซีสที่ 6 (Ramesses VI)” อียิปต์ก็ต้องสูญเสียอำนาจควบคุมเหมืองทองแดงและเหมืองพลอยเขียวครามในแถบคาบสมุทรไซนาย เนื่องจากพระนามของทั้งสองพระองค์เป็นสองพระนามสุดท้ายที่มีการสลักในบริเวณนั้น และอียิปต์ก็น่าจะถอนตัวออกจากคาบสมุทรไซนายและคานาอันเมื่อ 1,140 ปีก่อนคริสตกาล
2
ในรัชสมัยของ “ฟาโรห์ราเมซีสที่ 9 (Ramesses IX)” ซึ่งปกครองอียิปต์ในช่วงปลายสมัย 1,100 ปีก่อนคริสตกาล อียิปต์ก็ต้องเผชิญกับการปล้นหลุมศพ โดยในเวลานั้นเศรษฐกิจในอียิปต์ตกต่ำอย่างหนัก ความเคารพในราชวงศ์ก็แทบไม่เหลือ ทำให้เกิดการปล้นหลุมฝังพระบรมศพองค์ฟาโรห์เพื่อหาของมีค่า
1
หลังจากสมัยอาณาจักรใหม่ อียิปต์ก็ถูกปกครองโดยอำนาจต่างชาติ ทำให้ความเป็นเอกราชของอียิปต์เสื่อมสลาย
เริ่มจากพวกลิเบีย ซึ่งเป็นชนเผ่าเร่ร่อนจากแถบแนวหน้าด้านตะวันตกของอียิปต์ โดยเริ่มจาก “ฟาโรห์โชเชงค์ที่ 1 (Shoshenq I)” ซึ่งเป็นฟาโรห์ที่มีเชื้อสายลิเบีย และเป็นผู้ก่อตั้งราชวงศ์ที่ 22
ฟาโรห์โชเชงค์ที่ 1 ทรงพยายามจะเรียกคืนวันที่รุ่งเรืองของอียิปต์กลับมาด้วยการรุกรานอิสราเอลและยูดาห์เมื่อสมัย 900 ปีก่อนคริสตกาล
ฟาโรห์โชเชงค์ที่ 1 (Shoshenq I)
และเมื่อมาถึงยุค 700 ปีก่อนคริสตกาล ชาวคุชก็ได้เข้าครอบครองราชบัลลังก์อียิปต์ และก็มีฟาโรห์ชาวคุชปกครองอียิปต์สืบมาอีกเกือบ 100 ปีในฐานะราชวงศ์ที่ 25 ก่อนจะถูกขับไล่โดยพวกอัสซีเรีย ตามมาด้วยกรีก โรมัน และอิสลาม
1
อียิปต์ได้สัมผัสกับความยิ่งใหญ่ครั้งสุดท้ายภายใต้การปกครองของราชวงศ์ปโตเลมี (Ptolemaic Dynasty) ซึ่งครองอำนาจระหว่าง 305-30 ปีก่อนคริสตกาล โดยฟาโรห์ที่โด่งดังที่สุดคือ “คลีโอพัตรา (Cleopatra)”
2
คลีโอพัตรา (Cleopatra)
แต่แล้วคลีโอพัตราก็ต้องพ่ายแพ้ต่อ “จักรพรรดิออกัสตัส (Augustus)” พระประมุขแห่งโรมันเมื่อ 30 ปีก่อนคริสตกาล และอียิปต์ก็กลายเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมัน และเป็นการสิ้นสุดราชวงศ์และความรุ่งเรืองของอียิปต์โบราณ
โฆษณา