22 เม.ย. เวลา 15:05 • สุขภาพ

ฉี่บ่อยขึ้น เสียงเพรียกจากเบาหวาน?

ภาวะปัสสาวะบ่อยเกินไปเป็นภาวะที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วย บางรายไม่รู้ตัวว่าเป็นอยู่หรือไม่รู้ตัวว่ามีอาการส่อแววว่าเข้าข่ายโรคนี้ โดยผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีอาการปวด ปัสสาวะ บ่อยกว่าคนทั่วไป แม้แต่ตอนกลางคืนก็นอนไม่ได้เพราะต้องลุกมาเข้าห้องน้ำทั้งคืน สร้างความทุกข์ทรมานและความรำคาญให้กับผู้ที่เป็น
โดยปกติ คนเราจะมีกรผลิตน้ำปัสสาวะในแต่ละวันไม่เท่ากัน แต่โดยเฉลี่ยเราจะอ้างอิงตามน้ำหนักตัว ตัวอย่างเช่น ในผู้ใหญ่น้ำหนักตัว 50 กิโลกรัม จะมีการผลิตน้ำ
ปัสสาวะอย่างน้อย 0.5 - 1.0 มิลลิลิตรต่อกิโลกรัมต่อชั่วโมง (หากร่างกายอยู่ในสภาวะไม่ขาดน้ำ) จึงเท่ากับ 600 - 1:200 มิลลิลิตรต่วัน
โดยความจุของกระเพาะปัสสาวะปกติจะเท่ากับ 300 - 500 มิลลิลิตร แต่ในภาวะปกติ เราจะเริ่มรู้สึกปวดปัสสาวะครั้งแรกที่ประมาณ 150 - 200 มิลลิลิตร ดังนั้นในภาวะปกติคนเราจะมีจำนวนครั้งในการปัสสาวะมากที่สุดไม่เกิน 8 ครั้งต่อวัน ทั้งนี้อาจจะมีจำนวนครั้งน้อยกว่าหรือมากกว่านี้ได้ในบางวัน
แล้วฉี่บ่อย เกี่ยวอะไรกับเบาหวาน
ไตของเราสร้างน้ำปัสสาวะโดยการ กรองเลือดของไส้กรอง(glomerulus) น้ำที่ได้รับการกรองแล้วจะไหลไปตามหลอดไต(renal tubule) โดยระหว่างการไหลไปนั้นจะมีการแลกเปลี่ยนไอออนต่างๆ เลือกดูดกลับสารที่สำคัญจากน้ำกรองกลับสู่เลือด สุดท้ายจะได้น้ำปัสสาวะที่ร่างกายต้องขับออก
ในระหว่างที่น้ำที่กรองจากเลือดผ่านมาทางหลอดไตนั้น จะมีการดูดกลับน้ำตาลที่บริเวณ หลอดไตส่วนต้น (Proximal convoluted tubule) ทำให้ในปัสสาวะของคนปกติ จะไม่มีน้ำตาล แต่ในกรณีของผู้ป่วยเบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูงขึ้น หลอดไตส่วนต้นดูดกลับน้ำตาลไม่หมด ทำให้มีน้ำตาลปนมาในปัสสาวะได้
เมื่อปัสสาวะเดินทางมาถึงหลอดไตช่วงท้าย ด้วยน้ำตาลที่ดูดกลับไม่หมด ทำให้น้ำตาลพยายามแย่งดูดน้ำแข่งกับหลอดไตในช่วงท้าย ทำให้หลอดไตส่วนท้าย ไม่สามารถดูดกลับน้ำได้ตามปกติ เมื่อมีน้ำถูกดูดไว้มากขึ้น กระเพาะปัสสาวะได้รับน้ำในปริมาณมากขึ้น ทำให้ฉีดบ่อยขึ้นนั่นเอง
1
แผนภาพแสดงการทำงานของไต
แต่อย่างไรก็ตาม การฉี่บ่อยอาจไม่ได้เกิดจากเบาหวานเพียงอย่างเดียว มีหลายสาเหตุที่ทำให้เราฉี่บ่อย เช่น ดื่มน้ำมาก (โดยปกติเราควรดื่มน้ำที่ประมาณ 30 มิลลิลิตรต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน (30 ml/kg/day)) โรคประจำตัวที่ทำให้มีการขับน้ำปัสสาวะมากกว่าปกติ เช่น โรคเบาจืด โรคไต ตั้งครรภ์ ภาวะต่อมลูกหมากโต ฯลฯ ยารักษาโรคประจำตัว เช่น ยาขับปัสสาวะ และยารักษาโรคเบาหวานบางกลุ่ม เป็นต้น
ดังนั้น หากรู้สึกว่าฉี่บ่อยจนผิดสังเกตุ บวกกับมีปัจจัยเสี่ยงบางประการ เช่น มีโรคประจำตัว น้ำหนักเกิน หรืออื่นๆ ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้อง ไม่ควรรักษาด้วยตัวเอง หรือซื้อยา อาหารเสริม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอินเตอร์เน็ตมาทานเอง อาจทำให้ได้รับผลข้างเคียงจากผลิตภัณฑ์ดังกล่าว และทำให้โรคบางอย่างแย่ลง เนื่องจากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องอีกด้วย
อ้างอิง
โฆษณา