26 เม.ย. เวลา 15:21 • ข่าวรอบโลก

ยาไมเกรนตัวใหม่กำลังจะเข้าไทยเร็วๆนี้

ไมเกรนคือปัญหาที่กวนใจใครหลายคนมานาน แม้ว่าจะมียามากมายที่มีประสิทธิภาพในการรักษา แต่การที่ไมเกรนมีปัจจัยกระตุ้นที่หลากหลาย ทำให้การรักษาไมเกรนต้องอาศัยการรักษาหลายรูปแบบ ทั้งการใช้ยาและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
โรคปวดศีรษะไมเกรน (Migraine) เป็นโรคหรือภาวะเกิดจาก cortical spreading depression (CSD) เกิดการส่งกระแสประสาทช้าๆ บริเวณ occipital lobe ของสมอง โดยสัญญาณจะเดินทางไปที่ migraine center แล้วส่งสัญญาณผ่าน trigeminal nerve (CN V) ทำให้เกิด การขยายตัวที่ผิดปกติของหลอดเลือดภายนอกกะโหลก โดย geminal neuron กระตุ้นให้มีการหลั่ง neuro peptide ได้แก่ CGRP, Substance P, Neurokinin A มากเกินไป ส่งผลให้หลอดเลือดขยายตัวผิดปกติ และนำไปสู่การปวดหัวไมเกรน
นอกจากนี้ การหลั่ง serotonin (5-HT) โดยเฉพาะ 5-HT1B, 5-HT1D ที่ลดลง ส่งผลให้หลอดเลือดขยายตัวผิดปกติ และนำไปสู่การปวดหัวไมเกรนได้อีกด้วย
ที่ผ่านมา การรักษาภาวะไมเกรนอาศัยการใช้ยาร่วมกับการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่กระตุ้นอาการปวด ยาในระยะแรกอาจใช้ paracetamol หากไม่ได้ผลอาจเปลี่ยนไปใช้ยาในกลุ่ม Non-steroidal Anti-inflammatory drugs หรือ NSAIDs เช่น Ibuprofen ยาในกลุ่ม Selective Serotonin Receptor Agonists เช่น sumatriptan
และยาในกลุ่ม ergot derivative อย่าง ergotamine ซึ่งถึงแม้จะมีประสิทธิภาพในการรักษาไมเกรน แต่ก็มีข้อจำกัดหลายประการ ทั้งผลข้างเคียงต่อทางเดินอาหาร ไต รวมถึงอันตรกิริยากับยาต่างๆ
ส่วนยาที่มีข้อบ่งใช้ในการป้องกันการกำเริบของไมเกรน ก็ยังมีหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ไม่ชัดเจน อีกทั้งยาบางตัวอย่าง Flunarizine ซึ่งอยู่ในกลุ่ม selective calcium entry blocker ก็มีหลักฐานยืนยันว่าการใช้ในระยะยาวเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะ Extrapyramidal symptoms (EPS) ซึ่งเป็นผลข้างเคียงที่อันตรายและกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยในระยะยาว
แต่เมื่อไม่นานมานี้ มีข่าวของยาที่เตรียมจะนำเข้าสู่ตลาดยาในไทย โดยยาดังกล่าวมีชื่อว่า Rimegepant ซึ่งเป็นยาในกลุ่มใหม่ calcitonin gene-related peptide (CGRP) receptor antagonist ได้รับการขึ้นทะเบียนในสหรัฐอเมริกา โดยมี
ข้อบ่งใช้ในการป้องกันและรักษาภาวะไมเกรน ครบจบในเม็ดเดียว
1
แต่เดิมนั้นยาในกลุ่มนี้ที่เป็น first-generation gepants มีปัญหาด้านเภสัชจลนศาสตร์และด้านความเป็นพิษจึงไม่มียาใดออกวางจำหน่าย แต่ยา Rimegepant
ได้รับการพัฒนาให้ลดข้อจำกัดดังกล่าวและนำออกสู่ตลาดวงกว้างได้
นอกจาก Rimegepant แล้ว ยังมียาอีกตัวที่เพิ่งได้รับอนุมัติให้วางจำหน่ายแล้วในบางประเทศเพื่อใช้ป้องกันโรคไมเกรนในผู้ใหญ่ นั่นคือ atogepant โดยการศึกษา
atogepant ทุกขนาดให้ผลดีกว่ายาหลอก (ยาทุกขนาดให้ค่า p<0.001) ส่วนอาการไม่พึงประสงค์ที่พบบ่อย (≥4% และมากกว่ายาหลอก) ได้แก่ คลื่นไส้ ท้องผูก และอ่อนล้า แต่อย่างไรก็ตาม atogepant ยังมีข้อจำกัดเนื่องจากมีฤทธิ์เป็น CYP3A4 inhibitor ที่ค่อนข้างแรง จึงอาจเกิดอันตรกิริยากับยาได้หลายตัว
2
แต่อย่างไรก็ตาม การมียาทางเลือกใหม่ๆเข้ามา ก็ช่วยให้ผู้ป่วยที่มีข้อจำกัดบางประการสามารถมีทางเลือกในการรักษาภาวะไมเกรนเพิ่มขึ้น แต่ก็ยังจำเป็นต้องเฝ้าระวังและติดตามอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นในยาใหม่ต่อไป ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้ที่เกี่ยวข้องกับงาน HPVC และ pharmacovigilance ต่างๆ เป็นต้น
อ้างอิง
โฆษณา