9 พ.ค. เวลา 03:42 • ประวัติศาสตร์

การหย่าร้างที่แพงที่สุดในประวัติศาสตร์โลก

วันที่ 21 มีนาคม ค.ศ.1152 (พ.ศ.1695) คือวันที่เกิดเหตุการณ์การหย่าร้างที่เรียกได้ว่าแพงที่สุดในประวัติศาสตร์
“พระนางเอเลนอร์แห่งอากีเตน (Eleanor of Aquitaine)“ พระราชินีแห่งฝรั่งเศสได้ทรงหย่าร้างกับ “พระเจ้าหลุยส์ที่ 7 แห่งฝรั่งเศส (Louis VII of France)” หลังจากที่ได้ครองคู่กันมากว่า 15 ปี
พระเจ้าหลุยส์ที่ 7 ทรงต้องการพระราชโอรส แต่พระนางเอเลนอร์กลับถวายเพียงพระราชธิดาสององค์แก่พระองค์ ไม่มีพระราชโอรส และตามกฎหมายนั้น สตรีไม่สามารถสืบทอดราชบัลลังก์ได้ ทำให้พระเจ้าหลุยส์ที่ 7 ทรงต้องการพระราชโอรสเป็นอย่างมาก
พระนางเอเลนอร์แห่งอากีเตน (Eleanor of Aquitaine)
เรื่องนี้ทำให้พระเจ้าหลุยส์ที่ 7 ทรงยินยอมที่จะปล่อยพระนางเอเลนอร์เป็นอิสระ หย่าร้าง หากแต่การปล่อยพระนางเอเลนอร์ไปก็เท่ากับการปล่อยผลประโยชน์ขนาดมหึมาให้หลุดลอยไป
พระนางเอเลนอร์เป็นธิดาของ “วิลเลียมที่ 10 ดยุกแห่งอากีเตน (William X, Duke of Aquitaine)” ผู้ซึ่งครอบครองดินแดนที่กว้างใหญ่ที่สุดในฝรั่งเศส เรียกได้ว่าแม้แต่องค์กษัตริย์ยังเทียบไม่ได้ และเมื่อวิลเลียมที่ 10 เสียชีวิตในปีค.ศ.1137 (พ.ศ.1680) ความมั่งคั่งทั้งหมดในอากีเตนก็ตกเป็นของพระนางเอเลนอร์
ในเวลานั้น พระนางเอเลนอร์มีพระชนมายุประมาณ 15 พรรษา และเมื่อวิลเลียมที่ 10 เสียชีวิต “พระเจ้าหลุยส์ที่ 6 แห่งฝรั่งเศส (Louis VI of France)” ก็ทรงเข้ามาให้การคุ้มครองพระนางเอเลนอร์ทันที
พระเจ้าหลุยส์ที่ 6 แห่งฝรั่งเศส (Louis VI of France)
พระเจ้าหลุยส์ที่ 6 ทรงส่งทหาร 500 นายไปกระจายข่าว และรับสั่งให้นำพระนางเอเลนอร์มายังพระราชวัง และจับคู่พระนางเอเลนอร์กับพระราชโอรสอย่าง “เจ้าชายหลุยส์” หรือก็คือ “พระเจ้าหลุยส์ที่ 7 แห่งฝรั่งเศส (Louis VII of France)” ในเวลาต่อมานั่นเอง
“พระเจ้าหลุยส์ที่ 7 แห่งฝรั่งเศส (Louis VII of France)” เสด็จพระราชสมภพในปีค.ศ.1120 (พ.ศ.1663) และก็ไม่เคยคิดว่าจะได้ครองบัลลังก์เลยเนื่องจากไม่ใช่พระราชโอรสองค์โต แต่เมื่อพระเชษฐาสวรรคต พระองค์จึงกลายเป็นองค์รัชทายาทในปีค.ศ.1137 (พ.ศ.1680)
1
หากแต่อาจจะเพราะทรงคลุกคลีอยู่กับเหล่านักบวชมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ พระเจ้าหลุยส์ที่ 7 จึงไม่ได้มีอารมณ์พิศวาสพระนางเอเลนอร์เท่าใดนัก นานๆ จึงจะเสด็จไปหาที่ห้องบรรทม โดยพระนางเอเลนอร์เคยมีรับสั่งว่า
2
“ข้านึกว่าข้าแต่งงานกับกษัตริย์ ที่ไหนได้ ข้าแต่งงานกับพระ”
4
พระเจ้าหลุยส์ที่ 7 แห่งฝรั่งเศส (Louis VII of France)
พระเจ้าหลุยส์ที่ 7 ก็ทรงคิดว่าการที่พระนางเอเลนอร์ไม่สามารถมีพระราชโอรสถวายพระองค์ ก็เป็นสัญญาณจากพระเจ้าว่าการอภิเษกสมรสนี้ไม่ถูกต้อง เนื่องจากหากย้อนสายพระโลหิต ทั้งสองพระองค์ก็ถือเป็นพระญาติที่ไม่ได้ห่างกันมาก
ดังนั้นการหย่าร้างน่าจะเป็นคำตอบที่ดีที่สุด ดังนั้นในวันที่ 21 มีนาคม ค.ศ.1152 (พ.ศ.1695) ศาลจึงประกาศให้พระเจ้าหลุยส์ที่ 7 และพระนางเอเลอนอร์หย่าร้างกัน และพระนางเอเลนอร์ก็กลับไปครอบครองความมั่งคั่งในอากีเตนเช่นเดิม
หลังจากการหย่าร้างนี้ พระองค์ก็ได้อภิเษกสมรสใหม่ และหนึ่งในพระราชโอรสของพระองค์ก็คือ “พระเจ้าริชาร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษ (Richard I of England)” หรือที่หลายคนรู้จักในนาม “ริชาร์ดใจสิงห์ (Richard the Lionheart)” ผู้ซึ่งมีบทบาทสำคัญในสงครามครูเสด (Crusades)”
2
พระเจ้าริชาร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษ (Richard I of England)
ในปีค.ศ.1202 (พ.ศ.1745) พระนางเอเลนอร์ทรงบวชเป็นชี ก่อนจะสวรรคตในอีกสองปีต่อมา โดยบันทึกนั้นไม่ชัดเจน แต่ว่ากันว่าพระองค์ทรงมีพระชนมายุถึง 82 พรรษา ซึ่งถือว่าอายุยืนมากในยุคนั้นเลยทีเดียว
สำหรับสาเหตุที่บอกว่าการหย่าร้างระหว่างพระนางเอเลนอร์และพระเจ้าหลุยส์ที่ 7 คือการหย่าร้างที่แพงที่สุดในประวัติศาสตร์ ก็เนื่องจากเมื่อหย่าแล้ว สิทธิครอบครองความมั่งคั่งต่างๆ ในแคว้นอากีเตนที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 7 จะทรงได้ ก็ต้องหลุดลอยไป กลับคืนสู่พระนางเอเลนอร์
3
และความมั่งคั่งเหล่านั้น หากตีเป็นเงิน ก็คงมากมายเหลือคณานับ แคว้นอากีเตนที่กว้างใหญ่ไพศาล คงไม่สามารถประเมินค่าได้เลยทีเดียว
โฆษณา