10 พ.ค. 2024 เวลา 14:37 • ประวัติศาสตร์

เมือง”พระนคร” สู่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา

บทความต่อไปนี้ จะเป็นซี่รีย์ที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทย ที่ผมสนใจจะศึกษาและนำมาเขียนบทความ (ที่ไม่เขียนมานานแล้ว) เนื่องด้วยตัวผมเองค่อนข้างที่ด้อยประสบการณ์ในการศึกษาประวัติศาสตร์ ในแถบอิน-โดจีน ซึ่งเป็นที่ตั้งของประเทศตัวเอง โดยผมนั้นแทบไม่รู้อะไรเกี่ยวกับมันเลย
ผมจึงตั้งมั่นว่าจะศึกษาประวัติศาสตร์ในแถบนี้ตั้งแต่ก่อนสุโขทัยจนไปถึงช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ โดยปมจะยึดประวัติศาสตร์จากแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและใกล้เคียงมาเป็นเครื่องมือในการศึกษา เสมือนเป็นหมุดหมายนำทาง เพื่อที่จะให้ตัวผมนั้นเข้าใจประวัติศาสตร์ประเทศไทยอันซับซ้อน ( สำหรับผม ) มากขึ้นจนบรรลุได้(ขนานนั้นเชียว??)
โดยในบทความนี้ผมจะเริ่มจากช่วงก่อนสมัยสุโขทัย และว่าด้วยเรื่องของ อิทธิพลจาก”เมืองพระนคร” ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 15-19 ที่มีต่อเมืองต่างๆในแถวที่ราบรุ่มเจ้าพระยา อันเป็นจุดกำเนิดที่จะนำพาไปสู่ยุคสุโขทัยในอนาคต
หากทุกท่านพร้อมที่จะศึกษาประวัติศาสตร์ ที่ผมผู้ด้อยประสบการณ์ เป็นคนรวบรวมและสรุปมาให้แล้วละก็ ถ้าเกิดข้อมูลผิดพลาดประการใด สามารถบอกหรือติชมได้เต็มที่เลยนะครับ!
เมืองพระนคร หรือ “เมืองศรียโศธรปุระ” ในสมัย
“พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2” แห่งอณาจักรเขมรโบราณ เป็นหนึ่งในเมืองที่สร้างอิทธิพลทางวัฒนธรรมและสถานปัฒ-ยกรรม ต่อเมืองอื่นๆใน ในภูมิภาค “อินโด-จีน”
โดยเฉพาะในที่ราบสูง อีสาน และ ที่ราบลุ่มน้ำแม่น้ำเจ้าพระยา แพร่ขยายความเชื่อทางด้านศาสนาพราหมณ์-ฮินดู “ไศวนิกาย” แก่เมืองต่างๆ พร้อมแบบแปลนเมืองตามแบบเมืองพระนคร
ภาพถ่ายประติมากรรมนู่นต่ำของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 โดยคุณ Michael Gunther
อิทธิพลเหล่านี้เกิดขึ้นในช่วง พุทธศตวรรษที่ 15 จนไปถึงช่วง”หลังสมัยพระนคร” มีตำแหน่งที้ตั้งในปัจจุบันอยู่ที่ จังหวัด เสียมราฐ เหนือโตเลสาบ ประเทศกัมพูชา
ลักษณะของเมืองพระนครนั้นมีรูปแผนผังเป็นสี่เหลี่ยมจัสตุรัสมีกำแพงรอบล้อม มีบารายหรืออ่างเก็บน้ำอยู่ 2 ข้างเมืองในทิศตะวันออก กับทิศตะวันตก และที่สำคัญคือมีศาสนสถานอยู่ที่ใจกลางเมือง
ซึ่งแต่งต่างจากจากเมืองอื่นๆในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาก่อนสมัยพระนคร ที่จะตั้งศาสนสถานหรือวัดไว้นอกกำแพงเมือง
แบบผังแสดงถึงลักษณะของตัวเมืองพระนคร
และเมื่อเมื่อเรากล่าวถึงศาสนสถานในสมัยของ
”พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2” หรือเมืองพระนคร สิ่งนึงที่จะมาควบคู่กันก็คือ “นครวัด”
“นครวัด” ถูกสร้างขึ้นในระหว่าง พ.ศ.1656-1693 อันเป็นศาสนสถานที่เป็นช่วงคาบเกี่ยวระหว่างความเชื่อแบบ พราหมณ์-ฮินดู กับ”พุทธนิกายมหายาน” เปลี่ยนไปเป็น “พุทธนิกายเถรวาท” ในพุทธศตวรรษที่ 19
“นครวัด” มีต้นแบบจาก”ปราสาทพิมาย”มีแบบแปลนที่เหมือนกับตัวเมืองพระนคร คือมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีศาสนสถานอยู่ใจกลาง ล้อมรอบตัวนครวัดนั้นคือ คูน้ำที่ล้อมไว้เสมือนเป็นมหาสมุทรล้อมรอบ”เขาพระสุเมรุ”
และมีพระปรางค์ 5 ยอด พระปรางค์ขนานใหญ่สุดวางอยู่บนตัวปราสาทตรงกลาง และพระปรางค์ที่เหลือวางอยู่แต่ละมุม เป็นความหมายว่า เขาพระสุเมรุ ที่ถูกล้อมรอบด้วยทวีปทั้ง 4 ในไตรภูมิพระร่วง
ภาพถ่ายศาสนสถาน”นครวัด”โดยคุณ sharonang และแบบผังของตัว”นครวัด” โดยคุณ Baldiri
ด้วยลักษณะที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น มีอิทธิพลต่อเมืองที่อยู่นอกเมืองพระนคร แถบจะทั้งสิ้น โดยเฉพาะกับศาสนสถานอย่าง”นครวัด”ที่แพร่อิทธิพล ด้านสถาปัตยกรรมและความเชื่อไปทั่วลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา
มีหลายเมืองที่สร้างปราสาทตามแบบ”นครวัด” พบปรากฏอยู่ทั่วไป นอกจากตัวของนครวัดแล้ว “พระนคร”เองก็ถือว่ามีอิทธิพลในด้านการว่างแบบแปลนเมือง ด้วยรูปร่างของเมืองและระบบชลประทานที่ค่อนข้างที่จะดีกว่าหลายๆเมืองในช่วงเวลาพุทธศตวรรษที่ 15 ถึงพุทธศตวรรษที่ 19
และความเชื่อในศาสนาของอาณาจักรเขมรโบราณ ส่วนใหญ่ในเวลานั้น ก่อนจบสมัย”พระเจ้าชัยวรมันที่ 7” เป็นความเชื่อแบบ พราหมณ์-ฮินดู ผสมกับ “พุทธนิกายมหายาน “
ทำให้การแพร่อิทธิพลของ”นครวัด”และแบบแปลนเมืองตามแบบพระนคร ไปควบคู่กับความเชื่อของพวกเขาที่อยู่รวมกันมานานนับร้อยปีตั้งแต่การเข้ามามีบทบาทของอารยธรรมอินเดียในอดีต
ภาพถ่ายประติมากรรมรูปปั้น ”พระเจ้าชัยวรมันที่ 7” โดยคุณ Suzan Black
การแพร่วัฒนธรรมจาก”เมืองพระนคร” เกิดขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ 15 ถึง พุทธศตวรรษที่ 19 โดยในการแพร่อิทธิพลเหล่านี้มาจากได้หลากหลายปัจจัย
  • ปัจจัยที่ 1 คืออำนาจของตัวอาณาจักรเขมรโบราณ
ที่มีต่อเมืองในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา มีการส่งรูปเคารพ “พระอวโลกิเตศวร” ไปยังเมืองต่างๆอันอันแสดงว่าอำนาจจากเมืองพระนครหรือเขมรโบราณนั้น มีอยู่เหนือเมืองต่างๆ
หรือไม่ก็อาจจะเป็นการสานสัมพันธ์ระหว่างเมืองต่างๆกับพระนคร เพราะไม่มีหลักฐานที่บงชี้ว่าเมืองพระนครมีอำนาจเหนือเมืองต่างๆทางด้านการทหาร หรือ มีการส่งทรัพยากรบรรณาการต่างๆไปที่ที่ศูนย์กลาง
ประติมากรรมครึ่งบนพระโพธิ์สัตว์ อวโลกิเตศวร โดยคุณ Chainwit.
  • ปัจจัยที่ 2 การอพยพของชาวเมืองในพระนครและการล่มสล่ายของบางเมืองในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา
การอพยพของชาวพระนคร ทำให้ความรู้และความสามารถในด้านสถาปัตยกรรมของเขมรโบราณนั้นออกมาด้วย
มีการสร้างศาสนสถานตามแบบ”นครวัด”ที่ผสมผสานกับความเชื่อเดิมอยู่ตามทั่วหัวเมืองใหญ่ แบบแปลนการเมืองก็ถูกนำไปประยุกต์ใช้ต่างๆให้เขากับตัวเมือง
และการล่มสลายของบางเมืองทำให้มีการสร้างเมืองใหม่เกิดขึ้น โดยใช้แบบแปลนตามเมืองพระนคร หรือไม่ก็นำไปผสมกับการสร้างเมืองแบบทวารวดีที่มีอยู่ก่อนหน้า กลายเป็นรูปแบบเมืองที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวไม่แพ้กับตัวเมืองพระนคร
  • ปัจจัยสุดท้าย การลอกเลียนแบบของเจ้าเมืองนอกพระนคร
ปฏิเสธไม่ได้ว่า ทั้ง”เมืองพระนคร”กับ”นครวัด”นั้นเป็นที่เลื่องลือในความยิ่งใหญ่กับสวยงามของเมืองและความเชื่อด้านศาสนา
ทำให้มีเจ้าเมืองไม่น้อยที่ลอกเลียนศาสนสถานอย่าง”นครวัด”เพื่อที่จะแสวงหาผลประโยชน์และความชอบทำให้กับตัวเองในการปกครองเมือง
หรืออีกนัยนึงก็เพื่อสานสัมพันธไมตรีระหว่างเมืองตนกับเมืองพระนคร
  • บทสรุป
เมืองพระนครและ”นครวัด”มีอิทธิพลต่อเมืองในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นในด้านสถาปัตยกรรม ระบบชลประทาน หรือความเชื่อด้านศาสนา
การแพร่อิทธิพลเหล่านี้ล้วนเกิดเพราะ ส่วนหนึ่งอำนาจเดิมของเมืองพระนครหรือ”ตัวอาณาจักรเขมรโบราณ” ส่วนหนึ่งมาจากการอพยพและการล่มสลายของบางเมือง และอีกส่วนนึงก็มาจากการลอกเลียนแบบของเจ้าเมืองนอกพระนคร…
3
Reference
 
- หนังสือ : ประวัติศาสตร์ อยุธยา ห้าศตวรรษสู่โลกใหม่ เขียนโดย คริส เบเคอร์,ผาสุกพงษ์ไพจิตร
- ห้องสมุดดิจิตอล ศ.ม.จ.สุภัทรดิส ดิศกุล : 600 ปี แห่งประวัติเมืองพระนครของขอมเขียนโดย โคลด,ชาค แปลโดย สุภัทรดิศ ดิศกุล, ม.จ.
- เว็บไซต์ Wikipedia หัวข้อการค้นหา : นครวัด
โฆษณา