Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
PPTV Wealth
•
ติดตาม
19 พ.ค. 2024 เวลา 07:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
เจาะการตลาดแบบ MUJI ประกาศดลดราคาครั้งที่ 3 ในรอบ 5 ปี กว่าร้อยรายการ
เจาะการตลาดแบบ MUJI เดินหน้ากลยุทธ์หั่นราคาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2562 ดึงคนซื้อซ้ำ ซึ่งนับเป็นกลยุทธ์ด้านจิตวิทยาอย่างหนึ่งที่เห็นผลเร็วประเทศไทย
มูจิ (MUJI) ประกาศลดราคาสินค้าอีกครั้ง นับเป็นครั้งที่ 3 ตั้งแต่ปี 2562 ซึ่งเป็นการปรับให้เข้ากับกลยุทธ์การเปิดสาขาไปต่างจังหวัด ให้สินค้าราคาดีขึ้น ซึ่งต้องยอมรับว่าในช่วงแรกๆ ที่แบรนด์สัญชาติญี่ปุ่นที่มีเอกลักษณ์ของสินค้าชัดเจน ความมินิมอล ฟังก์ชันที่ดูใช้ง่าย ดีไซน์แบบน้อยแต่มาก ในเกือบทุกหมวดสินค้า แต่ก็เป็นสินค้าที่จับต้องยากมากในเชิงของราคาเพราะสินค้ามีคุณภาพมาพร้อมราคาที่สูง แต่ต่อมามูจิใช้กลยุทธ์ "ปรับลดราคาในทุกหมวดสินค้า" อย่างต่อเนื่อง
นายอกิฮิโร่ คาโมการิ กรรมการผู้จัดการ บริษัท มูจิ รีเทล (ประเทศไทย) จำกัด
แน่นอนว่ากลยุทธ์นี้ทำให้มีฐานลูกค้าในประเทศไทย ที่ซื้อสินค้ามูจิซ้ำเป็นประจำ และเพิ่มฐานลูกค้ากลุ่มใหม่ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ให้จับต้องได้ เข้าถึงง่ายคนทั่วไปซื้อได้ง่ายขึ้น ทำให้ยอดขายมีการเติบโตสูงขึ้นเป็นอย่างมาก
นายอกิฮิโร่ คาโมการิ กรรมการผู้จัดการ บริษัท มูจิ รีเทล (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า สาเหตุที่นำกลยุทธ์ทางด้านราคามาใช้ก็เพื่อเป็นประตูบานแรกให้คนไทยเปิดรับและมีโอกาสได้สัมผัสประสบการณ์ในการใช้สินค้าคุณภาพ และบริการที่หลากหลาย ในราคาที่คุ้มค่า ตามแบบฉบับของ มูจิได้อย่างง่ายดาย และสะดวกสบายมากขึ้น
มูจิ เริ่มดำเนินกลยุทธ์ด้านราคามาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2562 ในกลุ่มสินค้าที่ใช้งานในชีวิตประจำวันจากสินค้าทั้งหมด 5,000 รายการ โดยสินค้าสำหรับชีวิตประจำวันที่มีราคาต่ำกว่า 300 บาท มีกว่า 2,500 รายการ หรือคิดเป็นสัดส่วน 50% ของสินค้าทั้งหมด
ล่าสุดกลยุทธ์ถูกนำมาใช้อีกครั้งในกลุ่มสินค้าที่ใช้งานได้จริงในชีวิตประจำวันเพิ่มเติมกว่า 126 รายการในราคาที่ปรับลดลงเฉลี่ยกว่า 20% โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 10 พฤษภาคมเป็นต้นไป ในราคาเริ่มต้นเพียง 29 บาท เช่น
1.
กลุ่มรองเท้าและกระเป๋า (รุ่นยอดนิยม) ประกอบไปด้วย รองเท้าผ้าใบ, กระเป๋าเป้สะพายหลัง, กระเป๋าเดินทาง
2.
กลุ่มของใช้ในบ้านและเฟอร์นิเจอร์ ประกอบไปด้วย ผ้าปูโต๊ะ, อุปกรณ์ตากผ้า, โซฟาบีนแบค, หมอนโพลีเอสเตอร์, ผ้านวม, เบาะรองนั่ง, เฟอร์นิเจอร์ที่ตั้งถาด, ชั้นไม้สำหรับวางหนังสือ, ชั้นไม้สำหรับวางรองเท้า, อุปกรณ์เครื่องครัวไม้ยางพารา
3.
กลุ่มผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงาม ประกอบไปด้วย ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้า
4.
กลุ่มอาหารสำเร็จรูป (MUJI Food) ประกอบไปด้วย น้ำโซดา (Sparkling Water) และ Curry (แกงกะหรี่สำเร็จรูป)
นางสาวอริญา พันธุมโกมล ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท มูจิ รีเทล ประเทศไทย จำกัด
นางสาวอริญา พันธุมโกมล ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท มูจิ รีเทล ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า ตลอดระยะเวลากว่า 3 ปีที่ผ่านมา MUJI ได้ทำการสื่อสารการตลาดเพื่อสร้างการรับรู้เกี่ยวกับแบรนด์ไปยังกลุ่มเป้าหมายใหม่ๆ ในวงกว้างมากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่มลูกค้าต่างจังหวัด เพื่อให้ลูกค้ารับรู้และเข้าใจความมุ่งมั่นของแบรนด์ในการเป็นแบรนด์สินค้าในชีวิตประจำวันในราคาที่เข้าถึงได้ แต่ยังคงไว้ซึ่งคุณภาพและมาตรฐานของสินค้าในแบบญี่ปุ่น
โดยเน้นกลยุทธ์การสื่อสาร Localize ให้เหมาะสมกับการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในแต่ละพื้นที่ เช่น สื่อป้ายโฆษณานอกบ้านทั้งในรูปแบบของป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ และป้ายโฆษณาในรูปแบบดิจิทัลในจุดที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในแต่ละจังหวัดได้เป็นจำนวนมาก หรือโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านรายการวิทยุท้องถิ่น หรือรถกระจายเสียง รวมถึงการใช้อินฟลูเอนเซอร์ที่เป็นที่รู้จักและมีอิทธิพลต่อการสร้างการรับรู้และการตัดสินใจซื้อของคนในแต่ละพื้นที่ ทำให้ทราฟฟิกการเข้าใช้บริการที่มากขึ้นกว่า 20% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว
มูจิ ประเทศไทย (MUJI) ลดราคาสินค้าครั้งที่ 3 กว่า 126 รายการ
ราคา เป็นกลยุทธ์ด้านจิตวิทยาอย่างหนึ่งที่เห็นผลเร็วในประเทศไทย
ข้อมูลจากธนาคารกรุงเทพ ระบุว่า จากกรณีศึกษาดังกล่าวพบว่า เทรนด์ตลาดสินค้าอุปโภค-บริโภคในปัจจุบัน ราคา เป็นกลยุทธ์ด้านจิตวิทยาอย่างหนึ่งที่เห็นผลเร็วในประเทศไทย ซึ่งจากสถิติระบุว่า ลูกค้าส่วนมากชอบโปรโมชั่นลดราคากว่า 50% ของสินค้าประเภทเดียวกัน ซึ่งเปรียบเทียบกับสินค้าประเภทเดียวกันที่ลดราคาจากป้ายน้อยกว่า ทั้งๆ ที่ตอนลดแล้วราคาจะเท่ากันหรือแตกต่างกันไม่มากก็ตาม แต่กลยุทธ์นี้นำมาซึ่งยอดขายที่เพิ่มขึ้น
ซึ่งสำหรับร้านค้าปลีกที่ต้องการจะใช้กลยุทธ์ลดราคาเพื่อสร้างยอดขายที่เพิ่มขึ้น เพราะในทางกลับกันหากเป็นสินค้าที่อยู่ในกลุ่มราคาสูง ผู้บริโภคอาจมองว่าเป็นการลดคุณค่าของแบรนด์หรือไม่ ซึ่งผลพวงจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัวทำให้ ‘สงครามราคา’ เป็นสิ่งที่ถูกนำมาใช้ต่อสู้แย่งพื้นที่ส่วนแบ่งตลาดกันมาตลอดในการทำธุรกิจ และทวีความรุนแรงขึ้นในปัจจุบัน มีการห้ำหั่นกันอย่างดุเดือดท่ามกลางคู่แข่งทุกระดับ
ดังนั้นหากร้านค้าปลีกรายอื่นๆ อยากทำบ้าง อาจต้องมีประเด็นที่ควรพิจารณา ซึ่งการลดราคาตามหลักเศรษฐศาสตร์จะทำให้สินค้าถูกกดราคาจนอาจจะไม่มีใครมีกำไรเหลือ และบริษัทที่ไม่สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายหรือบริหารเงินได้ก็จะต้องเป็นฝ่ายปิดตัวไป หากแต่ผู้บริโภคจะได้กำไรจากการตัดราคาไปแบบเต็มๆ
ด้วยเหตุนี้ ก่อนจะปรับลดราคาผู้ประกอบการอาจต้องรู้ตัวเองให้ด้วยว่า มีจุดแข็งจุดอ่อนอย่างไร เช่น
1. การพิจารณาจุดคุ้มทุนในสินค้าตัวเอง หากพิจารณาแล้วเห็นว่ายังมีจุดคุ้มทุนอยู่ก็สามารถทำได้อย่างระมัดระวัง แต่หากมีต้นทุนที่สูงอยู่แล้ว ควรปรับเปลี่ยนเป็นกลยุทธ์อื่นแทน
2. การประเมินมูลค่าของสินค้าว่าอยู่ในระดับไหนในสายตาของผู้บริโภค เพราะลูกค้าที่ใช้สินค้าของเราอาจเกิดข้อกังขาไปจนถึงหมดความเชื่อมั่นในคุณภาพของสินค้าได้ หากหั่นราคาลงมามากเกินไป
3. ปรับกลยุทธ์เปลี่ยนจากการขายรายชิ้นเป็นเซ็ท หรือจัดโปรฯ ร่วมสินค้าหลายๆ ประเภทเพื่อกระจายต้นทุนของสินค้า แถมยังสามารถปกปิดราคาขายที่แท้จริง สามารถใช้รับมือได้ในกรณีที่มีต้นทุนสูงกว่าคู่แข่งจนไม่สามารถลงมาสู้ในสนามสงครามราคาได้
4. มองหาตลาดใหม่หรือกลุ่มลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ เพิ่มขึ้น เพื่อเพิ่มโอกาสในการขายสินค้าให้มากขึ้น ซึ่งอาจทำได้โดยการใช้กลยุทธ์การตลาดรูปแบบใหม่ๆ เช่นการตลาดออนไลน์เพื่อกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ
สำหรับ ธุรกิจแฟรนไชส์ค้าปลีกแบรนด์ญี่ปุ่น MUJI ดำเนินธุรกิจในประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 ต่อมา พ.ศ. 2556 ตั้ง บริษัท มูจิ รีเทล (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นการร่วมทุนกับ บริษัท สรรพสินค้าเซ็นทรัล จำกัด
ที่มา : ธนาคารกรุงเทพ
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมที่เว็บไซต์
https://www.pptvhd36.com
และช่องทาง Social Media
Facebook PPTV Wealth :
https://www.facebook.com/PPTVWealth/
Facebook :
https://www.facebook.com/PPTVHD36
Facebook Video :
https://www.facebook.com/PPTVHD36/videos
Twitter :
https://twitter.com/PPTVHD36
Instagram :
https://www.instagram.com/pptvhd36/
LINE VOOM :
https://pptv36.tv/174l
TikTok :
https://www.tiktok.com/@pptv.thailand
การตลาด
muji
เศรษฐกิจ
1 บันทึก
2
1
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย