Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
History With Me
•
ติดตาม
18 พ.ค. 2024 เวลา 14:43 • ประวัติศาสตร์
สุโขทัย เมืองและอาณาจักรแห่งพุทธ
ในอดีต ตอนเหนือและที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา มีการเข้ามาของชนไท(ราวปี) ผสมกับผู้คนและวัฒนธรรม มอญ-เขมร เดิม จนเกิด เป็นละว้า
ชนไทเหล่านี้ได้นำวิทยาการ”การปลูกข้าว”เข้ามาด้วย ทำให้การทำเกษตรที่มีอยู่แล้วในภูมิภาคนั้นดียิ่งขึ้นไปอีก
ในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 18 เมืองสุโขทัยก็ได้กำเนิดขึ้น โดยในช่วงแรกได้อยู่ในภายใต้อำนาจของ”ชาวมอญ”ก่อนที่จะตกไปอยู่ในอำนาจของพวก”ขอบสบาดโขลญลำพง”หรือนายพล”เขมรโบราณ”
“พ่อขุนผาเมือง”โอรสของผู้ปกครองสุโขทัยคนก่อ และพระสหายของพระองค์ “พ่อขุนกลางบางหาว” ได้ร่วมมือกันยึดอำนาจคืนจากอาณาจักรเขมรโบราณ และไม่ขึ้นตรงต่อเขมรอีก
ภายหลังการยึดอำนาจ ผู้ที่ความชอบธรรมในการขึ้นปกครองสุโขทัยอย่างพ่อขุนผาเมือง กลับปฏิเสธการขึ้นอำนาจและให้พระสหายของพระองค์ขึ้นแทน พร้อมกับโอนพระยศให้พ่อขุนกลางบางหาว และหลังจากนั้นพ่อขุนกลางบางหาวก็ได้ เปลี่ยนพระนามกลายเป็น”พ่อขุนศรีอินทราทิตย์”
รูปถ่ายอนุสาวรีย์”พ่อขุนศรีอนทราทิตย์” และรูปถรายอนุสาวรีย์”พ่อขุนผาเมือง” โดยคุณ tongsuk2536
เมืองสุโขทัยนั้นมีแบบผังเมืองที่มีความคล้ายกับ”ผังเมืองที่พระนคร” คือแบบเมืองเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีคูน้ำอยู่ล้อมรอบ มีศาสนสถานอยู่ใจกลางเมือง และมีสระบารายอยู่นอกกำแพง
เหตุผลที่น่าจะทำให้ตัวเมืองสุโขทัยมีความคล้ายคลึงกับเมืองพระนคร อาจจะมีสาเหตุมาจากการเคลื่อนย้ายของชาวพระนครออกเมืองไปยังที่ต่างๆโดยเฉพาะลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ราบสูงอีสานและ”หัวเมืองเหนือ”
แผนภาพจำลองเมืองสุโขทัย โดย กรมศิลปากร และแผนภาพจำลองเมือง”พระนคร”
ทำให้ชาวพระนครนำวิทยาการต่างๆนำมาปรับใช้กับเมือง ทำให้เกิดเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ผสมระหว่างแบบพระนครกับแบบท้องถิ่น
ต้นพุทธศตวรรษที่ 19 มีพระสงฆ์จาก”นครศรีธรรมราช” เดินทางจากใต้ขึ้นเหนือมายังสุโขทัย และได้นำพุทธศาสนาแบบ”ลังกา” อันเป็นผลจากการค้าจากศรีลังกากับเมืองพุทธเมืองอื่นๆ
เมื่อเวลาผ่านเรื่อยๆพุทธศาสนาแบบ ”ลังกา” มีผลต่อวัฒนธรรมและการปกครองของเมืองสุโขทัยเป็นอย่างมาก มากซะจนสามารถเปลี่ยนแปลงการปกครองของกษัตริย์สุโขทัยจากแบบยอดนักรบ”พ่อปกครองลูก”กลายเป็นกษัตริย์ผู้ดำรงในศิลแบบ”ธรรมราชา”
ความรุ่งเรืองนี้ ทำให้พุทธศาสนามีบทบาทมากกว่ากษัตริย์ เห็นได้ชัดจากในช่วงสมัยของ”พระยาเลอไท” ที่พระสงฆ์นาม”ศรีศรัทธา” มีบทบาทและดำเนินการต่างๆมากกว่าตัวของพระยาเลอไท
จึงทำให้ในเวลาตอนมา”พระยาลิไท” (พระมหาธรรมราชาที่ 1 ) พ.ศ. 1890 – 1911 ได้นำศาสนาพุทธแบบลังกา เข้ามารวมกับระบบการปกครองโดยเริ่มจากการที่ท่านเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ออกบวชและดำเนินกิจการต่างทางศาสนาร่วมกับพระสงฆ์
อนุสาวรีย์”พระมหาธรรมราชาที่ 1 โดย พระราชวชิรเมธี
ปรับการปกครองให้มีความเป็นธรรมมากขึ้น เปลี่ยนจาก”พ่อปกครองลูก”กลายเป็น”ธรรมราชา”ที่ปกครองโดยใช้หลักของพระพุทธศาสนา
มีการสร้างเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และวัดวาอารามต่างๆ ทำให้พระยาลิไทเริ่มที่เข้าสามารถเข้าถึงอำนาจในพระพุทธศาสนาได้ ไม่เหมือนกับองค์อื่นที่ถึงแม้จะมีการออกบวชอยู่บางแต่ก็ไม่ได้ดำเนินการอะไรที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนามากนัก
บทสรุป การเข้ามาของชนไท ส่งผลเกิดการเปลี่ยนแปลงในกลุ่มชนชาติ บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยากับหัวเมืองเหนือ โดยเฉพาะการเกษตรที่มีผลอย่างมากต่อการพัฒนาการของเมือง
รูปถ่าย”วัดมหาธาตุ”โดยคุณ Wayne77
สุโขทัยก็เป็นหนึ่งในเมืองนั้นที่มีการเกษตรที่ดีทั้งจากวิทยาการของชนไทเอง และระบบชลประทานตามแบบเมือง”พระนคร”
ในช่วงแรกของการปกครอง กษัตริย์เสมือนเป็นพ่อที่ปกครองไพร่ประชาชนที่เสมือนเป็นลูก พระพุทธศาสนามีแล้วในในแถบภูมิภาคนี้
แต่การมาของพุทธศาสนาแบบ”ลังกา” ทำให้ระบบการปกครองของสุโขทัยเปลี่ยนไปเป็น”ธรรมมะราชา” ที่กษัตริย์ต้องดำรงอยู่ในศิลในธรรม และต้องดำเนินการต่างๆเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา…
ท่องเที่ยว
ประวัติศาสตร์
ความรู้
บันทึก
2
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย