21 พ.ค. เวลา 07:08 • ประวัติศาสตร์

สงครามชิงอำนาจของสองพระญาติแห่งสหราชอาณาจักร

เรื่องราวการช่วงชิงอำนาจและหักเหลี่ยมเฉือนคมระหว่างสองราชินี นั่นคือ “สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ (Elizabeth I)” และ ”สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งสก็อตแลนด์ (Mary, Queen of Scots)” เป็นเรื่องราวที่ตราตรึงอยู่ในประวัติศาสตร์จนถึงทุกวันนี้
นี่คือเรื่องราวการหักเหลี่ยมเฉือนคมของสองราชินี
อันที่จริง พระราชินีเอลิซาเบธที่ 1 และพระราชินีแมรีก็มีศักดิ์เป็นพระญาติกัน หากแต่ชะตาชีวิตและจุดจบนั้นก็ต่างกันอย่างสิ้นเชิง
พระราชินีแมรีทรงเกิดมาเพื่อเป็นราชินีโดยแท้ โดยพระองค์เป็นพระราชธิดาที่ถูกต้องเพียงองค์เดียวของ “พระเจ้าเจมส์ที่ 5 แห่งสก็อตแลนด์ (James V of Scotland)” และทรงได้รับราชสมบัติสืบต่อจากพระราชบิดาขณะมีพระชนมายุเพียงหกวัน เนื่องจากพระราชบิดาได้สวรรคตในสนามรบขณะทำการสู้รบ
สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งสก็อตแลนด์ (Mary, Queen of Scots)
ส่วนพระราชินีเอลิซาเบธที่ 1 นั้น หนทางสู่ตำแหน่งราชินีของพระองค์นั้นยากเย็นกว่ามาก พระองค์เป็นพระราชธิดาใน “พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ (Henry VIII)” กับ “พระนางแอนน์ โบลีน (Anne Boleyn)” หากแต่พระนางแอน์ โบลีนได้ถูกประหารเมื่อปีค.ศ.1533 (พ.ศ.2076) ทำให้หนทางสู่ราชบัลลังก์ของพระองค์ต้องชะงักไป ก่อนจะได้อำนาจกลับมาในภายหลัง
ชีวิตของพระองค์ต้องผ่านการถูกคุมขัง วังวนทางการเมืองมากมาย ก่อนจะได้ขึ้นครองราชย์ในปีค.ศ.1558 (พ.ศ.2101) ด้วยพระชนมายุ 25 พรรษา
พระราชินีแมรีนั้นเป็นราชินีองค์แรกแห่งสก็อตแลนด์ ส่วนพระราชินีเอลิซาเบธที่ 1 เป็นราชินีองค์ที่สองแห่งอังกฤษ และรูปแบบการปกครองโดยราชินี ไม่ใช่กษัตริย์ ก็ถือเป็นสิ่งใหม่ในสมัยศตวรรษที่ 16
3
ในช่วงแรกที่พระราชินีแมรีครองราชย์นั้น พระองค์ยังไม่ได้ปกครองเอง พระราชมารดาและเหล่าขุนนางเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ (Elizabeth I)
เมื่อเข้าสู่ช่วงวัยสาว พระราชินีแมรีได้อภิเษกสมรสกับ “พระเจ้าฟรานซิสที่ 2 แห่งฝรั่งเศส (Francis II of France)” ซึ่งในขณะนั้นยังเป็นองค์รัชทายาท และการอภิเษกสมรสนี้ก็เป็นการเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างสก็อตแลนด์กับฝรั่งเศส ร่วมกันต่อสู้ศัตรูตัวฉกาจ นั่นก็คืออังกฤษ
2
แต่หลังจากครองราชย์ได้เพียงปีเศษ พระเจ้าฟรานซิสที่ 2 ก็สวรรคต และพระราชินีแมรีก็เสด็จกลับไปปกครองสก็อตแลนด์ และก็เรียกได้ว่า พระราชินีแมรีไม่ทรงพร้อมกับการปกครองประเทศเลย
ทางด้านพระราชินีเอลิซาเบธที่ 1 พระองค์ทรงเป็นขั้วตรงข้ามกับพระราชินีแมรี พระองค์ทรงคุ้นชินกับความผันผวนทางการเมืองและศาสนา ทรงเห็นบทเรียนจากพระประมุของค์ก่อนๆ และทรงนำพาอังกฤษกลับสู่นิกายโปรเตสแตนท์
และที่ต่างจากพระราชินีแมรีอีกข้อก็คือ พระราชินีเอลิซาเบธที่ 1 ทรงครององค์เป็นโสด ไม่อภิเษกสมรส หากแต่ก็แสร้งทำเป็นสนใจชายหนุ่มชั้นสูงต่างๆ จากหลากหลายดินแดน หลายวงการ เพื่อที่จะแสวงประโยชน์จากบุคคลเหล่านั้น
2
พระราชินีเอลิซาเบธที่ 1 ทรงเห็นตัวอย่างจากพระราชบิดา ประกอบกับพระองค์ทรงคิดว่าเหล่าบุรุษที่เข้าหาพระองค์ สุดท้ายก็ต้องการจะแย่งอำนาจไปจากพระองค์
1
พระราชินีเอลิซาเบธที่ 1 และพระราชินีแมรี ทรงสื่อสารกันผ่านจดหมาย โดยต่างก็นับถือกันเป็นพระพี่น้อง และเมื่อเวลาผ่านไป ก็เป็นที่ชัดเจนว่าพระราชินีเอลิซาเบธที่ 1 คงจะไม่ทรงอภิเษกสมรสเป็นแน่ ในขณะที่พระราชินีแมรีนั้นอภิเษกสมรสมาแล้วถึงสามครั้งและมีองค์รัชทายาท นั่นก็คือว่าที่กษัตริย์ในอนาคตอย่าง “พระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ (James VI and I)”
ดังนั้น หากนับตามสายพระโลหิต ด้วยความที่ไม่มีรัชทายาท ทำให้ผู้ที่ใกล้ชิดทางสายพระโลหิตที่สุดของพระราชินีเอลิซาเบธที่ 1 ก็คือพระราชินีแมรี ซึ่งเท่ากับว่าพระราชินีแมรีคือองค์รัชทายาท
แต่ปัญหาก็คือพระราชินีแมรีนั้นทรงนับถือนิกายคาทอลิก ไม่ใช่โปรเตสแตนท์ ซึ่งอาจจะก่อปัญหาและความขัดแย้งในอังกฤษได้ในอนาคต
1
พระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ (James VI and I)
ในปีค.ศ.1568 (พ.ศ.2111) พระราชินีแมรีได้เสด็จลี้ภัยมาอังกฤษ เนื่องจากปีก่อนนั้น เหล่าขุนนางของพระองค์ได้ก่อกบฏ และพระราชินีแมรีก็ทรงคาดหวังว่าพระราชินีเอลิซาเบธจะทรงช่วยเหลือพระองค์บดขยี้กลุ่มกบฏ และทวงบัลลังก์สก็อตแลนด์กลับคืนสู่พระองค์
1
หากแต่พระราชินีเอลิซาเบธที่ 1 ทรงรอบคอบ พระองค์ไม่ทรงต้องการจะยุ่งเกี่ยวกับเรื่องวุ่นวาย และไม่ต้องการจะเอาองค์เข้าไปเสี่ยงโดยไม่จำเป็น
ที่อังกฤษ พระราชินีแมรีถูกนำองค์ขึ้นไต่สวนในกรณีการฆาตกรรม “เฮนรี สจ๊วต ลอร์ดดาร์นลีย์ (Henry Stuart, Lord Darnley)“ พระราชสวามี โดยมีการพบเอกสารที่เชื่อมโยงถึงพระราชินีแมรี หากแต่นักประวัติศาสตร์ในสมัยต่อมาเชื่อว่าเป็นเอกสารปลอม
1
ผลการไต่สวนพบว่าพระราชินีแมรีไม่มีความผิด หากแต่พระองค์ก็ยังคงถูกควบคุมองค์
พระราชินีเอลิซาเบธที่ 1 ทรงมีรับสั่งให้คุมองค์พระราชินีแมรี โดยพระราชินีเอลิซาเบธที่ 1 ทรงมองพระราชินีเป็นเสมือนภัยคุกคามต่อบัลลังก์ของพระองค์ เนื่องจากพระราชินีแมรีอาจจะสามารถปลุกระดมเหล่าสาวกนิกายคาทอลิกให้ลุกขึ้นต่อต้านพระองค์ได้ นอกจากนั้น พระราชินีแมรียังทรงมีเสน่ห์ อาจจะสามารถโน้มน้าวให้คนหลงเชื่อได้ไม่ยาก
1
เฮนรี สจ๊วต ลอร์ดดาร์นลีย์ (Henry Stuart, Lord Darnley)
ทางด้านพระราชินีแมรี พระองค์ทรงไม่พอพระราชหฤทัยที่ต้องถูกคุมขัง พระองค์จึงทรงเริ่มติดต่อกับเหล่าขุนนางคาทอลิก และสนับสนุนกลุ่มผู้ที่ต้องการจะล้มล้างพระราชินีเอลิซาเบธที่ 1 และมอบบัลลังก์ให้พระราชินีแมรี
หากแต่ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา พระราชินีแมรีก็ถูกจับตามองอย่างใกล้ชิดโดย “เซอร์ ฟรานซิส วอลซิงแฮม (Sir Francis Walsingham)” เสนาบดีและสายลับของพระราชินีเอลิซาเบธที่ 1 ซึ่งวอลซิงแฮมก็ได้รวบรวมหลักฐานจำนวนมากที่บ่งชี้ว่าพระราชินีแมรีมีส่วนเกี่ยวข้องในแผนการล้มล้างพระราชินีเอลิซาเบธที่ 1
เมื่อเป็นเช่นนี้ หลังจากทรงไตร่ตรองอย่างรอบคอบ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1587 (พ.ศ.2130) พระราชินีเอลิซาเบธที่ 1 ก็ทรงลงพระนามคำสั่งประหารพระราชินีแมรี ซึ่งก็นับเป็นการตัดสินพระทัยที่ยากลำบากของพระราชินีเอลิซาเบธที่ 1
เซอร์ ฟรานซิส วอลซิงแฮม (Sir Francis Walsingham)
ถึงแม้ว่าจะไม่ได้ทรงโปรดพระราชินีแมรี อีกทั้งปล่อยเอาไว้พระราชินีแมรีก็จะเป็นภัยต่อราชบัลลังก์ แต่ถึงอย่างไร พระราชินีแมรีก็เป็นพระญาติของพระราชินีเอลิซาเบธ ทำให้พระองค์ทรงลังเลอยู่นาน
แต่สิ่งที่พระราชินีเอลิซาเบธไม่ทรงทราบเลยก็คือ คำสั่งประหารพระราชินีแมรีนี้ นอกจากพระองค์ทรงลงพระนามแล้ว สมาชิกสภาอีก 10 คนก็ได้ลงนามเช่นกันเพื่อให้การประหารเป็นไปอย่างรวดเร็ว ไม่ล่าช้า
พระราชินีแมรีถูกประหารด้วยการตัดพระเศียรในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1587 (พ.ศ.2130)
การสวรรคตของพระราชินีแมรีเป็นข่าวดังไปทั่วยุโรป และว่ากันว่าพระราชินีเอลิซาเบธทรงกริ้วเป็นอย่างมากที่เหล่าขุนนาง 10 คนลงนามโดยพลการ ทำให้พระองค์ทรงมีรับสั่งให้คุมขังและไล่ขุนนางที่เกี่ยวข้องออกโดยทันที
1
และในเมื่อพระราชินีแมรีสวรรคตไปแล้ว รัชทายาทที่จะสืบต่อลำดับถัดไปก็คือ ”พระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ (James VI and I)” พระราชโอรสในพระราชินีแมรี
พระราชินีเอลิซาเบธและพระเจ้าเจมส์ที่ 1 ทรงเขียนจดหมายหากันเสมอ โดยพระราชินีเอลิซาเบธรับสั่งว่าจะพระราชทานการรับรองและดูแลพระเจ้าเจมส์ที่ 1 เป็นอย่างดี
แต่ถึงอย่างนั้น พระราชินีเอลิซาเบธที่ 1 ก็ไม่เคยทรงแต่งตั้งพระเจ้าเจมส์ที่ 1 เป็นรัชทายาท จนเมื่อพระราชินีเอลิซาเบธสวรรคตในปีค.ศ.1603 (พ.ศ.2146) พระเจ้าเจมส์ที่ 1 จึงได้เป็นพระประมุขแห่งอังกฤษควบคู่กับสก็อตแลนด์ นำพาสหราชอาณาจักรเข้าสู่ยุคของราชวงศ์ใหม่
นั่นคือ “ราชวงศ์สจ๊วต (House of Stuart)”
โฆษณา