Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ISM Technology Recruitment Ltd.
•
ติดตาม
28 พ.ค. 2024 เวลา 10:30 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
เส้นทางของ Andrey สู่ DevOps และเหตุผลที่ควรเลือก DevOps เป็นอาชีพ
การเดินทางของคุณ Andrey Byhalenko สู่โลกแห่ง DevOps เริ่มต้นด้วยการก้าวออกจาก Comfort Zone ของตัวเอง ซึ่งต้องเผชิญกับความไม่แน่นอน ความกลัว และยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ มาติดตามการเดินทางของคุณ Andrey ไปพร้อม ๆ กัน กับบทความ เส้นทางของ Andrey สู่ DevOps และเหตุผลที่ควรเลือก DevOps เป็นอาชีพ
ระหว่างปี 2010 ถึง 2021 ผมได้ทำงานกับบริษัทโทรทัศน์ขนาดใหญ่แห่งหนึ่ง บริษัทร่วมมือกับเครือข่ายโทรทัศน์ชั้นนำหลายแห่งทั่วโลก และหน้าที่ของผมคือการติดตั้งระบบ ฝึกอบรมพนักงาน และ Technical Support ทำให้ผมได้มีโอกาสเดินทางไปทั่วโลก ได้รู้จักเพื่อนใหม่ ๆ มากมาย และสิ่งเหล่านี้ได้สร้างความทรงจำที่ยอดเยี่ยม
อย่างไรก็ตาม ในช่วง 2 ปีสุดท้ายของการทำงาน ผมตกหลุมพรางของ Comfort Zone และผมก็รู้สึกโอเคกับมัน ในช่วงเวลานั้น ผมมีความมั่นใจในตนเองและสบายใจ เนื่องจาก Manager ทุกคนเชื่อใจผม เพื่อนร่วมงานขอคำแนะนำจากผม และลูกค้าก็เรียกตัวผมเป็นพิเศษ ในการติดตั้งและบำรุงรักษาระบบที่ไซต์งานของพวกเขา
ในทางกลับกัน ผมรู้สึกว่าผมไม่ได้เติบโตหรือก้าวหน้าเลย ทั้งในด้านชีวิตส่วนตัวและด้านอาชีพการทำงาน ผมไม่จำเป็นต้องเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ ๆ หรือถามคำถามใหม่ ๆ เลย และดูเหมือนว่าอุตสาหกรรมทั้งหมดกำลังก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ผมยังคงนิ่งเฉยอยู่กับที่
ส่วนที่แย่ที่สุด คือ ผมขาดความปรารถนาที่จะเติบโต
หลังจากนั้นฝ่ายบริหารก็เริ่มปิด Project ไปทีละ Project นอกจาก Project จะปิดตัวลงแล้ว เพื่อนร่วมงานก็ถูกเลิกจ้าง สถานการณ์ดูเลวร้าย และผมรู้สึกได้ว่าจะต้องถึงคราวของผมในเร็ว ๆ นี้ หน้าที่ของผมซึ่งทำมาตลอด 10 ปีที่ผ่านมานั้นเป็นงานเฉพาะทางมาก ดังนั้นจึงเป็นเรื่องยากที่จะหาตำแหน่งที่คล้ายกันในบริษัทอื่น โดยยังได้รับเงินเดือนที่เท่าเดิมหรือมากกว่า
ผมตัดสินใจว่าจะต้องทำอะไรสักอย่าง ดังนั้นจึงต้องเปลี่ยนความคิดและนิสัยของผม ผมนั่งลงและเขียนอนาคตที่ผมต้องการในฐานะพนักงาน
1. สาขาที่เป็นที่ต้องการ: งานควรอยู่ในสาขาที่มีความต้องการผู้เชี่ยวชาญสูง เพื่อให้การหางานใหม่เป็นเรื่องง่าย แม้จะมีการเลิกจ้างก็ตาม
2. งานประจำวันที่หลากหลาย: งานควรเกี่ยวข้องกับงานที่หลากหลายมากกว่างานซ้ำ ๆ เช่น การเขียน Code เดิม ๆ ในทุก ๆ วัน ดังนั้น ต้องเป็นงานที่มีความน่าสนใจ
3. รายได้ดี: งานควรให้เงินเดือนที่ดี
4. การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง: งานควรให้โอกาสในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและการพัฒนาทักษะของตนเองอยู่เสมอ
5. บทบาทที่สำคัญ: ต้องการสร้างผลกระทบที่มีความหมายต่อผลิตภัณฑ์ของบริษัท และถูกมองว่ามีคุณค่าและยากต่อการทดแทน
หลังจากใช้เวลาค้นคว้าข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตเป็นเวลานาน (ณ เวลานั้นยังไม่มี ChatGPT เกิดขึ้น 555+) ผมก็ตัดสินใจได้ว่าสายงาน DevOps ตรงกับเกณฑ์เหล่านี้ทั้งหมด
สัปดาห์ถัดมา ผมลงทะเบียนหลักสูตร DevOps ระยะเวลา 6 เดือนที่วิทยาลัยท้องถิ่นแห่งหนึ่ง ทุกเย็นวันพฤหัสบดี ผมเข้าร่วมชั้นเรียนโดยเนื้อหาจะครอบคลุมหัวข้อใดหัวข้อหนึ่ง จากนั้นใช้เวลาทั้งสัปดาห์ทำงานใน Project ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนั้น นอกจากนี้ ผมเริ่มอ่านหนังสือมากมายและดูวิดีโอเกี่ยวกับ DevOps
6 เดือนต่อมา ผมได้รับข่าวว่า Project ของผมกำลังจะปิดตัวลง และบริษัทไม่ต้องการหน้าที่ความรับผิดชอบของผมอีกต่อไป เมื่อฝ่ายบริหารทราบว่าผมจบหลักสูตร DevOps แล้ว พวกเขาก็เสนอโอกาสให้ผมย้ายไปโปแลนด์ หลังจากผมได้พิจารณา ผมก็ปฏิเสธข้อเสนอไปเนื่องจากเหตุผลทางการเงิน
ช่วงนั้นผมทุ่มเทเวลา 2 – 3 เดือนให้กับการหางาน DevOps งานแรกของผม และทำงานใน Projects ส่วนตัวเพื่อปรับปรุงเรซูเม่ ผมได้พัฒนา Games และ Mobile Applications หลายตัวโดยใช้ Python และปรับใช้ CI/CD
ผมพยายามและใช้เวลานานมากในการหางาน แต่ก็ยังไม่สามารถหางานในตำแหน่ง Junior DevOps ได้เลย ถึงแม้ว่าผมมีความคิดที่จะยอมแพ้และกลับไปอาชีพเดิม แต่ผมก็ยังคงหางานต่อไป
ในเดือนกันยายน 2021 ผมสมัครงานตำแหน่ง Junior DevOps Engineer ที่บริษัททางการเงินรายใหญ่แห่งหนึ่ง แม้ว่าการสัมภาษณ์ทางเทคนิคจะล้มเหลว แต่ผมก็สามารถเจรจาข้อตกลงกับบริษัทได้ เราตัดสินใจว่าในช่วง 3 เดือนแรก เงินเดือนของผมจะถูกลดลง 20% โดยจะเพิ่มขึ้นภายหลังเมื่อแสดงให้เห็นถึงความสามารถ แม้ว่าผมจะถูกลดเงินเดือนชั่วคราว แต่ก็เป็นการเคลื่อนไหวเชิงกลยุทธ์ที่มุ่งเป้าไปที่ความก้าวหน้าในเส้นทางอาชีพของผม
เมื่อมองย้อนกลับไปถึงบทบาท DevOps ครั้งแรกของผม ผมจะบอกว่าผมทำผลงานได้อย่างน่าชื่นชม ผมทำงานได้ดีเป็นพิเศษในระหว่างกระบวนการเตรียมความพร้อม และประสบความสำเร็จใน Project สำคัญที่เกี่ยวข้องกับ Logs และ Alerts ได้ และตลอด 2 ปีต่อมา ผมได้ทำการปรับปรุงที่สำคัญในหลาย ๆ ด้าน เช่น CI/CD, Automations, Deployments, Security และด้านอื่น ๆ ของโครงสร้างพื้นฐาน
ผมรู้สึก (และยังคงรู้สึก) ว่าได้ค้นพบความหลงใหลของตัวเองแล้ว การทำงาน DevOps ทำให้ผมสนุก และ DevOps ก็ไม่ใช่แค่งานเท่านั้นอีกต่อไป มันมีอิทธิพลต่อวิธีคิดและการเข้าถึงแง่มุมต่าง ๆ ของผมด้วย
ผมลงทุนในหนังสือหลายเล่ม, เจาะลึกเรื่องการเขียน Blog, มีส่วนร่วมใน Open-source Projects และเริ่มแบ่งปันข้อมูลเชิงลึกของผมบนแพลตฟอร์ม เช่น Medium และ LinkedIn
ทุก ๆ วันในฐานะ DevOps Engineer ได้นำความท้าทายใหม่ ๆ เข้ามา ทำให้งานมีความคล่องตัวและมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ผมรู้สึกถึงการเติบโตทางอาชีพในช่วง 2 ปีในบทบาท DevOps Engineer ซึ่งมากกว่าที่ผมเคยประสบมาตลอด 10 ปีที่ผ่านมา
2 ปีต่อมา ผมเลือกที่จะเปลี่ยนอาชีพของผมไปสู่ Systems Design ผมทุ่มเทใช้เวลาเรียนทั้งหมด 6 เดือน และด้วยเหตุนี้ ผมได้ Job Offer ที่ดีกว่ามากเมื่อเทียบกับตำแหน่งเดิม ในกรณีของผม ความพยายามนั้นคุ้มค่าจริง ๆ และผมก็ตัดสินใจได้ถูกต้องแล้ว นี่คือข้อมูลเชิงลึกที่ผมได้รวบรวมจากประสบการณ์ของผม:
1. ความภักดีของบริษัท: แม้จะอ้างว่าเป็น “ครอบครัว” แต่บริษัทก็อาจให้ความสำคัญกับผลประโยชน์ทางการเงินมากกว่าความภักดีของพนักงาน สิ่งนี้เป็นเครื่องเตือนใจให้รักษามุมมองในความเป็นจริงที่เกี่ยวกับความมั่นคงของงาน
2. ความสามารถในการฟื้นตัว: การถูกไล่ออกถือเป็นโอกาสในการเติบโตทางอาชีพและทางการเงิน ไม่ใช่แค่เพียงความล้มเหลว
3. การเตรียมพร้อม: จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีแผนสำหรับการเลิกจ้างที่อาจเกิดขึ้น ดังนั้น ต้องให้ความสำคัญในการดำเนินการเชิงรุกเกี่ยวกับการจัดการอาชีพและความก้าวหน้า
4. การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง: ให้ความสำคัญของการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันในตลาดงาน
5. ความก้าวหน้าในอาชีพ: ส่งเสริมให้บุคคลเตรียมพร้อมสำหรับบทบาทในอนาคต นอกเหนือจากตำแหน่งปัจจุบัน เช่น การเปลี่ยนจาก DevOps Engineer ไปเป็น Cloud Architect
6. ทักษะการสัมภาษณ์: การมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่องในการสัมภาษณ์งาน แม้ว่าจะไม่ได้หางานใหม่อย่างจริงจัง แต่ก็ช่วยรักษาทักษะการสัมภาษณ์ที่เฉียบคมและให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับมูลค่าของตนเองในตลาด
7. Personal Brand: การสร้างแบรนด์ส่วนบุคคลตั้งแต่เนิ่น ๆ สามารถสร้างโอกาสในการเติบโตในสายอาชีพและการลงทุนทางธุรกิจ
8. Self-Actualization: ความเชื่อที่ว่าบุคคลมีศักยภาพที่จะเป็นใครก็ได้ที่ปรารถนา โดยความเชื่อมั่นในตนเองและความมุ่งมั่นต่อความสำเร็จในอาชีพการงาน
ISM เชี่ยวชาญในธุรกิจ IT Recruitment & IT Outsourcing โดยเฉพาะ ได้เปิดทำการมาแล้วกว่า 30 ปี มีพนักงานทุกสายและทุกระดับทางด้าน IT ที่ได้ร่วมงานกับลูกค้าองค์กรใหญ่ที่มีชื่อเสียงและบริษัทข้ามชาติมากมาย
www.ismtech.net
ไอที
เทคโนโลยี
วงการไอที
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย