Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ทฤษฎีว่าด้วย
•
ติดตาม
7 มิ.ย. 2024 เวลา 01:47 • ความคิดเห็น
“จริง ๆ แล้ว พฤติกรรมของเรามาจากการเลียนแบบผู้อื่น🤡”
จริง ๆ แล้ว มนุษย์สังเกตและเรียนรู้จากประสบการณ์ต่าง ๆ จากพฤติกรรมของคนรอบตัว ที่คิดว่ามีประโยชน์ต่อตนเอง แล้วนำมาปฏิบัติจนเกิดเป็นนิสัย ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมของ Bandura (Social Learning Theory) เป็นทฤษฎีที่อธิบายว่ากระบวนการเรียนรู้ผ่านการสังเกตจากคนอื่นมีบทบาทสำคัญในการสร้างพฤติกรรมของมนุษย์จนก่อเกิดเป็นนิสัย
ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมของแบนดูรา (Social Learning Theory) ถูกพัฒนาขึ้นโดย Albert Bandura นักจิตวิทยาชาวแคนาดา ทฤษฎีนี้อธิบายว่ามนุษย์สามารถเรียนรู้ได้จากการสังเกตพฤติกรรมของบุคคลอื่น โดยไม่จำเป็นต้องลงมือปฏิบัติด้วยตนเองก่อน โดยกระบวนการเรียนรู้ตามทฤษฎีนี้ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนสำคัญ ได้แก่
1.ขั้นตอนการสังเกต🕵🏻 (Observational Phase): เป็นการสังเกตและจดจำพฤติกรรมของคนที่เราชอบหรือสนใจ ซึ่งขั้นตอนนี้จะมีประสิทธิภาพหากบุคคลนั้นที่เราชอบ มีความน่าสนใจจนเรารู้สึกอยากเป็นแบบนั้น เช่น รู้สึกอยากมีกล้ามแขนเหมือนนาย ก.
2.ขั้นตอนการเรียนรู้📚 (Acquisition Phase): เมื่อผ่านกระบวนการการสังเกตแล้ว เราจะทำการจดจำและสร้างเรูปแบบพฤติกรรมให้เหมือนกับบุคคลนั้น เช่น อยากมีกล้ามแขนเหมือนนาย ก. ซึ่งจากการสังเกตพบว่า นาย ก. ออกกำลังกายส่วนแขนอาทิตย์ละ 5 วัน วันละ 1 ชั่วโมง และดื่มโปรตีนชงเป็นมื้อเช้าทุกวัน
3.ขั้นตอนการเลียนแบบ💃🏻 (Imitation Phase): เป็นการลงมือปฏิบัติเลียนแบบสิ่งที่สังเกตและเรียนรู้มา เช่น การหาขั้นตอนการออกกำลังกายแบบที่นาย ก. ทำ เพื่อสร้างกล้ามเนื้อส่วนแขน และซื้อโปรตีนชงมาดื่มทุกเช้า
4.ขั้นตอนการเสริมแรงจูงใจ❤️🔥 (Motivational Phase): การให้รับรางวัลตนเองจากการเลียนแบบจะเป็นแรงจูงให้ผู้เรียนปฏิบัติพฤติกรรมนั้นบ่อยครั้งขึ้น เช่น การให้วันพักผ่อนแก่ตนเองหรือการกินโปรตีนในรูปแบบอื่น
สรุปแล้วสิ่งสำคัญของทฤษฎีนี้คือ การเรียนรู้เกิดขึ้นโดยไม่ต้องลงมือทำจริง เพียงแค่สังเกตตัวแบบก็สามารถเรียนรู้และมีพฤติกรรมใหม่ ๆ ได้ โดยไม่ต้องลองผิดลองถูก อย่างเช่นตัวอย่างข้างต้น หากเราต้องการมีกล้ามแขน แต่ไม่ได้มีนาย ก. เป็นต้นแบบ เราจะต้องลองผิดลองถูกว่าต้องออกกำลังกายแบบไหนถึงจะมีกล้ามที่ส่วนแขนหรือต้องทานอาหารอย่างไรที่ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อแขน ดังนั้นทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมของ Bandura (Social Learning Theory) เปรียบเสมือนการลัดขั้นตอนนั่นเอง
พัฒนาตัวเอง
เรื่องเล่า
แนวคิด
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย