11 มิ.ย. เวลา 09:13 • ความคิดเห็น

สามบทเรียนชีวิตของโรเจอร์ เฟเดอเรอร์

ในประวัติการเล่นเทนนิสของโรเจอร์ เฟเดอเรอร์ เขาชนะการแข่งขันประมาณ 80% ของแมทซ์ที่เขาเล่น แต่ที่น่าแปลกใจมากๆก็คือ เขาเล่าว่าถ้านับเป็นแต้ม เขาชนะแค่ 54% ของแต้มเท่านั้นเอง แล้วอะไรที่ทำให้เขากลายเป็นนักเทนนิสระดับตำนานที่ชนะคู่แข่งได้มากมายขนาดนั้น…
3
โรเจอร์ เฟเดอเรอร์ หนึ่งในนักเทนนิสที่เก่งที่สุดตลอดกาล ชนะคู่แข่งด้วยความใจเย็น สุขุม มีเทคนิคการเล่นที่รอบด้าน ทั้งบุก ทั้งรับ ทั้งเบสไลน์ ทั้งหน้าเน็ต และเล่นได้ฉลาดจนดูเหมือนไม่ต้องออกแรงอะไรเท่าไหร่เลย
2
เฟเดอเรอร์เป็นมือหนึ่งโลกอย่างยาวนาน ในประวัติการเป็นนักเทนนิสอาชีพ เฟดเดอร์เรอร์ยืนหนึ่งถึง 310 อาทิตย์ ชนะ ATP ทัวร์ 103 ครั้งเป็นเมเจอร์ไป 20 ครั้ง โรเจอร์ยืนระยะเป็นแชมเปี้ยนได้นานกว่าใคร เป็นที่อัศจรรย์ของทั้งในและนอกวงการ เพิ่งมาเลิกเล่นตอนอายุ 40 นี่เอง
2
เฟเดอเรอร์ เล่าในการกล่าวสปีชที่มหาวิทยาลัย Dartmouth ถึงบทเรียนสำคัญที่เขาเรียนรู้จากการเล่นเทนนิสไว้สามบทเรียน ซึ่งเป็นบทเรียนที่น่าสนใจว่าคนที่ไต่ไปถึงระดับสูงสุดของโลกและยืนระยะได้นานขนาดนี้ เขามีเคล็ดลับและ mindset อย่างไรนะครับ
2
Lesson One : Effortless is a myth
มีคนชอบบอกว่าดูเฟเดอเรอร์เล่นแล้วเหมือน effortless มากๆ ดูเหนือชั้นและไม่ต้องพยายามอะไรมาก เฟเดอเรอร์บอกว่าฟังดูเหมือนคำชมแต่นั่นคือความเข้าใจผิดที่สุดจริงๆ แล้วเขาต้องทำงานหนักมากๆเพื่อให้ดูเหมือนง่าย เขาฝึกหนัก มีท้อ มีล้า สารพัด เป็นนักเทนนิสอารมณ์ร้อนมาก จนถึงเริ่มเข้าใจว่าต้องเก็บอารมณ์และใจเย็นให้ได้ยังไง
3
Wake up call สำคัญคือตอนหนุ่มๆในการแข่ง italian open มีคู่แข่งเขาให้สัมภาษณ์ว่า โรเจอร์เป็นนักเทนนิสที่จะได้เปรียบผมแค่สองชั่วโมง หลังจากนั้นเขาจะคุมอารมณ์ไม่ได้แล้วผมก็จะได้เปรียบเขาละ เป็นคำพูดที่ทำให้ให้โรเจอร์คิดได้ว่า นักเทนนิสทุกคนจะเล่นดีสองชั่วโมงแรกเพราะแรงยังดี สปีดยังเร็ว แต่พอสองชั่วโมงผ่านไป ขาเริ่มล้า ใจเริ่มแกว่ง อารมณ์เริ่มคุมไม่อยู่ โรเจอร์ก็เลยต้องฝึกให้หนักที่สุด หนักกว่าใครเพื่อยืนระยะได้นานกว่า ฝึกหนักจนดูเวลาเล่นแล้วไม่เหนื่อย ดู effortless มาก
6
อีกวิธีหนึ่งที่ทำให้เฟเดอเรอร์ยืนเหนือใครได้ก็คือการที่พยายามจะเอาชนะจุดแข็งที่สุดของคู่แข่งแต่ละคนให้ได้ จุดเปลี่ยนก็คือในปี 2003 การแข่ง ATP final ที่มีมือท็อปโลก 8 คนมาแข่งกัน เฟดเดอเรอร์ลองใช้วิธีเผชิญหน้ากับท่าไม้ตายของคู่แข่งแต่ละคน
2
ก่อนหน้านี้เฟดเดอเรอร์พยายามจะหลบจุดแข็งและเน้นจุดอ่อนคู่แข่ง เช่นถ้าคู่แข่งเก่งท้ายคอร์ดก็จะขึ้นหน้าเนตแทน แต่รอบนี้เฟดเดอเรอร์ตั้งใจสู้กับจุดแข็ง ใครเก่งโฟร์แฮนด์ เฟดเดอเรอร์ก็ใส่โฟร์แฮนด์เขาตรงๆ ใครเก่งเบสไลน์ก็จะพยายามเอาชนะเขาจากเบสไลน์ ใครเป็นแนวบุกก็บุกกลับ ใครเก่งหน้าเนตเฟดเดอเรอร์ก็จะเล่นหน้าเนต แพ้บ้างชนะบ้างแต่ก็ได้เรียนรู้จากเดอะเบสต์ และเก็บเลเวลในวิธีนั้นตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
6
ทำไมถึงทำแบบนั้น เฟดเดอเรอร์บอกว่า ทำให้เขามีอาวุธครบเครื่องในทุกด้าน เพราะการแข่งขันบางครั้งอาวุธนี้ใช้ไม่ได้ก็ยังมีอาวุธอื่นที่งัดออกมาสู้ได้อีก ไม่จำกัดเฉพาะแค่ความถนัดบางอย่าง
2
นอกจากนั้นเฟดเดอเรอร์บอกว่าตอนที่พีคสุดๆถ้าชนะก็โอเค แต่ตอนที่เหนื่อยล้า และเล่นได้ไม่ดีแต่รวมพลังแล้วชนะได้นั้นน่าภูมิใจกว่ามาก แน่นอนว่าพรสวรรค์สำคัญมาก แต่ GRIT (passion บวก perserverance) สำคัญกว่า พรสวรรค์ในเทนนิสนั้นไม่ใช่แค่การตีได้แรงและเร็ว แต่วินัย ความอดทน การเชื่อในตัวเอง เชื่อในกระบวนการก็เป็นพรสวรรค์ด้วยเช่นกัน บางคนอาจจะเกิดมาแล้วมีเลย แต่หลายคนก็สร้างพรสวรรค์แบบนี้ได้ด้วยตัวเอง
2
Lesson two : It’s only a point!
การแข่งขันนั้นไม่ว่าจะเก่งยังไงก็มีวันแพ้ โดยเฉพาะเทนนิสมีผู้ชนะแค่คนเดียวจากคนแข่งเป็นร้อย คนสมหวังมีคนเดียวแต่คนผิดหวังจะเยอะกว่าเสมอ เฟดเดอเรอร์ก็มีแพ้ การเจ็บปวดที่สุดคือแพ้นาดาลที่วิมเบิลดันที่จะมีโอกาสเป็นแชมป์ติดกัน 6 ครั้ง หาโอกาสแบบนั้นไม่ได้อีกแล้ว แมตช์นั้นสู้กับจนมืดไปถึงเซตสุดท้าย
4
แต่ใจเฟดเดอเรอร์ตอนนั้นรู้สึกว่านาดาลหิวกระหายความสำเร็จกว่าตั้งแต่ตอนแข่ง กว่าจะปรับ mindset ได้ก็แพ้อย่างเจ็บปวด ในตอนนั้นพอแพ้แล้วคนก็เริ่มบอกว่าเฟดเดอเรอร์ขาลง ทางเดียวที่จะทำได้ก็ต้องทำงานหนักต่อไป
5
เฟดเดอเรอร์เล่าถึงสถิติที่คนแทบจะไม่รู้ก็คือ เขาชนะการแข่งขันเกือบ 80% ของแมตช์ แต่ถ้านับเป็นคะแนน (point) เขาชนะแค่ 54% ของคะแนนเท่านั้นเอง การแพ้หรือชนะนั้นเป็นเส้นบางมากๆ สิ่งที่นักเทนนิสต้องทำตอนที่เสริฟเสีย double fault หรือพลาดง่ายๆ ต้องคิดให้ได้ว่า … it’s only a point มันก็แค่แต้มเดียว ถ้าไปโมโห หงุดหงิด เสียดาย ก็จะนำมาซึ่งความพ่ายแพ้เสมอ
2
หรือตอนที่เล่นได้ดี มี shot of the year ตีแรลลี่แล้วชนะได้ก็ต้องไม่เหลิง มันก็ only a point เช่นกัน เฟดเดอเรอร์คิดแบบนั้น..
2
วิธีคิดของเฟดเดอเรอร์ก็คือ point ที่สำคัญที่สุดคือ point ที่กำลังจะเล่นเสมอ พอเล่นจบแล้วก็จบไป วิธีคิดแบบนี้สำคัญมากๆ เพราะจะทำให้เรามีสมาธิ ใจจดใจจ่อ และเอาพลังทั้งหมดไปอยู่คะแนนต่อไปได้ เหมือนกับชีวิตคนเรา มีหลายครั้งที่เราจะล้มเหลว พ่ายแพ้ มีขึ้นมีลง และเวลาล้มเหลวก็จะรู้สึกแย่
2
แต่อย่าลืมว่าคู่แข่งเราก็เป็น พลังงานลบจะเกิดขึ้นเวลาเราล้มหรือแพ้ แต่ถ้าอยากจะเป็นเต้ยในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ต้องก้าวข้ามพลังงานลบให้ได้ ที่หนึ่งในโลกไม่ได้ได้มาเพราะชนะทุกคะแนน แต่ได้มาจากพอแพ้แล้วรู้ว่าต้องดีลกับมันยังไง ยอมรับมัน แล้วเดินหน้าต่อ ทำงานหนักต่อไป..
3
Lesson Three : Life is bigger than tennis court
1
เฟดเดอเรอร์บอกว่า tennis court มันเล็กมาก แค่ 2106 ตารางฟุตเอง แต่โลกมันใหญ่กว่านั้นมาก เฟดเดอเรอร์ใช้เทนนิสเป็นประตูสู่โลกกว้าง แต่ไม่ได้มองเทนนิสเป็นโลกทั้งใบ การที่ใช้ชีวิตให้เต็ม ไม่เอาตัวเองไปอยู่แค่โลกแคบๆ รื่นรมย์กับการเดินทาง มิตรภาพและครอบครัวมาตลอด ไม่เคยลืมว่าตัวเองมาจากไหน ซึ่งทำให้เขาไม่เคย burn out เลยในอาชีพ
4
เฟดเดอเรอร์พยายามใช้ชีวิตด้วยการเปิดโลก ใช้ชื่อเสียงตัวเองช่วยคนที่ด้อยโอกาสที่แอฟริกาเรื่องการศึกษา เดินทางไปรับรู้ปัญหาด้วยตัวเอง นั่งเล่าเรื่องเทนนิสให้เด็กที่ไม่เคยรู้เลยว่าเทนนิสคืออะไร เฟดเดอเรอร์ช่วยเด็กไปสามล้านคน ช่วยเทรนครูไปหลายหมื่นคน เฟดเดอเรอร์บอกว่าทำให้เขา humble กับโลกที่ใหญ่กว่าเทนนิสมาก ได้เห็นเด็กๆ เติบโตมีอาชีพที่ดี
4
เฟดเดอเรอร์ทำมา 20 ปีตั้งแต่เริ่มอาชีพ เขาเลยชวนให้นักศึกษาที่มานั่งฟังให้ลองคิดให้มองโลกกว้างกว่าโลกตัวเอง ให้ช่วยคนด้อยโอกาสเพราะนักศึกษาที่ dartmouth ทุกคนโชคดีกว่าอีกหลายคนในโลกมาก
2
Effortless is a myth. It’s just a point. Life is bigger than a tennis court เป็น mindset ของบุรุษผู้ที่ยืนระยะบนจุดสูงสุดของวงการเทนนิสโลกมาเป็นสิบปี
โรเจอร์ เฟดเดอเรอร์ ครับ….
7
โฆษณา