Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
BrandCase
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
10 ก.ย. เวลา 11:40 • ธุรกิจ
สรุป 9 คำศัพท์ เกี่ยวกับ แฟรนไชส์ธุรกิจ ที่ได้ยินกันบ่อย ๆ
1. Franchise (แฟรนไชส์) = รูปแบบธุรกิจประเภทหนึ่ง ที่เจ้าของสามารถให้สิทธิ์ในการใช้ชื่อแบรนด์, Know-How และระบบการทำงาน แก่ผู้ที่สนใจจะลงทุน
โดยที่ผู้ที่สนใจจะลงทุนจะต้องทำธุรกิจตามรูปแบบและระบบธุรกิจของเจ้าของสิทธิ์ และจ่ายค่าธรรมเนียมในการใช้ชื่อการค้าและค่าตอบแทนให้แก่เจ้าของ
ตัวอย่างแฟรนไชส์ดัง ๆ เช่น
- McDonald's
- Starbucks
- KFC
- 7-Eleven
2. Franchisor (แฟรนไชซอร์) = ผู้ขายแฟรนไชส์ / เจ้าของสิทธิ์แฟรนไชส์ ซึ่งเป็นผู้ที่คิดค้นวิธีการทำธุรกิจจนมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับ และเป็นผู้ขายสิทธิ์การดำเนินกิจการ ขายชื่อการค้าของตัวเอง รวมถึงขายระบบการจัดการธุรกิจทั้งหมดให้แก่ผู้รับสิทธิ์
ตัวอย่างเช่น
- Franchisor เจ้าของสิทธิ์แฟรนไชส์ “ชายสี่บะหมี่เกี๊ยว” คือ บริษัท ชายสี่ คอร์ปอเรชั่น จำกัด
- Franchisor เจ้าของสิทธิ์แฟรนไชส์ร้านสะดวกซัก “OTTERI” คือ บริษัท เค-เน็กซ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด
3. Franchisee (แฟรนไชซี) = ผู้ซื้อแฟรนไชส์ / ผู้ได้รับสิทธิ์แฟรนไชส์ ในการดำเนินธุรกิจตามระบบที่เจ้าของสิทธิ์ได้จัดเตรียมไว้ รวมทั้งได้ใช้ชื่อทางการค้า เครื่องหมายการค้าเดียวกัน
โดยต้องจ่ายค่าตอบแทนในการใช้สิทธิ์นั้น รวมทั้งจ่ายค่าตอบแทนตามผลประกอบการ
4. Franchise Fee = ค่าธรรมเนียมใช้สิทธิ์แฟรนไชส์ หรือค่าธรรมเนียมแรกเข้า โดยเป็นการจ่ายครั้งเดียว เพื่อใช้เครื่องหมายการค้า
โดยผู้ซื้อแฟรนไชส์ (Franchisee) จะจ่ายก่อนเริ่มดำเนินงานซึ่งถือเป็นการจ่ายค่าสิทธิ์ต่าง ๆ ให้แก่ ผู้ขายแฟรนไชส์ (Franchisor)
ตัวอย่างเช่น
- Café Amazon มีค่าแรกเข้า Franchise Fee 150,000 บาท
- ร้านชานม Ochaya มีค่าแรกเข้า Franchise Fee 350,000 บาท
5. Royalty Fee = ค่าตอบแทนที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ (Franchisee) ต้องจ่ายให้กับ ผู้ขายแฟรนไชส์ (Franchisor) ต่อเนื่องตามรอบที่ตกลงกัน เช่น ทุกเดือน ทุกไตรมาส ทุกปี โดยมักจะเรียกเก็บเป็นเปอร์เซ็นต์ต่อยอดขาย
ตัวอย่างเช่น
- The Pizza Company มีค่า Royalty Fee 5% ของยอดขายต่อเดือน
- Swensen's มีค่า Royalty Fee 7% ของยอดขายต่อเดือน
6. Marketing Fee = ค่าธรรมเนียมที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ (Franchisee) ต้องจ่ายให้กับ ผู้ขายแฟรนไชส์ (Franchisor) ต่อเนื่องทุกเดือน
ซึ่งค่าธรรมเนียมส่วนนี้ ใช้เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการทำการตลาด โฆษณา ประชาสัมพันธ์ธุรกิจโดยเฉพาะ
ตัวอย่างเช่น
- The Pizza Company มีค่า Marketing Fee 5% ของยอดขายต่อเดือน
- Dairy Queen มีค่า Marketing Fee 6% ของยอดขายต่อเดือน
7. Individual Franchise = ผู้ซื้อแฟรนไชส์ (Franchisee) รูปแบบหนึ่ง ที่ได้สิทธิ์ในการเปิดกิจการเฉพาะพื้นที่นั้น ๆ
ทั้งนี้ผู้ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินกิจการ จะไม่มีสิทธิ์ขายแฟรนไชส์ต่อให้ผู้อื่นไปเปิดร้านได้อีก
โดยจะมี 2 รูปแบบ
ได้แก่
Single-unit คือ ผู้ซื้อแฟรนไชส์ (Franchisee) ที่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินกิจการเพียงหนึ่งแห่งเท่านั้น
Multi-unit คือ ผู้ซื้อแฟรนไชส์ (Franchisee) ที่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินกิจการได้หลายแห่งภายในพื้นที่ที่กำหนด
ตัวอย่างเช่น
- ผู้ซื้อแฟรนไชส์ (Franchisee) รายย่อยทั่ว ๆ ไปที่ซื้อสิทธิ์มาเพื่อเปิดร้าน 1 สาขา
- CRG, RD, QSR ได้รับสิทธิ์ให้สามารถเปิดกิจการทั่วประเทศไทยได้หลายสาขา เพราะเป็นผู้ซื้อแฟรนไชส์ (Franchisee) ที่ Yum! Brands เจ้าของ KFC มอบสิทธิ์ Individual Franchise ให้กับ 3 บริษัท เปิดกิจการร้าน KFC ในไทยร่วมกัน
1
8. Sub-Area License Franchise = ผู้ซื้อแฟรนไชส์ (Franchisee) รูปแบบหนึ่ง ที่ได้รับสิทธิ์ในการขยายกิจการภายในอาณาเขตและระยะเวลาที่กำหนด โดยจะไม่มีใครได้รับสิทธิ์ให้ไปเปิดในอาณาเขตเดียวกันนี้อีก
ตัวอย่างเช่น
CPALL เจ้าของ 7-Eleven ในประเทศไทย ที่ให้สิทธิ์ Sub-Area License แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ (Franchisee) เพียงรายเดียว ในแต่ละจังหวัด เพื่อเปิดร้าน 7-Eleven ในอาณาเขตที่กำหนด
1
โดยปัจจุบัน Sub-Area License ของ CPALL มี 4 ราย ดังนี้
- บริษัท ชอยส์ มินิ สโตร์ จำกัด บริหารพื้นที่ 3 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน แม่ฮ่องสอน
- บริษัท ยะลาเซเว่น จำกัด บริหารพื้นที่ 3 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง ได้แก่ ยะลา ปัตตานี นราธิวาส
- บริษัท ยิ่งยง มินิมาร์ท จำกัด บริหารพื้นที่ 4 จังหวัดภาคอีสาน ได้แก่ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ อำนาจเจริญ
- บริษัท งานหนึ่ง จำกัด บริหารพื้นที่ 5 จังหวัดภาคใต้ตอนบน ได้แก่ ภูเก็ต ระนอง พังงา กระบี่ ตรัง
9. Master Franchise = ผู้ซื้อแฟรนไชส์ (Franchisee) รูปแบบหนึ่ง ที่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินธุรกิจเป็นรายแรกในระดับภูมิภาคหรือประเทศ
เพื่อให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ (Franchisee) ดังกล่าว ทำการขยายสาขาและสามารถขายแฟรนไชส์ต่อให้ผู้อื่นไปเปิดร้านได้อีก ทั้งรูปแบบ Individual Franchise หรือ Sub-Area License Franchise
ตัวอย่างเช่น
- บริษัท คอฟฟี่ คอนเซ็ปต์ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่มีเครือ ThaiBev ไปร่วมลงทุน ได้รับสิทธิ์ Master Franchise ในการบริหารร้านกาแฟภายใต้แบรนด์ Starbucks ในประเทศไทยแต่เพียงผู้เดียว
- บริษัท แมคไทย จำกัด ได้รับสิทธิ์ Master Franchise ในการบริหารร้านอาหารภายใต้แบรนด์ McDonald's ในประเทศไทยแต่เพียงผู้เดียว
References
-
https://www.thaifranchisecenter.com/
- เว็บไซต์แต่ละบริษัท
ธุรกิจ
การตลาด
2 บันทึก
5
1
2
5
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย