17 ต.ค. 2024 เวลา 05:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ

ทำความรู้จัก Digital Bank การธนาคารแห่งโลกอนาคต

ธนาคารดิจิทัล (Digital Bank) กำลังเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีแรงหนุนสำคัญคือความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ไม่ว่าการประมวลผ่านระบบคลาวด์ ปัญญาประดิษฐ์ และอุปกรณ์ IoTs ซึ่งทำให้ Digital Bank สามารถให้บริการลูกค้าได้ โดยไม่ต้องพึ่งพาสาขาหรือการว่าจ้างพนักงานเลย
สำหรับ Digital Bank มีความแตกต่างจาก Digital Banking ซึ่งเป็นบริการการทำธุรกรรมทางออนไลน์ของธนาคารที่มีสาขา โดยที่ลูกค้าไม่จำเป็นต้องมาที่ธนาคาร เช่น Internet Banking และ Mobile Banking ขณะที่ Digital Bank คือการให้บริการการทำธุรกรรมทางออนไลน์เท่านั้น โดยไม่มีการจัดตั้งหรือให้บริการผ่านทางสาขาเลย ซึ่งธนาคารในรูปแบบนี้กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ จากลูกค้า
เนื่องจากมีอัตราดอกเบี้ยที่น่าสนใจทั้งในส่วนของเงินฝากและสินเชื่อ รวมถึงอัตราค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ก็ต่ำกว่าธนาคารทั่วไป เพราะว่ามีต้นทุนที่ต่ำกว่าในการดำเนินงาน
เมื่อประกอบกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ เช่น สมาร์ตโฟน และเครือข่ายโทรคมนาคมที่ครอบคลุมพื้นที่ห่างไกลมากขึ้น ก็ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ Digital Bank เติบโต เพราะว่าลูกค้าสามารถเข้าถึงบริการการทำธุรกรรมของธนาคารได้ โดยไม่มีข้อจำกัดในด้านการเดินทาง
ข้อมูลจาก Statista คาดว่าภายในสิ้นปี 2024 รายได้จากดอกเบี้ยของธนาคารดิจิทัลจะอยู่ที่ระดับ 1.50 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และภายในปี 2029 จะอยู่ที่ระดับ 2.09 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็นอัตราการเติบโตแบบทบต้นต่อปี (CAGR) ที่ระดับ 6.86% สะท้อนความน่าสนใจของ Digital Bank ในแง่ของการลงทุน
นับตั้งแต่ช่วงต้นปีถึงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา กองทุน BGF FinTech Fund ซึ่งเป็นกองทุนหลักของ B-FINTECH มีผลการดําเนินงานเป็นบวก เนื่องจากได้รับแรงหนุนจากหุ้นกลุ่มธนาคาร (Bank) และกลุ่มสินเชื่อผู้บริโภค (Consumer Finance) ขณะที่หุ้นกลุ่ม Capital Market กดดันผลการดําเนินงาน
ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาในระดับหุ้นรายตัวพบว่า Rakuten Bank ซึ่งเป็นธนาคารชั้นนำของญี่ปุ่นเป็นหุ้นที่หนุนผลการดำเนินงานของกองทุนมากที่สุด เนื่องจากการเปิดเผยผลการดําเนินงานที่แข็งแกร่ง ภายหลังธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ประกาศเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นสู่ระดับ 0.25% ตามมาด้วย Axos Financial ธนาคารดิจิทัลของสหรัฐฯ ที่มีการเติบโตของรายได้สูงกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรม ก็เป็นสิ่งที่สะท้อนว่าหุ้นกลุ่ม Fintech ยังคงมีความน่าสนใจ
BBLAM ขอแนะนำกองทุนเปิดบัวหลวงฟินเทค (B-FINTECH) ที่มีนโยบายลงทุนในกองทุน BGF FinTech Fund ซึ่งเป็นกองทุนในกลุ่ม BlackRock Global Funds ที่มุ่งหาผลตอบแทนในระยะยาวผ่านการลงทุนในบริษัททั่วโลกที่เกี่ยวข้องกับ Financial Services, IT Services และ Insurance ที่มีการใช้เทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาปรับปรุง
รวมถึงเปลี่ยนแปลงรูปแบบบริการทางการเงินแบบดั้งเดิมให้ดีขึ้น โดยกองทุน B-FINTECH สามารถลงทุนได้ด้วยเงินลงทุนเริ่มต้น 500 บาท
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ BBLAM
• โทร. 0 2674 6488 กด 8
• เว็บไซต์ BBLAM
• ลงทุนด้วยตนเองง่าย ๆ ผ่านโมบายแบงก์กิ้งธนาคารกรุงเทพ หรือ แอป BF Fund Trading จาก BBLAM
คำเตือน : การลงทุนมิใช่การฝากเงินและมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับเงินลงทุนคืนเต็มจำนวนเมื่อไถ่ถอน (ไม่คุ้มครองเงินต้น) / ผู้ลงทุนต้องศึกษาและทำความเข้าใจลักษณะสินค้า ข้อมูลสำคัญ นโยบายการลงทุน เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนการตัดสินใจลงทุน / กองทุนที่มีการลงทุนในต่างประเทศมิได้มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมด
ทั้งนี้ อยู่ในดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน ดังนั้น ผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนจากการลงทุนในกองทุนดังกล่าว หรืออาจได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ / ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
#BBLAM #กองทุนบัวหลวง #BFFundTrading #MobileBanking #ธนาคารกรุงเทพ #DigitalBank #DigitalBanking #FinTech #BlackRock
โฆษณา