1 ก.พ. เวลา 17:02 • ประวัติศาสตร์

ตอนที่ 3 จากหอไตรวัดระฆังโฆสิตาราม สู่ พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน ที่ประทับของล้นเกล้า รัชกาลที่ 1

หอไตร วัดระฆังโฆสิตาราม แต่เดิมเป็นบ้านของพระราช
วรินทร์ (ยศรับราชการก่อนขึ้นครองราชย์ของรัชกาลที่ 1) ซึ่งรับราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เมื่อพระ
ราชวรินทร์ เลื่อนขั้นในครั้งนั้น ท่านได้ถวายเรือนที่อยู่อาศัยข้างวัดให้กับวัดระฆัง
เมื่อเจ้าพระยาจักรี หรืออดีตพระราชวรินทร์ได้ปราบดาภิเษก ขึ้นเป็น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกแล้ว ก็ทรงคิดถึงเรือนเก่า จึงโปรดเกล้าฯให้เจ้าฟ้าฉิมไปดูว่าเรือนยังอยู่หรือไม่ เมื่อทรงทราบว่าเรือนยังอยู่ จึงโปรดเกล้าให้เจ้าฟ้า
ฉิมดัดแปลงเป็นหอไตรในสระน้ำ มุงหลังคาเสียใหม่ด้วยกระเบื้อง อาราธนาพระอาจารย์นาคมาเขียนจิตรกรรมฝาผนัง และให้ช่างลงลายรดน้ำบานประตูหน้าต่าง ฯลฯ โดยเฉพาะบานประตูนอกชานนั้นสำคัญมาก เพราะเป็นงานแกะสลักซึ่งถือว่าเจ้าฟ้าฉิมทรงงานด้วยพระองค์เอง
ภาพถ่ายและภาพวาดหอไตรวัดระฆัง จากปฏิทิน
ภาพจิตรกรรมฝาผนังในหอไตร วัดระฆังโฆสิตาราม
เมื่อเจ้าพระยาจักรีทรงปราบดาภิเษกเป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงสร้างพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน พระที่นั่งพระองค์นี้เป็นพระที่นังขนาดใหญ่ เป็นประธานของหมู่พระมหามณเฑียร มีรูปแบบเป็นสถาปัตยกรรมไทยประเพณี โดยเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน
ภายในประกอบด้วยพระที่นั่ง 3 องค์เรียงต่อกัน ได้แก่ พระที่นั่งองค์ตะวันออก พระที่นั่งองค์กลาง และพระที่นั่งองค์ตะวันตก โดยพระที่นั่งองค์ตะวันออกเป็นที่ประทับบรรทมของพระเจ้าอยู่หัว
พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อทรงรับบรมราชาภิเษกแล้วได้เสด็จฯไปประทับ ณ พระวิมานที่บรรทมในพระที่นั่งองค์ตะวันออกเป็นประจำ
ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าให้สร้างพระอภิเนาว์นิเวศน์เป็นราชมณเฑียร (เรือนหลวง) ภายในพระบรมมหาราชวัง โดยทรงเลือกบริเวณที่เรียกว่า "สวนขวา" เป็นที่จัดสร้างพระราชมณเฑียรขึ้นใหม่ สร้างในรูปแบบสถาปัตยกรรมของชาติตะวันตก
พระราชมณเฑียรแห่งนี้สร้างด้วยเครื่องไม้ประกอบอิฐ ปูน เป็นหลัก เมื่อเวลาผ่านไปจึงผุกร่อนจนต้องรื้อลงเกือบทั้งหมดและปรับพื้นที่เป็นสวนดังเช่นในปัจจุบัน
ภาพร่างสันนิษฐานกลุ่มอาคารโดยรอบพระอภิเนาว์นิเวศน์
บ้านเมืองเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย คนไทยมีรากเหง้าวัฒนธรรม...ว่าแล้วแม่เหน่งก็ขอจบตอนที่ 3 ด้วยวิวัฒนาการการแต่งกายของชายหญิงในรัชสมัยรัชกาลที่ 1 - รัชกาลที่ 4 นะเจ้าคะ...ชอบอ่ะ...ติดตามเป็นกำลังใจให้กับการเขียน
วังแห่งสยาม ตอนที่ 4 ด้วยนะคะ
โฆษณา