ตามรอยสถาปัตยกรรมแห่งอารยธรรมเขมร กับ 3 อัญมณีปราสาทหิน

ปราสาทตาเมือนธม - พระปรางค์สามยอด - ปราสาทพนมรุ้ง
เมื่อพูดถึง “อารยธรรมเขมร” หลายคนอาจนึกถึงนครวัด นครธม ในประเทศกัมพูชา แต่รู้หรือไม่ว่า ในประเทศไทยเองก็มีร่องรอยความยิ่งใหญ่ของอารยธรรมนี้หลงเหลืออยู่เช่นกัน ในรูปแบบของปราสาทหินอันวิจิตรตระการตา
วันนี้ เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับ 3 อัญมณีแห่งปราสาทหินในไทย ที่เป็นเสมือนหน้าต่างบานสำคัญสู่โลกของอารยธรรมขอมโบราณ ความลึกลับ ความศักดิ์สิทธิ์และความอลังการที่ซ่อนอยู่กำลังรอให้คุณค้นพบ!
จุดหมายแรกของเราวันนี้คือ ปราสาทตาเมือนธม ปราการหินทรายที่ยืนหยัดอยู่บนแนวชายแดนไทย-กัมพูชา สถานที่แห่งนี้ไม่ใช่แค่ปราสาทขอมโบราณทั่วไป แต่ยังเป็นศาสนสถานที่สันนิษฐานว่าเคยใช้เป็น “อโรคยาศาล” หรือโรงพยาบาลในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 โครงสร้างที่ยิ่งใหญ่ ทับซ้อนด้วยเรื่องราวทางประวัติศาสตร์และศิลปะขอม ทำให้ที่นี่เป็นจุดหมายที่นักเดินทางสายวัฒนธรรมไม่ควรพลาด!
อ้างอิงรูปภาพ : True travel
ปราสาทตาเมือนธม
ปราสาทตาเมือนธม เป็นปราสาทขอมที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มปราสาทตาเมือน ตั้งอยู่บนแนวเขาพนมดงรัก อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ คำว่า “ธม” ในภาษาเขมรแปลว่า “ใหญ่” สะท้อนถึงขนาดและความสำคัญของศาสนสถานแห่งนี้
ปราสาทสร้างขึ้นบนโขดหินธรรมชาติอันศักดิ์สิทธิ์ในรูปของ สยัมภูศิวลึงค์ เพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย โครงสร้างหลักประกอบด้วย ปราสาทประธาน ซึ่งเคยประดิษฐานศิวลึงค์, ปรางค์บริวาร 2 องค์ และ บรรณาลัย 2 หลัง ภายในตกแต่งด้วยลวดลายเทวรูปและจารึกอักษรขอมโบราณ
ประติมากรรมเด่น ๆ ของปราสาทเมือนธม
  • สลักภาพพระวิษณุ (Vishnu Relief)
• การสลักหินในปราสาทตาเมือนธมมีภาพของพระวิษณุ พระศิวะ และเทพเจ้าอื่นๆ สลักอยู่ตามผนังหินของปราสาท รูปพระวิษณุในท่าบรรทมสินธุ์เป็นหนึ่งในประติมากรรมที่เด่นและมีชื่อเสียง
• ตำแหน่ง : ภาพสลักนี้สามารถพบได้ที่ผนังของซุ้มประตูหลักและในส่วนต่างๆ ของปราสาท โดยเป็นจุดที่นักท่องเที่ยวสามารถถ่ายภาพและศึกษาประติมากรรมได้อย่างใกล้ชิด
  • ภาพพระศิวะและเทพเจ้าฮินดูอื่นๆ (Shiva and Hindu Deities)
• ปราสาทตาเมือนธมมีการสลักภาพพระศิวะในท่าต่างๆ และรูปเทพเจ้าฮินดูอื่นๆ อีกหลายองค์ เช่น ภาพพระอินทร์ พระพรหม เป็นต้น ภาพเหล่านี้มีความละเอียดในการสลักหินและมีความสำคัญในทางศาสนาฮินดู
• ตำแหน่ง : ภาพของพระศิวะและเทพเจ้าเหล่านี้สามารถพบได้ที่ซุ้มประตูหรือตามผนังด้านในของปราสาท โดยมีการจัดวางตามลำดับของความสำคัญและการใช้พื้นที่ภายในปราสาท
  • สลักลายดอกไม้และสัญลักษณ์ทางศาสนา (Floral and Religious Symbols)
• ในบางส่วนของปราสาทยังมีลวดลายที่สลักเป็นลายดอกไม้และสัญลักษณ์ทางศาสนาฮินดู ที่มีความละเอียดและสวยงามเป็นพิเศษ
• ตำแหน่ง : ลวดลายเหล่านี้มักจะพบในบริเวณที่เป็นเส้นทางเดินหรือบริเวณซุ้มประตูที่ใช้เป็นทางเข้าออกจากตัวปราสาทหลัก
ประติมากรรม : Ture Travel
วิธีการเดินทาง
การเดินทางไปปราสาทตาเมือนธมสามารถใช้ทางหลวงหมายเลข 24 จากจังหวัดสุรินทร์มุ่งหน้าไปอำเภอพนมดงรัก แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 2198 ไปยังตำบลตาเมียง จากนั้นตามป้ายบอกทางไปยังปราสาทตาเมือนธม 
ค่าเข้าชมและเวลาเปิด-ปิด
  • ค่าเข้า : ปัจจุบันไม่มีข้อมูลค่าเข้าเก็บจากนักท่องเที่ยว แต่แนะนำให้ตรวจสอบจากแหล่งข้อมูลท้องถิ่นก่อนเดินทาง
  • เวลาเปิด : เปิดทุกวันตั้งแต่ 08:00 น. ถึง 18:00 น.
กฎข้อห้ามและระเบียบของสถานที่
เนื่องจากปราสาทตาเมือนธมตั้งอยู่ใกล้เขตชายแดน ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่และหลีกเลี่ยงการเดินออกนอกพื้นที่ที่กำหนด เพื่อความปลอดภัย 
จุดเช็คอินและจุดถ่ายรูป
  • ปราสาทประธาน : จุดสำคัญที่ควรเยี่ยมชมและถ่ายรูป
  • ปรางค์บริวาร : สองหลังที่ตั้งอยู่ด้านหลังปราสาทประธาน
  • บรรณาลัย : สองหลังที่สร้างด้วยศิลาแลง ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้และตะวันตกเฉียงใต้ของปราสาทประธาน
  • สระน้ำ : สองสระที่ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของปราสาท
โบราณสถานในกลุ่ม “ปราสาทตาเมือน” ใกล้เคียง
  • ปราสาทตาเมือนโต๊ด : เป็นอโรคยาศาล หรือ สถานพยาบาลของชุมชนโบราณ โดยสร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 18 มีลักษณะเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีมุขยื่นทางด้านหน้า ก่อด้วยศิลาแลงและหินทราย มีบรรณาลัยอยู่ทางด้านหน้า กำแพงด้านหน้ามีสระน้ำเช่นเดียวกับอโรคยาศาลแห่งอื่นๆ
  • ปราสาทตาเมือน (บายกรีม) : เป็นปราสาทที่เล็กที่สุด และเป็นศาสนสถานใน พุทธศาสนาลัทธิมหายาน สันนิษฐานว่า สร้างขึ้นเพื่อเป็นธรรมศาลา หรือที่พักคนเดินทาง ซึ่งเป็น 1 ใน 18 แห่ง ที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ให้สร้างขึ้นเป็นเส้นทางผ่านช่องเขาจาก เมืองยโสธรปุระ หรือ เมืองพระนคร เมืองหลวงของอาณาจักรขอมโบราณ ไปยัง เมืองพิมายปุระ
กิจกรรมและความเชื่อ
  • พลังแห่งศิวลึงค์
ตามหลักศาสนาฮินดู ศิวลึงค์ เป็นสัญลักษณ์ของพลังแห่งการสร้างสรรค์ และการเกิดใหม่ ผู้คนมักมาขอพรเกี่ยวกับสุขภาพแข็งแรง ปัดเป่าโรคภัย ความสำเร็จในการงานและอำนาจบารมี เสริมสมรรถภาพทางกายและจิตใจ
  • ความเชื่อเรื่องการรักษาโรค
ปราสาทตาเมือนเป็นหนึ่งในโรงพยาบาลขอมโบราณ ที่สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 มีความเชื่อว่า น้ำจากสระโบราณและพลังจากสถานที่นี้สามารถช่วยรักษาโรคภัยได้ ซึ่งนักเดินทางในอดีตเคยมาที่นี่เพื่อทำพิธีกรรมชำระล้างร่างกายและจิตใจ
อ้างอิงรูปภาพ : google
ปราสาทพนมรุ้ง
ตั้งอยู่บนเนินดินทางด้านตะวันตกของทางรถไฟใกล้ศาลพระกาฬ มีลักษณะเป็นปรางค์เรียงต่อกัน 3 องค์ มีฉนวนทางเดินเชื่อมติดต่อกัน พระปรางค์สามยอดเป็นศิลปะเขมรแบบบายน มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 18 สร้างด้วยศิลาแลง และตกแต่งลวดลายปูนปั้นสวยงาม เสาประดับกรอบประตูแกะสลักเป็นรูปฤาษีนั่งชันเข่าในซุ้มเรือนแก้ว ซึ่งเป็นแบบเฉพาะของเสาประดับกรอบประตูศิลปะเขมรแบบบายน ปรางค์องค์กลางมีฐาน แต่เดิมเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป และมีเพดานไม้เขียนลวดลายเป็นดอกจันสีแดง
Q&A สั้น ๆ ก่อนไปศึกษา
Q: ดูอะไรดีให้เข้าใจงานศิลป์?
A: โฟกัสที่ลายแกะสลักบน หน้าบัน และ ทับหลัง เล่าเรื่องเทพเจ้าและตำนานต่างๆ ส่วนแผนผังปราสาทสะท้อนความเชื่อเรื่องจักรวาล
Q: อยากรู้ความลับของปราสาทขอม?
A: สังเกตการวางผังปราสาทดีๆ ตรงกลางแทน เขาพระสุเมรุ (ศูนย์กลางจักรวาล) รอบนอกคือ มหาสมุทร และปรางค์เล็กแทน ทวีปทั้ง 4 ทุกอย่างมีความหมาย!
สถาปัตยกรรมเด่นๆ
  • ปราสาทประธาน : เป็นโครงสร้างหลักของปราสาทพนมรุ้ง มีลักษณะเป็นปรางค์หินทรายสีชมพู ตั้งอยู่บนฐานสูง
  • สะพานนาคราช : เป็นทางเดินเข้าสู่ปราสาท มีรูปปั้นนาคราชสองข้างทาง
  • บันไดทางขึ้น : มีบันไดทางขึ้นสู่ปราสาทที่สวยงามและมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ ประติมากรรมเด่นๆ
  • ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ : เป็นทับหลังที่สลักภาพนารายณ์บรรทมสินธุ์ อยู่เหนือประตูทางเข้าปราสาท
  • รูปปั้นพระศิวะ : มีรูปปั้นพระศิวะหลายจุดภายในปราสาท
อ้างอิงรูปภาพ :Ture Travel
วิธีการเดินทาง
  • รถยนต์ส่วนตัว : จากตัวเมืองบุรีรัมย์ ใช้ทางหลวงหมายเลข 24 ไปทางอำเภอประโคนชัย แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 2117 ไปยังปราสาทพนมรุ้ง
  • รถโดยสารสาธารณะ : มีรถโดยสารจากบุรีรัมย์ไปยังอำเภอเฉลิมพระเกียรติ แล้วต่อรถสองแถวไปยังปราสาทพนมรุ้ง
ค่าเข้า เวลาเปิดปิด
  • ค่าเข้า : คนไทย 20 บาท, ชาวต่างชาติ 100 บาท
  • เวลาเปิดปิด : เปิดทุกวัน 06:00 - 18:00 น.
กฏข้อห้ามระเบียบของสถานที่
  • ห้ามปีนป่ายโบราณสถาน
  • ห้ามนำอาหารและเครื่องดื่มเข้าไปในเขตปราสาท
  • ห้ามสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ห้ามขีดเขียนโบราณสถาน
จุดเช็คอิน \ จุดถ่ายภาพ
  • สะพานนาคราช : เป็นจุดถ่ายภาพที่สวยงามและเป็นสัญลักษณ์ของปราสาท
  • ปราสาทประธาน : เป็นจุดเช็คอินหลักและจุดถ่ายภาพที่สวยงาม
  • จุดชมวิว : บริเวณรอบปราสาทมีจุดชมวิวที่สามารถมองเห็นทิวทัศน์ได้ไกล
สถานที่เที่ยวใกล้เคียง
  • ปราสาทเมืองต่ำ : อยู่ห่างจากปราสาทพนมรุ้งประมาณ 8 กิโลเมตร
  • เขื่อนลำนางรอง : เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงาม
กิจกรรมความเชื่อ
  • ขอพรด้านความรักและความสมหวัง : ผู้คนมักมาขอพรจากพระศิวะและพระนารายณ์
  • กิจกรรมไหว้พระ : มีการไหว้พระและทำบุญที่ปราสาท
อ้างอิงรูปภาพ : Ture Travel
ตั้งอยู่บนเนินดินทางด้านตะวันตกของทางรถไฟใกล้ศาลพระกาฬ มีลักษณะเป็นปรางค์เรียงต่อกัน 3 องค์ มีฉนวนทางเดินเชื่อมติดต่อกัน พระปรางค์สามยอดเป็นศิลปะเขมรแบบบายน มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 18 สร้างด้วยศิลาแลง และตกแต่งลวดลายปูนปั้นสวยงาม เสาประดับกรอบประตูแกะสลักเป็นรูปฤาษีนั่งชันเข่าในซุ้มเรือนแก้ว ซึ่งเป็นแบบเฉพาะของเสาประดับกรอบประตูศิลปะเขมรแบบบายน ปรางค์องค์กลางมีฐาน แต่เดิมเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป และมีเพดานไม้เขียนลวดลายเป็นดอกจันสีแดง
ลักษณะเด่นทางสถาปัตยกรรม
ปรางค์สามองค์เชื่อมต่อกัน มีลักษณะเป็นปราสาทขอม 3 องค์เรียงกันบนฐานเดียว เชื่อมถึงกันด้วยทางเดินแคบๆ
  • ปราสาทประธาน : สูงใหญ่กว่าอีก 2 องค์โครงสร้างทำจากสิลาแลงฉาบปูน ประดับด้วยปูนปั้น เสาประดับกรอบประตู : แกะสลักเป็นรูปฤาษีนั่งชันเข่าในซุ้มเรือนแก้ว ซึ่งเป็นแบบเฉพาะของเสาประดับกรอบประตูศิลปะเขมรแบบบายน
  • พระพุทธรูป : แกะสลักเป็นรูปฤาษีนั่งชันเข่าในซุ้มเรือนแก้ว ซึ่งเป็นแบบเฉพาะของเสาประดับกรอบประตูศิลปะเขมรแบบบายนเป็นศิลปะสมัยอยุธยาตอนต้น
  • สมัยพระนารายณ์ : สร้างพระวิหารก่อด้วยอิฐ ลักษณะสถาปัตยกรรมแบบอยุธยาผสมแบบยุโรปในส่วนของประตูและหน้าต่าง ภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปหินทรายปางมารวิชัย ศิลปะอยุธยาตอนต้น ปัจจุบันยังคงประดิษฐานอยู่กลางแจ้ง
วิธีการเดินทาง
  • รถส่วนตัว : ถ้ามาจากกรุงเทพฯ ให้ใช้ถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ผ่านจังหวัดสระบุรี เข้าสู่จังหวัดลพบุรี มาได้เลยหรือจะใช้ถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 ผ่านทางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อ่างทอง และสิงห์บุรี แล้วใช้ถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 311(สายสิงห์บุรี-ลพบุรี) ผ่านอำเภอท่าวุ้ง เข้ามาจังหวัดลพบุรีก็ได้ค่ะ
  • รถสาธารณะ : เริ่มต้นจาก สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ปลายทาง จังหวัดลพบุรี เราใช้บริการรถไฟขบวน 111 เป็นแบบนั่งปรับอากาศชั้น 3 (ไม่มีการจองตั๋วล่วงหน้า)จะเปิดจำหน่ายตั๋วก่อนรถไฟออก 1-2 ชั่วโมง ราคาตั๋วรถไฟแค่ 50 บาทเท่านั้น ซื้อตั๋วรถไฟได้ที่ ประตู 4 และขึ้นรถไฟได้ที่ ชานชาลา 1 โดยจะต้องขึ้นบันไดเลื่อนไปอีกชั้น ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมงถึงสถานีรถไฟลพบุรีแล้วเดินหรือต่อรถไปยังพระปรางค์สามยอด ระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร
กฏข้อห้ามและระเบียบของสถานที่
  • ห้ามปีนป่ายโบราณสถาน
  • ห้ามนำอาหารและเครื่องดื่มเข้าไป
  • ห้ามสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ห้ามขีดเขียนโบราณสถาน
  • แต่งกายให้เหมาะสมกับสถานที่
  • ห้ามให้อาหารลิงในบริเวณพระปรางค์สามยอด โดยสามารถให้ได้ในจุดที่มีการจัดเตรียมที่ด้านหน้าพระปรางค์สามยอด
  • รักษาความสะอาด
กิจกรรมความเชื่อ
มีเรื่องเล่าว่าลิงที่อาศัยอยู่รอบพระปรางค์สามยอดเป็นจำนวนมากนี้ จะมีความประหลาดอยู่อย่างหนึ่งคือไม่ว่าอย่างไรลิงก็จะไม่เข้ามาในตัวพระปรางค์ เชื่อกันว่าเป็นพื้นที่ที่ศักดิ์สิทธิ์ และเป็นพื้นที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาในอดีต
จุดเช็คอินพระปรางค์สามยอด
  • หน้าพระปรางค์สามยอด จุดเด่นของที่นี่คือปรางค์สามองค์ที่สร้างขึ้นในสมัยขอมโบราณ มีสถาปัตยกรรมแบบศิลปะบายน (คล้ายปราสาทนครวัด)ก่อด้วยศิลาแลงและตกแต่งด้วยลวดลายปูนปั้ถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของเมืองลพบุรีเลย
  • จุดถ่ายรูปคู่กับลิง ไฮไลต์อีกอย่างคือฝูงลิงที่อยู่รอบพระปรางค์ ถ้าใครอยากได้ภาพคูลๆ แนะนำให้ถือขนมล่อลิงมาถ่ายด้วย
  • สตรีทอาร์ตบนพื้นถนนหน้าพระปรางค์สามยอดเทศบาลเมืองลพบุรีได้สร้างแลนด์มาร์กใหม่ด้วยสตรีทอาร์ตบนพื้นถนนบริเวณสี่แยกหน้าปรางค์แขก เป็นจุดถ่ายภาพเช็คอินที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยว
สถานที่ท่องเที่ยวใกล้พระปรางค์สามยอด
  • วัดพระศรีมหาธาตุ ลพบุรี
อยู่เลยจากพระปรางค์สามยอดมาไม่ไกล ประมาณ 1-2 กิโล เป็นวัดอารามในตำบลท่าหินอำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี ตั้งอยู่ตรงข้ามกับสถานีรถไฟลพบุรี
- ไม่มีค่าเข้าชม
- เปิด 8.00-20.00 น.
  • ศาลพระกาฬ
ศาลพระกาฬ หรือเดิมเรียกว่า ศาลสูง เป็นโบราณสถานและศาสนสถานที่ตั้งอยู่กลางวงเวียนชื่อ วงเวียนศรีสุนทรบนถนนนารายณ์มหาราช ในเขตตำบลทะเลชุบศร อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของพระปรางค์สามยอด
- ไม่มีค่าเข้าชม
- เปิด 5.30-17.30 น.
  • พระนารายณ์ราชนิเวศน์ หรือ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสมเด็จพระนารายณ์
เป็นพระราชวังที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชโปรดให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2209 บนพื้นที่ 41 ไร่ ณ เมืองลพบุรี
- ค่าเข้าชมคนไทย 30 บาท ชาวต่างชาติ 150 บาท
- เปิด 8.30-16.00 น.
ปิดจันทร์,อังคารและวันหยุดนักขัตฤกษ์
อ้างอิง
Travel kapook.com (2568). ปราสาทเมือนธม สุรินทร์ โบราณสถานเก่าแก่แห่งแดนอีสานใต้. สืบค้นเมื่อ 11 มีนาคม 2568, จาก https://travel.kapook.com/view289069.html
กรมศิลปากร. อุทยานประวัติศาสตร์ปราสาทพนมรุ้ง. สืบค้นเมื่อ 11 มีนาคม 2568,จาก
Amazing Thailand. อุทยานประวัติศาสตร์ปราสาทพนมรุ้ง. สืบค้นเมื่อ 11 มีนาคม 2568,จาก
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดลพบุรี. (2564).พระปรางค์สามยอด. สืบค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2568, จาก https://lopburi.prd.go.th/th/content/category/detail/id/
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.). (2568). พระปรางค์สามยอด. สืบค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2568, จาก https://thai.tourismthailand.org/Attraction/พระปรางค์สามยอด
ตามรอยสถาปัตยกรรมแห่งอารยธรรมเขมร กับ 3 อัญมณีปราสาทหิน
ปราสาทตาเมือนธม - ปราสาทพนมรุ้ง - พระปรางค์สามยอด
การเดินทางผ่าน ปราสาทตาเมือนธม และปราสาทพนมรุ้ง พระปรางค์สามยอด ทำให้เราได้สัมผัสถึงความยิ่งใหญ่ของอารยธรรมขอมที่เคยรุ่งเรืองบนแผ่นดินไทย แต่ละสถานที่ไม่เพียงสะท้อนถึงศิลปะและสถาปัตยกรรมอันวิจิตร แต่ยังเต็มไปด้วยเรื่องราวทางศาสนาและความเชื่อที่ส่งต่อมาจนถึงปัจจุบัน
ไม่ว่าคุณจะเป็นสายประวัติศาสตร์ นักเดินทางที่หลงใหลในมนต์เสน่ห์ของโบราณสถาน หรือแค่อยากสัมผัสพลังแห่งอดีต การได้มาเยือนสถานที่เหล่านี้จะทำให้คุณเห็นคุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรม และอาจทำให้คุณมองประวัติศาสตร์ด้วยมุมมองใหม่
โฆษณา