15 มี.ค. เวลา 07:33 • ประวัติศาสตร์

หรือจะมีอารยธรรมที่อยู่เบื้องหลัง “อียิปต์โบราณ”?

“มหาพีระมิดแห่งกีซา (Great Pyramid of Giza)” ซึ่งเป็นหนึ่งใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก ไม่ใช่แค่เพียงเศษหินขนาดใหญ่ แต่คือหลักฐานแสดงความหลักแหลมในด้านวิศวกรรมและการคำนวณของคนในสมัยโบราณ
4
ตั้งแต่จุดที่ตั้งซึ่งอยู่ในจุดหลักสี่จุดพอดิบพอดี ไปจนถึงการใช้วัสดุอย่างหินแกรนิตขนาดยักษ์และหินปูนในการก่อสร้าง ทำให้นักประวัติศาสตร์หลายคนเชื่อว่าการก่อสร้างนี้อาจจะไม่ได้มาจากอัจฉริยภาพของชาวอียิปต์โบราณเพียงอย่างเดียว
1
หลายคนคิดว่านี่อาจจะเป็นการถ่ายทอดหรือการรับความช่วยเหลือจากองค์ความรู้ของอารยธรรมที่เก่าแก่กว่าสมัยอียิปต์โบราณ อารยธรรมก่อนที่จะมีการบันทึกประวัติศาสตร์
1
มหาพีระมิดแห่งกีซา (Great Pyramid of Giza)
จากการตรวจสอบหลักฐานทางโบราณคดี นักประวัติศาสตร์เชื่อว่าเป็นไปได้ว่าจะมีการใช้เครื่องไม้เครื่องมือที่ทำมาจากทองแดงเพื่อสร้างโบราณวัตถุสำคัญ และทำให้นักประวัติศาสตร์ตั้งคำถามว่าโบราณวัตถุเหล่านั้นอาจจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีในสมัยโบราณที่ยังไม่มีการค้นพบได้หรือไม่?
นอกจากนั้น จากการตรวจสอบ ก็พบว่า “มหาสฟิงซ์ (Great Sphinx of Giza)” มีอายุมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ในทีแรก ยิ่งทำให้ประเด็นที่ว่าอาจจะมีอารยธรรมในสมัยโบราณที่ก้าวล้ำนำหน้ากว่าที่คนในปัจจุบันรับทราบ คอยช่วยเหลือในการสร้างสิ่งก่อสร้างเหล่านี้หรือไม่? ทำให้ประเด็นนี้เกิดขึ้นมา
วันนี้เราลองมาหาคำตอบกันครับ
มหาสฟิงซ์ (Great Sphinx of Giza)
“มหาพีระมิดแห่งกีซา (Great Pyramid of Giza)” คือหนึ่งในสิ่งมหัศจรรย์แห่งโลกยุคโบราณที่ในปัจจุบัน ทั้งนักวิทยาศาสตร์ วิศวกร และนักประวัติศาสตร์ ยังคงสงสัยว่าสร้างได้อย่างไร เนื่องจากสเกลการสร้าง องศา เหลี่ยมมุม ทุกอย่างนั้นเป๊ะ ถูกต้องตามหลักทุกอย่าง
1
พีระมิดนี้ตั้งขนานไปกับทิศเหนือจริง ซึ่งในปัจจุบัน หากจะทำให้ได้อย่างนี้ก็ยังแทบจะเป็นไปไม่ได้ และพีระมิดนี้ก็ตั้งอยู่แทบจะพอดีเป๊ะกับทิศเหนือจริง
1
นั่นทำให้หลายคนตั้งคำถามว่าคนโบราณเมื่อหลักพันปีที่แล้วคิดและสร้างได้อย่างไร?
ผู้ที่เชื่อในทฤษฎีสมคบคิดบางคนก็คิดว่าผู้ที่สร้างพีระมิดอาจจะใช้หลักการเดินเรือดาราศาสตร์ โดยดูจากตำแหน่งดวงดาวเพื่อหาจุดที่ชัดเจน
อีกหนึ่งปริศนาก็คือการก่อสร้างตัวพีระมิด
มหาพีระมิดแห่งกีซานั้นสร้างด้วยหินปูนและหินแกรนิตกว่า 2.3 ล้านก้อน ซึ่งหินบางก้อนนั้นหนักกว่า 80 ตัน และจากการค้นคว้าทางโบราณคดี ก็เชื่อว่าหินเหล่านี้ถูกนำมาจากพื้นที่ที่ห่างออกไปกว่า 800 กิโลเมตร
2
เขาทำได้อย่างไร?
ในสมัยนั้น เครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ ยังจำกัด ต่อให้เป็นสมัยนี้ การจะขนย้ายหินก้อนมหึมาขนาดนั้นเป็นระยะทางยาวไกลก็ไม่ใช่เรื่องง่าย แล้วสมัยนั้นทำได้อย่างไร?
นี่ยิ่งเสริมปริศนานี้ให้เข้มข้นยิ่งขึ้น
และจากการตรวจสอบ ก็พบร่องรอยการกระเทาะ เจาะบนหินด้วยเครื่องมือต่างๆ ทำให้จินตนาการไปได้ไกลถึงความล้ำหน้าของชาวอียิปต์โบราณ
และปริศนาต่างๆ ที่ยังไขไม่ได้ก็นำไปสู่ทฤษฎีที่ว่าในอดีต อาจจะมีอารยธรรมหรือองค์ความรู้ที่สูญหาย ที่มาเอื้อในการก่อสร้างสิ่งที่ดูไม่น่าจะเป็นไปได้สำหรับคนยุคนั้น (แม้แต่ในยุคปัจจุบันก็ยังยาก)
1
ชาวอียิปต์โบราณนั้นหลักแหลมและรุ่งเรือง แต่ถึงอย่างนั้น การสร้างสิ่งก่อสร้างที่ยิ่งใหญ่อย่างพีระมิดขึ้นมาได้นั้น ก็ทำให้หลายคนยังสงสัยว่าเป็นไปได้จริงหรือ?
ปริศนาแรกก็คือร่องรอยการแกะสลักลงบนเครื่องไม้เครื่องมือที่ใช้ก่อสร้าง ทำให้เกิดข้อสงสัยว่าเครื่องมือที่ทำจากทองแดงในยุคนั้นจะสามารถแกะสลักภาพได้สวยงามเช่นนี้ได้เชียวหรือ?
2
นอกจากนั้น ความสมมาตรและได้สัดส่วนของหินแต่ละก้อนที่ตัดมาอย่างพอดีเป๊ะ ซึ่งนำมาสร้างพีระมิด ก็เป็นสิ่งที่เลียนแบบได้ยาก แม้แต่ในปัจจุบันที่มีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีต่างๆ มาช่วยก็ยังถือว่าเป็นงานยาก
1
การศึกษาบางอย่างก็เสนอแนวคิดว่าชาวอียิปต์โบราณน่าจะมีอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีบางอย่าง สร้างเครื่องมือก่อสร้างที่หมุนด้วยความเร็วไม่ต่างจากอุปกรณ์ที่ใช้ไฟฟ้าในปัจจุบัน
1
นั่นยิ่งทำให้หลายคนคิดว่า หรือว่าชาวอียิปต์โบราณจะมีการติดต่อกับอารยธรรมปริศนาที่ปัจจุบันยังไม่มีใครทราบ
และมหาพีระมิดแห่งกีซาก็ยังมีประเด็นเรื่องของการใช้ประโยชน์ โดยถึงแม้ว่าที่ผ่านมา เชื่อกันว่าพีระมิดนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่เก็บพระบรมศพ “ฟาโรห์คูฟู (Khufu)” แต่ก็มีทฤษฎีที่คิดว่าพีระมิดนี้เป็นมากกว่าแค่สุสานหลวง หากแต่เป็นเหมือนโรงไฟฟ้าที่แปรเปลี่ยนพลังงานธรรมชาติมาใช้ประโยชน์
และหนึ่งในสิ่งที่น่าสนใจของทฤษฎีนี้ ก็คือมีการโยงไปยังนักประดิษฐ์ชื่อดังชาวเซอร์เบียอย่าง “นิโคลา เทสลา (Nikola Tesla)”
นิโคลา เทสลา (Nikola Tesla)
เทสลานั้นเป็นนักประดิษฐ์อัจฉริยะในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 และเคยพยายามคิดค้นวิธีการส่งผ่านพลังงานไร้สาย
เทสลาคิดว่าเป็นไปได้ที่จะส่งผ่านพลังงานผ่านอากาศและพื้นดิน เพียงแต่ต้องอาศัยการสั่นสะเทือนและความถี่ของพลังงาน
และจากข้อมูลนั้น ก็พบว่าหลักการก่อสร้างพีระมิดแห่งกีซา ก็มีแนวคิดที่ตรงกับเทสลาในหลายๆ ส่วน เช่น ในตอนในของพีระมิด บริเวณห้องเก็บพระบรมศพองค์ฟาโรห์ วัสดุที่ใช้ก็มีหินแกรนิตที่มีส่วนผสมของแร่ควอตซ์ ซึ่งมีคุณสมบัติในการปล่อยพลังงานไฟฟ้า
1
นอกจากนั้น หลักการก่อสร้างต่างๆ ยังคล้ายคลึงกับแนวคิดของเทสลา ทำให้มีการโยงความเชื่อมโยงของเทสลากับการสร้างพีระมิด
หากเป็นเช่นนั้นจริง เป็นไปได้หรือไม่ที่ชาวอียิปต์โบราณหรือคนก่อนหน้านั้น จะมีองค์ความรู้ด้านพลังงานเทียบเท่ากับคนในยุคสมัยศตวรรษที่ 20
ความคิดที่ว่าอาจจะมีอารยธรรมโบราณก่อนหน้าอารยธรรมอียิปต์ เป็นแนวคิดที่นักประวัติศาสตร์ต่างสนใจมาเป็นเวลานาน
หลักฐานหนึ่งที่พอจะสนับสนุนได้ ก็คือ “มหาสฟิงซ์ (Great Sphinx of Giza)”
จากการตรวจสอบทางธรณีวิทยา พบว่ามีร่องรอยของน้ำฝนกัดเซาะ ซึ่งเป็นไปได้ว่าสฟิงซ์นี้อาจจะถูกสร้างขึ้นมาตั้งแต่ 9,000-12,000 ปีก่อน โดยดูจากช่วงเวลาที่อียิปต์ประสบกับฝนตกหนัก
4
การที่ย้อนเวลากลับไปได้นานขนาดนั้น หมายความว่าอาจจะมีอารยธรรมที่รุดหน้ากว่าอารยธรรมอื่นๆ อยู่เบื้องหลังการก่อสร้างสิ่งก่อสร้างเหล่านี้ก็เป็นได้
3
และหากเป็นเช่นนั้นจริง จะยังมีความลับอะไรที่เรายังไม่ทราบอีกหรือไม่?
โฆษณา