14 มี.ค. เวลา 11:55 • ความงาม

สะท้านทั้งวงการครีมกันแดด! ผลแลบฯ ไม่ตรงปกของ 20 แบรนด์อินฟลูฯ แล้วผู้บริโภคจะทำอย่างไร?

หลังจากผลการทดสอบค่า SPF (sun protecting factor)และค่า PA (Protection grade of UV) ของครีมกันแดดจาก 20 แบรนด์ของอินฟลูฯ ชื่อดัง โดยสภาผู้บริโภค ร่วมกับนิตยสารฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2568 ก็มีกระแสตอบกลับจากเสียงผู้บริโภคทั้งบวก และลบถึงขั้นประกาศว่า “เลิกใช้แบรนด์…ตลอดไป”
ผลออกมาว่าค่าการปกป้องผิวจากยูวีบี SPF ต่ำกว่า 50 ตามที่เคลมไว้มี 5 แบรนด์ และที่มีค่า PA ที่ไม่ตรงปกมี 4 แบรนด์ ทำให้เจ้าของแบรนด์บางแบรนด์ที่ได้รับผลกระทบออกมาชี้แจงถึงประเด็นนี้ว่า
การทดสอบประสิทธิภาพกันแดดของสภาผู้บริโภคที่ใช้วิธีแบบ In Vitro ที่ใช้เครื่อง Spectroscopy ในการสร้างรังสี UV จำลอง เพื่อหาค่าความสามารถในการทะลุผ่าน (Transmittance) แผ่นตัวอย่างที่ทาครีมกันแดด ให้ผลการทดสอบที่คลาดเคลื่อนสูง เพราะแม้กระทั่งวิธีการปาดครีมกันแดดบนแผ่นตัวอย่างที่ไม่เหมือนกันก็ให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงควรทดสอบการกันแดดหลายครั้งแล้วหาค่าเฉลี่ยออกมา
✮ คำถามที่เกิดขึ้นคือ สภาผู้บริโภค ทดลองค่ากันแดดของ 20 ตัวอย่างไปกี่ครั้ง?
คำตอบที่แท้จริงยังไม่ได้รับการยืนยัน แต่แบรนด์ที่ได้รับผลกระทบหลายแบรนด์ก็ได้ออกมาปกป้องผลิตภัณฑ์ของตัวเอง ด้วยการยืนยันผลตรวจทั้งแบบ In Vitro หลายครั้ง รวมถึงการตรวจแบบ In Vivo ที่ทดลองกับผิวมนุษย์จริงๆ กับหลักฐานที่หนักแน่นจากห้องแล็บที่ได้มาตราฐาน
ผู้ผลิตได้พลิกวิกฤติให้เป็นโอกาสกับดราม่านี้ ทั้งด้วยการสร้างยอดเอนเกจเมนต์ และทั้งเพิ่มความมั่นใจของผู้บริโภคได้มากกว่าเดิมไปอีก บางแบรนด์แปะเอกสารจากผลแล็บแต่ก็ไม่ได้การเทคแอกชั่นจากปากของเจ้าของแบรนด์ และบางแบรนด์เองก็เงียบสนิทไร้เสียงตอบรับ ซึ่งเหตุการณ์นี้ผู้บริโภคก็สามารถตัดสินได้ด้วยตัวเองว่าจะเลือกสนับสนุนอินฟลูฯ คนโปรดต่อไปได้จริงๆ ไหม
อย่างไรก็ตาม เมื่อมีครีมกันแดดที่ดีแล้วยังไม่พอ วิธีการเก็บและใช้ก็ยังสำคัญพอกัน ไม่ว่าการเก็บครีมกันแดดไว้ในที่แห้ง ปริมาณการทาต้องทาให้ถึง การทาซ้ำระหว่างวันก็จำเป็น รวมถึงอายุขัยของครีมกันแดดที่อยู่ได้ 3 ปีก็ควรต้องพึงระวัง
พญ.ของขวัญ ฟูจิตนิรันดร์ ได้พูดถึงเหตุการณ์นี้ว่า “ทำไมสภาผู้บริโภคเอาไปตรวจแล้ว SPF ไม่ถึง?” คำตอบอยู่ที่ “ความเสถียรของกันแดด ถ้ากันแดดไม่เสถียร ค่า SPF จะลดลงไปเรื่อยๆ ถึงแม้ว่าจะตรวจออกจากโรงงานได้ SPF 50 PA+++ พอถึงมือผู้บริโภคอาจจะเหลือแค่ 5 กันแดดที่ดี ต้องเป็นกันแดดที่เสถียร”
“กันแดดเป็นสิ่งที่ไม่ควรตุน มันไม่ใช่สิ่งของหายาก พอหมดหลอดนึงให้ซื้อหลอดใหม่เพื่อให้ได้ล็อตที่สดเสมอ” คุณหมอของขวัญ ยังเตือนสติชาวเน็ต เพราะครีมกันแดดมีอายุเพียงแค่ 3 ปีและเสื่อมลงตามกาลเวลา
ครีมกันแดดมี 3 ประเภท ได้แก่ ครีมกันแดดแบบ Physical, Chemical และ Hybrid และสิ่งที่ต้องตระหนักสำหรับครีมกันแดดคือ บทความท่ีผ่านความเห็นชอบจากมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ประเทศออสเตรเลีย ระบุว่า
ลำดับการทาลงบนผิวของทั้งสองประเภทนี้ยังไม่เหมือนกันอีกด้วย หลักการง่ายๆ คือ เคมีควรแนบกับผิวโดยตรง ซึ่งควรทาก่อนมอยซ์เจอไรเซอร์ และฟิสิกส์คือชั้นสุดท้ายที่ทำหน้าที่เป็นเกราะให้ผิว ที่ทาหลังมอยส์เจอไรเซอร์ได้ และทาซ้ำระหว่างวันได้
ทั้งนี้ไม่ได้มีข้อห้ามหรือข้อเสียในการเลเยอร์ครีมกันแดดต่างชนิด หรือต่างแบรนด์ทับกัน แต่การฝากความผิวหน้าไว้กับเมคอัพที่ผสมกันแดดเพียวๆ อย่างเดียวคงไม่ดี เพราะประสิทธิภาพไม่เท่ากับครีมกันแดด
สุดท้ายแล้วผลตอบรับของการทดลองจากสภาผู้บริโภค ได้สร้างแรงกระเพื่อมถึงทั้งเจ้าของแบรนด์และผู้บริโภค เพื่อยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยของสินค้ารวมถึงคุ้มครองผู้บริโภค และไม่ว่าดราม่าระหว่าง “ร่างจริยธรรมของอินฟลูเอนเซอร์” จะเป็นอย่างไรก็ตาม แต่จะเป็นประโยชน์อย่างมากให้กับทุกๆ ฝ่ายอย่างแน่นอน
อ้างอิง
โฆษณา