22 มี.ค. เวลา 00:12 • การเมือง

ทำไมทรัมป์อยากรีบยก “ไครเมีย” ให้รัสเซียอย่างเป็นทางการ เร่งตีซี้กับปูติน

“ซีมัวร์ เฮิร์ช” เปิดเผย (แฉ) อีกแล้ว
ซีมัวร์ เฮิร์ช นักข่าวอเมริกันสายสืบสวนที่รายงานช็อคโลกไปเมื่อสองสามปีก่อนเกี่ยวกับการก่อวินาศกรรมท่อก๊าซนอร์ดสตรีมในทะเลบอลติก ล่าสุดเขากลับมาแฉเรื่องราวเกี่ยวกับทรัมป์และปูตินเรื่อง “ไครเมีย” บนหน้า Substack ของเขาเมื่อ 21 มีนาคม 2025
1
เช่นเคยเขาอ้างแหล่งข่าวที่ไม่เปิดเผยตัวตนรายงานว่า ทรัมป์สนใจที่จะสร้างและฟื้นฟูความสัมพันธ์อันดีกับรัสเซียและร่วมมือกันในทางที่เป็นประโยชน์ โดยรวมถึงพิจารณาความเป็นไปได้ที่จะยกเลิกหรือผ่อนคลายมาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐที่มีต่อรัสเซีย
“ความทะเยอทะยานของทรัมป์คือการยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจที่มีต่อรัสเซียในปัจจุบัน และผูกมิตรไมตรีสร้างความร่วมมือที่ดีกับปูติน เพื่อเปลี่ยนไครเมียให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวและรีสอร์ทระดับนานาชาติที่สำคัญ (ผ่านการลงทุนของทรัมป์)” เฮิร์ชเขียนบนแพลตฟอร์ม Substack [1]
รวมถึง “ดอนบาส” ก็เป็นส่วนหนึ่งของแผนการนี้ของพวกเขาด้วยเช่นกัน เฮิร์ชกล่าว
เครดิตภาพ: CRUX
ก่อนหน้านี้แหล่งข่าวของ Semafor ก็รายงานว่า รัฐบาลทรัมป์กำลังพิจารณาอย่างจริงจังถึงความเป็นไปได้ใน “การรับรองไครเมียให้เป็นภูมิภาคหนึ่งของรัสเซียอย่างเป็นทางการ” (รับรองในระดับนานาชาติ) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการแก้ไขความขัดแย้งและยุติสงครามในยูเครน [2]
แหล่งข่าวของ Semafor ดังกล่าวระบุว่า ทำเนียบขาวจะเปิดโอกาสให้มอสโกได้ยื่นอุทธรณ์ต่อสหประชาชาติโดยขอให้รับรองไครเมียว่าเป็นของรัสเซียอีกครั้ง นักข่าวตั้งข้อสังเกตว่าสหรัฐฯ ยังไม่ได้ตัดสินใจใดๆ แต่การหารือเกี่ยวกับประเด็นนี้ยังคงดำเนินต่อไป
มิคาอิล เชเรเมต สมาชิกสภาดูมาของรัสเซียแสดงความเห็นว่า “ทรัมป์มีจุดยืนที่สมเหตุสมผลและวิสัยทัศน์ที่อยู่บนความเป็นจริง” การรับรองสถานะไครเมียของรัสเซียจะเป็นการสานต่อนโยบายของตัวทรัมป์เอง เขายังกล่าวเสริมด้วยว่า ผู้นำสหรัฐฯ อาจรับรองการผนวกดินแดนดอนบาส เคอร์ซอน และซาปอริซเชียเข้ากับรัสเซียได้เช่นกัน [3]
เครดิตภาพ: Christian Hartmann/Reuters
  • ทรัมป์เคยพูดถึงไครเมียไว้อย่างไร
ในช่วงดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐสมัยแรกของทรัมป์ เขาบอกว่าไม่ได้ตัดความเป็นไปได้ในการรับรองสถานะของไครเมียว่าเป็นดินแดนของรัสเซีย ในปี 2018 เมื่อทรัมป์ถูกถามว่าสหรัฐจะรับรองการคืนคาบสมุทรไครเมียให้กับรัสเซียหรือไม่ในงานประชุมของกลุ่มผู้นำ G7 [4]
1
ไมค์ ปอมเปโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐในตอนนั้น เน้นย้ำว่าทรัมป์มองว่าการที่รัสเซียกลับคืนสู่ประชาคมโลกเป็นสิ่งที่ “หลีกเลี่ยงไม่ได้” ตามที่เขากล่าว รัสเซียอาจจำเป็นต้อง “ยอมประนีประนอม” แต่ไม่มีการพูดถึงการส่งไครเมียกลับคืนให้ยูเครน ปอมเปโอกล่าวเสริมว่าทรัมป์ยังคงถือว่า “การผนวกไครเมียในปี 2014” เป็นสิ่งผิดกฎหมาย ซึ่งเป็นสาเหตุที่รัสเซียถูกขับออกจากกลุ่ม G7
  • จุดยืนของรัสเซีย
เมื่อ 18 มีนาคม 2025 ประธานาธิบดีของรัสเซียและสหรัฐอเมริกาได้สนทนากันทางโทรศัพท์ โดยผู้นำทั้งสองไม่ได้มีการหารือเกี่ยวกับปัญหาดินแดนที่เกี่ยวข้องกับไครเมียและภูมิภาคใหม่ของรัสเซียแต่อย่างใด ดมิทรี เปสคอฟ โฆษกเครมลินกล่าว [5]
“เหตุการณ์สำคัญที่แท้จริงสำหรับประชาชนในเซวาสโทพอลและไครเมียคือวันที่ 16 มีนาคม 2014 เมื่อพวกเขาได้ตัดสินใจอย่างแน่วแน่และชัดเจนที่จะเข้ามาอยู่กับรัสเซียตลอดไป วันนี้ไครเมียและเซวาสโทพอลเป็นดินแดนส่วนสำคัญของรัสเซีย” ปูตินเน้นย้ำ
พิธีลงนามผนวกไครเมียเข้ากับรัสเซียเมื่อปี 2014 เครดิตภาพ: Maxim Shemetov/Reuters
เรียบเรียงโดย Right Style
22nd Mar 2025
  • อ้างอิง:
<เครดิตภาพปก: Getty Images, Taylor Calley / Forbes>
โฆษณา