23 มี.ค. เวลา 01:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ

3 โมเดล 'รัฐซื้อหนี้' แก้หนี้เสีย NPL จากประสบการณ์ทั่วโลก

แนวคิดการซื้อหนี้เสีย (NPL) จากประชาชนกลายเป็นประเด็นร้อนหลังอดีตนายกฯ ทักษิณ เปิดเผยว่าได้ปรึกษากับนายกฯ แพทองธาร เกี่ยวกับการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนด้วยการซื้อหนี้จากสถาบันการเงิน เพื่อช่วยให้ประชาชนมีความคล่องตัวในการดำเนินชีวิตและประกอบอาชีพ
หลายประเทศเคยใช้แนวทางนี้แก้วิกฤติการเงินและช่วยเหลือประชาชน โดยมีรูปแบบหลากหลายตามบริบททางเศรษฐกิจ
📌 โมเดลที่ 1 รัฐบาลซื้อหนี้ NPL โดยตรง
รัฐใช้งบประมาณซื้อหนี้เสียจากสถาบันการเงินโดยตรง เช่น สหรัฐฯ เคยใช้มาตรการ TARP ในปี 2008 โดยใช้งบประมาณ 700,000 ล้านดอลลาร์ซื้อหนี้เสียจากธนาคาร ช่วยรักษาเสถียรภาพระบบการเงินแต่ใช้งบประมาณมหาศาล
อีกแนวทางคือการตั้งหน่วยงานบริหารสินทรัพย์ (AMC) เช่นไทยเคยตั้ง TAMC หลังวิกฤติต้มยำกุ้ง ช่วยให้ธนาคารปล่อยสินเชื่อใหม่ได้เร็วและลดภาระหนี้ประชาชน แต่อาจเกิดปัญหาธรรมาภิบาลหากขาดการตรวจสอบที่ดี
1
📌 โมเดลที่ 2 รัฐสนับสนุนกลไกทางการเงินเพื่อระดมทุน
แนวทางแรกคือออกพันธบัตรระดมทุน เช่น เกาหลีใต้หลังวิกฤติปี 1997 ออกพันธบัตร 65,000 ล้านดอลลาร์ซื้อหนี้เสีย ไม่กระทบงบประมาณทันทีแต่มีภาระดอกเบี้ยในอนาคต
แนวทางที่สองคือตั้งกองทุนร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (PPP Fund) ช่วยลดภาระงบประมาณรัฐ แต่เอกชนอาจเน้นทำกำไรมากกว่าช่วยลูกหนี้
📌 โมเดลที่ 3 การแยกหนี้เสียเป็น Bad Bank
จัดตั้งสถาบันการเงินเฉพาะเพื่อรับโอนหนี้เสียจากธนาคารพาณิชย์ เช่น เยอรมนีเคยทำ ทำให้ธนาคารหลักกลับมาปล่อยสินเชื่อใหม่ได้เร็ว แต่อาจเกิดปัญหาหากนักลงทุนไม่เชื่อมั่นและหนี้เสียมีมากเกินไป
โฆษณา