Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ความเรียงในวันที่นึกได้
•
ติดตาม
17 พ.ค. เวลา 04:00 • ไลฟ์สไตล์
แก้วมัค(Mug)พอร์ซเลน(Porcelain)
ของใช้ประจำตัวมี่ผมจะเรื่องมากหน่อยนอกจากปากกาก็เป็นพวกแก้วน้ำครับ
เหตุที่ต้องเรื่องมากเพราะผมไม่ชอบพวกเครื่องแก้ว (Glass)ครับ มันดูเปราะบางกับแตกง่าย
ถ้าเป็นเครื่องแก้วมักจะเสริฟให้ลูกค้ามากกว่าจะใช้งานเอง
แก้วน้ำปกติที่ใช้งานจะใช้เป็นแก้วเซรามิกมีหูจับที่เรียกว่าแก้วมัค(Mug)มากกว่าจะใช้แบบอื่น
ชอบเพราะมีหูจับนี่ล่ะครับ ใช้งานดี
...
อันว่าแก้วมัคก็คือแก้วกาแฟที่ใช้เรียกกันทั่วไปแต่มีขนาดใหญ่กว่าแก้วกาแฟ(Cup) จนน่าจะเรียกเหยือกขนาดเล็กมากกว่า
ครับ มันดูใหญ่ หนา แข็งแรง ตรงตามเป้าประสงค์
อ้าว แล้วมันไม่แตกรึ?
แตกครับถ้าทำตก
แล้วมันต่างกับแก้วปกติ(Glass)ยังไง?
มันมีหูจับ ตัวแก้วดูจะหนากว่า เก็บความร้อนได้ดีในบางรุ่น
เดี๋ยว แก้วปกติก็มีหูจับนะ
เอ่อ...
กลัวแก้วแตกแต่ไม่กลัวแก้วเซรามิคแตก ประหลาด
อ่า เหตุผลคือชอบอะไม่ใช่เรื่องอื่น
แค่นี้ก็สิ้นเรื่อง
เอาเข้าจริงผมมีพวกแก้วเซรามิกเก็บไว้หลายใบ ส่วนใหญ่เป็นแก้วกาแฟแก้วชาแบบปกติเพราะชอบดื่มชากาแฟ บางทีก็มีคนให้มาบ้างเป็นพวกศิลาดลอะไรประมาณนี้ ส่วนที่เป็นแบบแก้วมัคก็มีคนให้มาหลายใบกับเป็นของแถมมือถือบ้าง แบงค์ให้ปีใหม่บ้าง
ใช้มาก็มีทำแตกเอง แม่บ้านทำแตก บางใบก็เก่าแล้วตัวเคลือบภายในเป็นรอยขูดขีดเยอะสีเปลี่ยนก็เก็บขึ้น
ซื้อมาอีกหลายใบ ดีไซน์มินิมอล สุดท้ายก็แตกเรียบ
แม่บ้านทำแตกหมดเพราะหลุดมือตอนล้าง เหลือแค่ใบเดียวที่เป็นของแถมได้มาจากซื้อช็อกโกแลต สภาพสวยดี ใบหนาหนัก เสียแค่สีเข้มทั้งด้านในด้านนอก ทำให้มองไม่ค่อยเห็นคราบสกปรกสักเท่าไหร่
ครั้นแม่บ้านทำแตกบ่อยเข้าผมเลยเปลี่ยนทั้งกาน้ำชากับแก้วมัคที่ใช้ประจำมาเป็นโลหะทั้งหมดทั้งที่ไม่ชอบใจนัก
แต่ทำไงได้ มันทนมือทนไม้กว่าปกติ
...
ผมไปควานหาแก้วโลหะแต่เคลือบด้วยเซรามิกยี่ห้อแพงจากญี่ปุ่นมาได้ใบหนึ่ง ใช้งานดีนะครับ เก็บความร้อนดีมาก แค่มันเอาเข้าไมโครเวฟไม่ได้
ใช้มาได้สักพัก เห็นเหมือนตัวเคลือบหลุดล่อนจนเห็นเนื้อโลหะเลยเก็บขึ้นดีกว่า
ว่าง เลยนั่งไถดูแก้วมัคใบใหม่ ตั้งใจว่าเอาเป็นเซรามิกดีกว่า จะแตกก็ค่อยมาว่ากัน
ไถไปไถมาก็สะดุดกับแก้วใบหนึ่งที่ดูแปลกตานิดหน่อย แต่ไม่ได้มากเกิน ราคาสูงหน่อยแต่จับต้องได้
ตัวแก้วจากเน็ตดูจะหนากว่าปกติ คุณสมบัติที่บอกไว้ว่าเป็นพอร์ซเลน(Porcelain)เผาที่อุณหภูมิ1,300°Cทำให้เก็บความร้อนได้ดี ทนทานกว่าแก้วเซรามิกทั่วไปและเป็นยี่ห้อที่ร้านกาแฟนิยมใช้กัน
อะจิงดิ!
ชื่อยี่ห้อคือLoveramicsครับ
แบ๊ะๆๆ
ไม่รู้จักยี่ห้อนี้เหมือนกัน แค่ว่ามันก็ดูดีนะ เลยกดสั่งมา แล้วก็รอ
พอมาถึง เออ มันดูดีเหมือนกัน
ตัวแก้วหนากว่าปกติจริงเมื่อเทียบกับที่เคยใช้และเทียบกับตัวที่ใช้อยู่ น้ำหนักมาก มีตราสินค้าที่ฐานด้านล่าง
แก้วที่ว่าครับ ทั้งหนาทั้งหนัก
สีที่สั่งมาคือTaupe(โทป) เป็นสีน้ำตาลอมเทา ข้างในแก้วเป็นสีขาวซึ่งดีครับเวลามีคราบสกปรกจะได้เห็น
จับถนัดมือทั้งที่รู้สึกว่ามีขนาดเล็กกว่าปกติ ไม่บาดปากเวลาดื่ม แต่เสียดายว่าปริมาตรที่ได้มาเป็น250มล. เล็กไปหน่อยเพราะปกติแก้วที่ใช้จะประมาณ300มล.++
เทียบกับแก้วที่ได้มาครับ Loveramicsหนากว่าชัดเจน
เอาน่า หยวนๆ ชอบรูปร่างมันมากกว่า
ลองใช้มาสักพักก็พบว่ามันก็คือแก้วมัคเซรามิกทั่วไปนี่ล่ะ แค่น่าจะเก็บความร้อนได้ดีกว่าปกติทั่วไป แต่ที่ชอบมากคือไม่บาดปากเวลาดื่มนี่ล่ะ เออร์โกโนมิคดี
...
แล้วแก้วมัคเซรามิกกับพอร์ซเลนแตกต่างกันตรงไหนฤาท่าน?
ต่างกันที่วัสดุที่ใช้ในการทำกับอุณหภูมิในการเผาไง
เซรามิกจะทำจากดินเหนียว เผาที่อุณหภูมิไม่สูงนัก ข้อดีคือราคาไม่แพง ผลิตได้ง่าย แต่ไม่เก็บความร้อนแถมยังเปลี่ยนสีได้เมื่อใช้ไปนานๆ
ส่วนพอร์ซเลนจะทำจากดินเหนียวละเอียดที่เรียกว่าดินขาว เผาที่อุณหภูมิสูงกว่าเซรามิก ผลที่ได้คือเนื้อจะแกร่งกว่า ทนกว่า ผิวเนียนเรียบเมื่อสัมผัส ข้อเสียคือราคาแพงกว่าเนื่องจากกระบวนการผลิต
ส่วนยี่ห้อLoveramicsนี้เขาเคลมว่าเป็นยี่ห้อที่ร้านค้านิยมใช้กันเพราะความถึกทน ส่วนเรื่องน้ำหนักนี่บอกเลยว่าหนักกว่าปกติจริง
ไปค้นดูพบว่ามันเป็นยี่ห้อจากอังกฤษและร้านกาแฟนิยมใช้กันแพร่หลาย ทนมาก
คงจะจริง ด้วยตัวแก้วดูหนากว่าปกติอย่างที่บอกกล่าวมา
ราคาสูงกว่าปกติแต่ไม่มากเกินถ้านับว่าเป็นยี่ห้อดัง
มีหลายแบบหลายขนาด แต่เท่าที่ดูก็ขนาดทั่วไปนะครับ 250-300มล. สีก็ปกติเหมือนชาวบ้าน แต่การออกแบบนั้นขอบอกว่าจับได้ถนัดมือจริงๆ อันนี้ชอบมาก ขอบก็ไม่บาดปาก
ถ้าอยากลองก็ซื้อหามาใช้ดูครับ
ส่วนผมยังเล็งๆอยู่ คราวหน้าจะเลือกใบใหญ่หน่อย
กิเลสครับ กิเลส ไม่ใช่เรื่องอะไร
บันทึก
5
2
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
เห็น-คิด-เขียน
5
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย