20 เม.ย. เวลา 12:59 • สุขภาพ

ขนม "ลาบูบู้" ระบาดช่วงสงกรานต์ อันตรายอย่างไร

ศูนย์พิษวิทยารามาธิบดี รายงานผู้ได้รับผลกระทบจากการใช้สารเสพติดชนิดหนึ่งในรูปขนมลายการ์ตูน โดยได้รับ Code name ในหมู่ผู้ใช้ว่า “ขนม” และ/หรือ “ลาบูบู้”
โดยมีผู้ใช้จำนวนมากในช่วงสงกรานต์ และมีรายงานผู้ใช้มีอาการหมดสติ กล้ามเนื้อเกร็ง หยุดหายใจ และหัวใจหยุดเต้น โดยขณะนี้มีผู้เสียชีวิตจากการใช้สารเสพติดดังกล่าว จำนวน 2 ราย และอาการสาหัส 1 ราย
ทำให้เกิดความกังวลในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่า อาจมีผู้เสพที่ได้รับผลกระทบต่อร่างกาย และมีอาการรุนแรงเพิ่มมากขึ้น
โดยผลการวิเคราะห์ล่าสุดพบว่า ขนมดังกล่าวมีส่วนผสมของ MDMA สูงมากกว่า 50%
MDMA เป็นสารออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง (CNS stimulant) ที่จัดอยู่ในกลุ่มสารกระตุ้น (stimulants) และสารหลอนประสาท (entactogens/psychedelics)
โดยมีกลไกกระตุ้นผ่านสารสื่อประสาท 3 ชนิด คือ เซโรโทนิน (5-HT), โดปามีน (DA) และนอร์เอพิเนฟรีน (NE)
ฤทธิ์กระตุ้นดังกล่าวทำให้ผู้ที่ได้รับสารมีภาวะ เคลิ้นสุข หูแว่ว ประสาทหลอน ความวิตกกังวล กระสับกระส่าย หัวใจเต้นเร็ว (tachycardia) ใจสั่น หากได้รับในขนาดสูงจะทำให้หมดสติและเสียชีวิตได้
1
เมื่อเข้าสู่ร่างกาย MDMA จะเริ่มออกฤทธิ์ 30–60 นาทีหลังรับประทาน และจะมีขนาดสูงสุดในกระแสเลือดที่ราว 1.5–2 ชั่วโมงหลังรับประทาน MDMA สามารถผ่าน blood-brain barrier ได้ดี จึงออกฤทธิ์ที่สมองได้โดยตรง
แม้จะยังไม่แน่ชัด แต่คาดว่าขนมลาบูบู้ มีส่วนผสมของ MDMA ร่วมกับสารเสพติดชนิดอื่น ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิต หากได้รับในขนาดสูง
แต่ถึงจะไม่เสียชีวิต MDMA ก็ส่งผลระยะยาวที่น่ากลัวต่อสุขภาพ เช่น เกิดความเสียหายต่อเซลล์ประสาท (neurotoxicity) มีปัญหาในการสร้างความทรงจำระยะสั้น ควบคุมอารมณ์ได้แย่ลง นอกจากนี้ยังเพิ่มความเสี่ยงต่ออาการอยากยา และการติดสารเสพติดชนิดอื่น ยังไม่นับความเสียหายทางเศรษฐกิจ ผลกระทบต่อครอบครัว
MDMA ส่งผลกระทบต่อหลายระบบในร่างกาย โดยเฉพาะระบบประสาทส่วนกลาง ระบบหัวใจและการทำงานโดยรวมของร่ายกาย สามารถสร้างอันตรายถึงชีวิต ทั้งต่อตนเองและคนรอบข้าง จึงควรให้ความรู้และตระหนักแก่เยาวชน เพื่อให้ห่างไกล ยานรกเหล่านี้
อ้างอิง
Liechti, M. E. (2017). Modern Clinical Research on MDMA (Ecstasy). Pharmacology & Therapeutics, 175, 198–210.
DOI: 10.1016/j.pharmthera.2017.02.004
Green, A. R., Mechan, A. O., Elliott, J. M., O'Shea, E., & Colado, M. I. (2003). The Pharmacology and Clinical Pharmacology of 3,4-Methylenedioxymethamphetamine (MDMA, “Ecstasy”). Pharmacological Reviews, 55(3), 463–508.
DOI: 10.1124/pr.55.3.3
โฆษณา