Miyazaki เองได้แสดงความไม่เห็นด้วยอย่างรุนแรงต่อศิลปะ ที่สร้างโดย AI โดยกล่าวว่ามันเป็น "การดูถูกชีวิต" (insult to life itself)
ความง่ายดายที่ AI สามารถจำลองสไตล์ศิลปะที่ซับซ้อนได้ในขณะเดียวกันก็ทำให้ผู้สร้างสรรค์เกิดความกังวลเกี่ยวกับอนาคตของอาชีพของตนและความสำคัญของการแสดงออกทางศิลปะ
กฎหมายลิขสิทธิ์ปัจจุบันมักกำหนดให้ต้องมีผู้สร้างที่เป็นมนุษย์เพื่อรับการคุ้มครอง เมื่อเร็วๆ นี้ ศาลสหรัฐในกรุงวอชิงตัน ดีซี ก็ได้ตัดสินว่า AI ไม่สามารถเป็นเจ้าของงานซึ่งมีลิขสิทธิ์ได้
แม้ว่าบางคนอาจแย้งว่าผู้ใช้ที่ป้อนคำสั่งให้ AI สร้างสรรค์ผลงานนั้นถือเป็นผู้สร้าง แต่ขอบเขตของความคิดสร้างสรรค์และการควบคุมผลลัพธ์สุดท้ายของพวกเขายังคงเป็นหัวข้อของการถกเถียงทางกฎหมายอย่างต่อเนื่อง
มีคดีหลายคดีที่เป็นข้อพิพาทระหว่างลิขสิทธิ์กับ AI เช่น คดี Authors Guild v. OpenAI ที่สมาคมนักเขียนฟ้อง OpenAI ว่า ละเมิดลิขสิทธิ์โดยใช้ผลงานของนักเขียนในการฝึกฝน ChatGPT
หรือคดี The New York Times v. OpenAI ที่ฟ้องเดียวกันร้องในทำนองเดียวกัน คดี Getty Images v. Stability AI ที่ฟ้องว่า AI ใช้รูปภาพจากเว็บ Getty Images เป็นต้น
"Ghibli effect" เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนถึงความจำเป็นที่กฎหมายลิขสิทธิ์จะต้องปรับตัว ให้เข้ากับการพัฒนาอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี AI เพื่อปกป้องสิทธิและแหล่งเลี้ยงชีพของ ผู้สร้างสรรค์ในยุคดิจิทัล