"กนกนารีสีฟ้า" พืชวงศ์เฟิร์นสีแปลกตา จากผืนป่าคลองลาน

กนกนารีสีฟ้า เป็นไม้วงศ์เฉพาะ ที่เป็นญาติของเฟิร์น ชื่อวงศ์ว่า Selaginellaceae และมีเพียงสกุลเดียวเท่านั้นคือ Selaginella ได้ชื่อสามัญว่า Spike Moss family จัดเป็นญาติของเฟิร์นในกลุ่มที่เรียกว่า lycopods ดูคล้ายเฟิร์นจริง
เป็นพืชที่มีระบบท่อลำเลียง ที่มีลักษณะของพืชโบราณจากซากฟอสซิลทำให้ทราบว่า พืชสกุลนี้ปรากฎขึ้นบนโลกใบนี้ยาวนานมากแล้ว และมิได้มีวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงไปจากอดีตเท่าไรนัก โดยยังคงลักษณะโบราณเอาไว้ได้ บางคนจึงเรียกมันว่า ฟอสซิลมีชีวิต Living Fossil
การเจริญเติบโตอยู่ในธรรมชาติที่สภาพหลากหลาย แต่ส่วนมากจะขึ้นอยู่บนดิน มีน้อยที่เป็นไม้เกาะตามต้นไม้หรือก้อนหิน สภาพนิเวศน์ธรรมชาติที่พบกนกนารีได้บ่อย เป็นบริเวณที่มีความชุ่มชื้น มีร่มเงา ใกล้ริมน้ำ
โดยเฉพาะในกลุ่มที่เป็นไม้เลื้อยอย่างกนกนารีสีฟ้า รวมทั้งชนิดที่ทอดเลื้อยไปตามผิวดิน หรือเลื้อยปีนป่ายขึ้นต้นไม้ และมีบ้างที่เกิดอยู่ตามหน้าผาหิน ซึ่งได้รับแสงแดดจัดและแห้งแล้งในบางฤดู
การกระจายพันธุ์ในเขตร้อนและกึ่งร้อนทั่วโลก สามารถเจริญเติบโตได้ในสภาพพื้นที่หลากหลาย และภูมิอากาศหลายแบบ หลากหายสภาพแวดล้อม ส่วนมากจะเป็นเฟิร์นดิน แต่ก็มีจำนวนไม่น้อยที่เป็นพืชเกาะอาศัย ซึ่งน่าสนใจมาก
พืชชนิดนี้ส่วนมากมักพบบริเวณที่มีความชุ่มชื้น บริเวณร่มเงา ใต้ร่มเงาของผืนผ่า และส่วนมากทั่วไปมักอยู่ใกล้น้ำ โดยเฉพาะกลุ่มที่มีลำต้นเลื้อยปีน มีบ้างที่เกิดบนพื้นที่กึ่งทะเลยทราย ซึ่งสามารถปรับตัวอยู่ให้สามารถอยู่รอดได้ในหน้าแล้ง ด้วยการพักตัวและม้วนตัวห่อกลม เพื่อเก็บความชื้นรักษาตายอดเอาไว้
มักพบอยู่บริเวณพื้นดิน หรือซอกหินในป่าโปร่ง หรือพื้นที่เปิดในป่าใกล้แนวลำธาร ที่ระดับความสูง 1000-1800 เมตร ในประเทศไทยพบที่ ดอยผาชู จังหวัดเชียงราย, จังหวัดลำปาง, ทุ่งแสงหลวง ภูเมี่ยง จังหวัดพิษณุโลก,ภูหลวง ภูกระดึง จังหวัดเลย, เกาะช้าง จังหวัดตราด, ราไว จังหวัดสตูล และอุทยานแห่งชาติคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งในไทยมีรายงานพบ 29 ชนิดและทั่วโลก มีจำนวนราว 800 ชนิด
อ้างอิง : BLOGGANG, The Cloud
ที่มา : อุทยานแห่งชาติคลองลาน - Khlong Lan National Park จังหวัดกำแพงเพชร สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 12 (นครสวรรค์)
#กนกนารีสีฟ้า #อุทยานแห่งชาติคลองลาน #กำแพงเพชร #กรมอุทยานแห่งชาติ
โฆษณา