Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
จานโปรด
•
ติดตาม
เมื่อวาน เวลา 08:45 • ประวัติศาสตร์
เครันโซเมน “ฝอยทองญี่ปุ่น” มรดกขนมหวานที่โปรตุเกสมอบให้
ในยุคการค้านัมบัง นับว่าเป็นอีกหนึ่งช่วงเวลาสำคัญของประวัติศาสตร์อาหารในญี่ปุ่นที่มีอิทธิพลต่อขนมหวานในยุคแรกเริ่มของญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก โดยเหล่า “คนเถื่อนจากแดนใต้” หรือพ่อค้าชาวตะวันตกโดยเฉพาะชาวโปรตุเกสที่เดินทางมาถึงยังเมืองท่านางาซากิก็ได้นำเอาอาหารต่าง ๆ ที่ชาวญี่ปุ่นไม่เคยพบเคยเห็นเข้ามา เราเคยเล่าถึงขนมเหล่านั้นไปบ้างแล้วหลายอย่าง เช่น คัสเตลล่า เป็นต้น แต่ทั้งนี้ในหมู่ของหวานที่ชาวโปรตุเกสนำมาเผยแพร่ให้ญี่ปุ่น มันมีอยู่อย่างหนึ่งที่โปรตุเกสก็เคยนำมาเผยแพร่ที่ไทยด้วย
เครันโซเมน หรือ ฝอยทองญี่ปุ่น เป็นของหวานที่ถูกนำเข้ามาโดยชาวโปรตุเกส โดยสันนิษฐานกันว่าน่าจะเดินทางมาถึงราวช่วงศตวรรษที่ 16 โดยเป็นขนมหวานที่พัฒนามาจากบรรพบุรุษฝอยทองอย่าง ฟียุชดอวุช (โปรตุเกส: /ˈfi.uʒ ˈd‿ɔ.vuʃ/) หรือ ฟิยุช ดึ ออวุช: (บราซิล: /ˈfi.uz d͡ʒi ˈɔ.vus/) ซึ่งสำหรับชาวญี่ปุ่นในสมัยนั้นพวกเขามองว่าเป็นของแปลกที่นำเอาไข่มาผสมกับน้ำตาล ออกมากลายเป็นเครันโซเมนขึ้นมา
สูตรของเครันโซเมนที่เก่าที่สุดปรากฎเป็นหลักฐานตำราอาหารจากศตวรรษที่ 17 ซึ่งมีชื่อว่า นัมบังเรียวริโช โดยกล่าวถึงวิธีการทำว่าให้เอาไข่แดงรองด้วยผ้า แล้วต้มน้ำตาลจนกลายเป็นน้ำเชื่อมก่อนที่จะค่อย ๆ รีดไข่แดงนั่นลงไปเหมือนการทำเส้นคุซูกิริ โดยเครันโซเมนนี้ก็นับว่าอยู่คู่กับสำรับอาหารหวานของญี่ปุ่นมาอย่างยาวนานพอสมควร ซึ่งก็มีร้านขายคารันโซเมนเจ้าดังอายุ 300 กว่าปี อยู่ที่เมืองฟูกุโอกะด้วย ซึ่งทำขายกันมากว่า 13 รุ่นเลยทีเดียว โดยสไตล์ของที่ร้านก็จะมีการตัดแต่งให้พอดีคำ กินง่ายคู่กับชาญี่ปุ่นเข้ากันดี
ฝอยทองนับว่าเป็นอีกหนึ่งขนมหวานที่โปรตุเกสได้นำไปเผยแพร่มากมายในหลากหลายพื้นที่ที่พวกเขาเดินทางไปถึง ไม่าว่าจะเป็นไทย ญี่ปุ่น มาเลเซีย อินเดีย ฯลฯ ซึ่งก็ล้วนแต่สะท้อนให้เห็นถึงสายสัมพันธ์ของขนมหวานบนเส้นทางสายน้ำตาลที่ชาวโปรตุเกสเดินทางไปถึงด้วย
#จานโปรด #ฝอยทอง #ญี่ปุ่น #BBL #BangkokBank #ธนาคารกรุงเทพ
ความรู้รอบตัว
เรื่องเล่า
ประวัติศาสตร์
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย