Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ร้อยเรื่องหลากมุมกับ ภก.ปราโมทย์
•
ติดตาม
เมื่อวาน เวลา 16:29 • สุขภาพ
ร่างกายสร้างอนุมูลอิสระขึ้นมาทำไม
เวลาได้ยินโฆษณาอาหารเสริม หรือเครื่องสำอาง ก็มักจะได้ยินคำพูดประมาณว่า ช่วยต้านอนุมูลอิสระ เสริมสร้างเซลล์ผิว ลดการชลอวัย ซึ่งเป็นคำโฆษณาที่มักเจอบ่อยในผลิตภัณฑ์สุขภาพ
สำหรับคนทั่วไปฟังแล้วอาจจะรู้สึกเฉยๆ แต่ใครที่พอมีพื้นเรื่อง Cell Biology หน่อยอาจจะคิดต่อไปว่า ถ้าในเมื่ออนุมูลอิสระมันแทบจะหาดีไม่ได้เลยในร่างกาย แล้วร่างกายที่เป็นคนสร้างอนุมูลอิสระเหล่านี้ขึ้นมา จะสร้างขึ้นมาให้มันทำลายตัวเราเองทำมะเขือเผาอะไร?
2
อันที่จริงแล้ว อนุมูลอิสระไม่ได้มีแต่ข้อเสีย อนุมูลอิสระ คือ โมเลกุลหรืออะตอมที่มีอิเล็กตรอนไม่คู่ (unpaired electron) ทำให้มีความไม่เสถียรสูงและมีแนวโน้มที่จะทำปฏิกิริยากับโมเลกุลอื่น ๆ อย่างรวดเร็ว เช่น โปรตีน ไขมัน หรือ DNA
อนุมูลอิสระเกิดได้ทั้งจากปัจจัยภายในร่างกายที่กระตุ้นการสร้างอนุมูลอิสระ เช่น
การสลายไขมัน, การย่อยอาหาร หรือการสังเคราะห์ฮอร์โมนบางชนิด รวมไปถึงปัจจัยภายนอกที่กระตุ้นการสร้างอนุมูลอิสระ เช่น รังสีอัลตราไวโอเลต (UV), รังสีเอกซ์, รังสีแกมมา ควันบุหรี่, ฝุ่น PM2.5, สารโลหะหนัก (เช่น ตะกั่ว ปรอท) ยาฆ่าแมลง อาหารทอด อาหารไหม้ หรือไขมันทรานส์ รวมถึงความเครียดเรื้อรัง บางการศึกษายังระบุว่า ความอ้วนก็สามารถกระตุ้นการอักเสบเล็กน้อยแต่เรื้อรัง สร้างอนุมูลอิสระในระยะยาวได้
อนุมูลอิสระที่เกิดเป็นเวลาสั้นๆอาจไม่ส่งผลต่อสุขภาพมากนัก แต่หากมีปริมาณมากและคงอยู่เป็นเวลานาน อาจส่งผลเสียตามมา เช่น ทำลายเนื้อเยื่อต่างๆ เยื่อหุ้มเซลล์ รวมถึง DNA และจะนำไปสู่โรคในหลายระบบและนำไปสู่ความเสื่อมขอมของ
อวัยวะต่างๆได้ เช่น โรคในระบบหัวใจและหลอดเลือด โรคทางสมองและระบบประสาท เช่น Parkinson และ Alzheimer
ผลต่อระบบต่อมไร้ท่อต่างๆ มะเร็ง รวมไปถึงมีผลต่อความยึดหยุ่นของผิวหนัง จากการศึกษาพบว่าภาวะ oxidative stress นั้นเป็นสาเหตุของโรค และร่างกายจะมีภาวะนี้เมื่อเป็นโรคบางอย่างซึ่งภาวะ oxidative stress ที่เพิ่มขึ้นนั้นสัมพันธ์กับการเกิดโรคเหล่านี้อย่างเห็นได้ชัด
แต่ถึงอย่างนั้น อนุมูลอิสระก็เป็นหนึ่งในกลไกการคงไว้ของระบบร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตรวจสอบและกำจัดเซลล์ที่แปลกปลอม และเมื่อเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโทรฟิล (neutrophils) หรือมาโครฟาจ (macrophages) ตรวจพบสิ่งแปลกปลอม เช่น เชื้อแบคทีเรียหรือไวรัส พวกมันจะกลืนกินเชื้อเหล่านั้นผ่านกระบวนการที่เรียกว่า “phagocytosis” ภายในถุง phagosome อนุมูลอิสระจะถูกสร้างขึ้นอย่างรวดเร็วในกระบวนการที่เรียกว่า respiratory burst ซึ่งใช้เอนไซม์ NADPH oxidase ในการผลิต ROS เพื่อฆ่าเชื้อโรคโดยตรง
1
นอกจากนี้ อนุมูลอิสระสามารถกระตุ้นให้เซลล์ภูมิคุ้มกันปล่อยสารไซโตไคน์ (cytokines) และเคโมไคน์ (chemokines) ซึ่งช่วยดึงดูดเม็ดเลือดขาวอื่น ๆ เข้าสู่บริเวณที่มีการอักเสบ เพิ่มประสิทธิภาพการตอบสนองของภูมิคุ้มกัน
1
อนุมูลอิสระไม่ใช่สิ่งเลวร้ายเสมอไป ตรงกันข้าม พวกมันมีบทบาทสำคัญต่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน โดยเฉพาะในการกำจัดเชื้อโรค การกระตุ้นกระบวนการอักเสบ และการควบคุมการตายของเซลล์ อย่างไรก็ตาม ร่างกายต้องรักษาสมดุลระหว่างการผลิตและการกำจัดอนุมูลอิสระ เพื่อป้องกันผลเสียที่อาจตามมา ซึ่งทำได้โดยการทานอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการสัมผัสแดดจัดโดยตรง เท่านี้ก็สามารถทำให้อนุมูลอิสระอยู่ในระดับสมดุลได้
1
2
อ้างอิง
Valko, M., Leibfritz, D., Moncol, J., Cronin, M. T., Mazur, M., & Telser, J. (2007).
Free radicals and antioxidants in normal physiological functions and human disease.
The International Journal of Biochemistry & Cell Biology, 39(1), 44–84.
https://doi.org/10.1016/j.biocel.2006.07.001
Finkel, T., & Holbrook, N. J. (2000).
Oxidants, oxidative stress and the biology of ageing.
Nature, 408(6809), 239–247.
https://doi.org/10.1038/35041687
สุขภาพ
ความรู้รอบตัว
3 บันทึก
12
6
6
3
12
6
6
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย