เมื่อวาน เวลา 23:57 • หุ้น & เศรษฐกิจ

สรุป!! Q1/68 ของ 4 แบงก์ใหญ่

งบธนาคาร 1/68 ที่ออกมาสามารถเข้าไปดูได้ในหัวข้อ “ข่าว” ตรงหุ้นที่เราสนใจ และควรอ่าน "คำอธิบายและวิเคราะห์ของผ่ายจัดการ“ เพื่อเข้าใจภาวะเศรษฐกิจด้วยนะ
ภาพรวมเศรษฐกิจ
เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 1/68 เริ่มมีสัญญาณชะลอตัวจากการลงทุนภาคเอกชนที่ จากความไม่แน่นอนที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับนโยบายการค้าของประเทศเศรษฐกิจหลัก การท่องเที่ยวการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยอาศัยภาคการท่องเที่ยวเป็นเครื่องยนต์หลัก การส่งออกเริ่มฟื้นตัว
เศรษฐกิจไทยยังมีเปราะบางจากปัญหาเชิงโครงสร้างซึ่งกระทบต่อความสามารถในการแข่งขัน โดยเฉพาะ SME บางส่วนที่มีข้อจำกัดในการปรับตัวและรับมือกับความผันผวน ส่วนภาคครัวเรือนมีปัญหาภาระหนี้ในระดับสูง ส่งผลต่อการใช้จ่าย
แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 68 ยังมีความท้าทายหลายประการ ได้แก่
- ความไม่แน่นอนจากนโยบายการค้าของสหรัฐอเมริกา
- ความผันผวนของราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์จากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างประเทศ
- ระดับหนี้ครัวเรือนที่ยังคงอยู่ในระดับสูง
SCB ประเมินว่า GDP ไทย ปี 68 จะโต 1.5%
กำไรสุทธิ ถ้ามีการเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน จะเรียกเป็นการเทียบ Year on Year ถ้าเป็นการเทียบไตรมาสนี้กับไตรมาสก่อนหน้าจะเรียก Quarter on Quarter นะ
จะเห็นว่าธนาคารที่ทำกำไรได้เพิ่มขึ้นโดดเด่น กำไรเติบโตทั้ง YoY และ QoQ เทียบใน 4 แบงก์ใหญ่ ก็จะเป็น BBL, SCB เด่นสุด ซึ่งการเติบโตมาจากรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ย: กำไรจากขายตราสารทางการเงิน กำไรจากพอร์ตลงทุน (เมื่อดอกเบี้ยอยู่ในทิศทางลดลง จะมีกำไรจากส่วนต่างราคาของตราสารหนี้)
NIM(%) หรือส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ คิดมาจาก
(รายได้ดอกเบี้ยรับ – ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย) / สินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้เฉลี่ย
การคิดแบบ NIM นั้นจะบอกถึงความสามารถในการหารายได้ของธนาคารจากส่วนต่างระหว่างดอกเบี้ยรับและดอกเบี้ยจ่ายทั้งหมด จึงเป็นอัตราส่วนทางการเงินตัวหนึ่งที่ไว้ใช้วัดผลกำไร “เบื้องต้น” ในการดูหุ้นกลุ่มธนาคาร
NIM(%) ลดลงเล็กน้อย ตามทิศทางดอกเบี้ยในตลาดที่แบงก์ชาติลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย รายได้ดอกเบี้ยสุทธิลดลง
NPL คือ non-performing loans ก็คือ “เงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพ” หรือก็คือหนี้เสีย
มาตรฐานทางบัญชี TFRS9 มีการจัดชั้นหนี้เป็น 3 ระดับ
ชั้นแรก เงินให้สินเชื่อที่ไม่มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของความเสี่ยงด้านเครดิต (performing) คือ ลูกหนี้ที่ไม่ได้ผิดชำระหนี้ ชำระหนี้ตามปกติ
ชั้นที่ 2 เงินให้สินเชื่อที่มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของความเสี่ยงด้านเครดิต (under-performing) คือ ลูกหนี้ค้างชำระดอกเบี้ยหรือเงินต้นเกินกว่า 30 วัน
และชั้นที่ 3 เงินให้สินเชื่อที่มีการด้อยค่าด้านเครดิต (non-performing; NPL) สินเชื่อที่ผิดชำระหนี้หนี้เกิน 3 เดือนติดต่อกัน ลูกหนี้ถึงแก่ความตาย/ สาญสูญ เลิกกิจการ
เวลาที่เราดูหุ้นกลุ่มธนาคารก็ควรมองเรื่องของ NPL ด้วย ว่า NPL เท่าไหร่ และ % NPLs ต่อสินเชื่อรวม ซึ่งคิดจาก NPL มาเทียบกับเงินให้สินเชื่อโดยรวม ออกมาเป็น % นะ
NPL Coverage Ratio คือ เงินสํารองหนี้สูญต่อหนี้ที่ทำให้ไม่เกิดรายได้ คํานวณจาก การเอาค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญหารด้วยเงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพ
สินเชื่อของธนาคารไม่โต หรือปรับลดลงเล็กน้อย ส่วน %NPL ต่อสินเชื่อรวมก็ทรงตัวหรือเพิ่มขึ้นเล็กน้อย และมี NPL Coverage Ratio ในระดับสูง
ROE (Return on Equity) หรือ อัตราผลตอบแทนต่อส่วนผู้ถือหุ้น คิดจาก กำไรสุทธิ/ ส่วนผู้ถือหุ้น
อัตราส่วนนี้เป็นอัตราส่วนที่สำคัญ เป็นการบอกว่า ท้ายที่สุดแล้ว ธนาคารนั้นๆ ทำผลตอบแทนกลับมาได้เท่าไหร่ จากเงินของผู้ถือหุ้นที่ได้ลงไป ค่านี้จึงยิ่งสูง ยิ่งดี
KTB และ SCB มี ROE ที่ 10% กว่า และ SCB มี payout ratio (คิดจาก เงินปันผล/กำไร) ที่ 80% ทำให้ SCB เด่นเรื่องการจ่ายปันผล
ROE มีผลต่อการประเมินมูลค่าหุ้นกลุ่มธนาคารด้วย การประเมินมูลค่าหุ้นกลุ่มธนาคารนั้นจะใช้ P/BV (price per book value) เนื่องจากทรัพย์สินของธนาคารส่วนใหญ่นั้นเป็นเงิน และเงินลงทุนต่างๆ ทรัพย์สินส่วนใหญ่จะใกล้เคียงกับมูลค่า และ ROE นั้นมีความสัมพันธ์กับ P/BV ยิ่ง ROE สูง การประเมินมูลค่าด้วย P/BV จะสูงขึ้น
สรุปทั้ง 4 ธนาคารใน Q1/68 ยอดสินเชื่อ และรายได้ดอกเบี้ยไม่โต จากการระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อ แต่โตจากรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ย: กำไรจากขายตราสารทางการเงิน กำไรจากพอร์ตลงทุน
ทำไมเมื่อดอกเบี้ยลง ส่งผลให้มูลค่าตราสารหนี้เดิมเพิ่มขึ้น อ่านเพิ่มเติมได้จากโพสนี้นะ https://www.blockdit.com/posts/680980cae8a119d264545ca0
#หมอยุ่งอยากมีเวลา #หุ้น #งบการเงิน #ธนาคาร #NIM #NPL #ROE #BANK #SCB #KBANK #BBL #KTB
โฆษณา