30 เม.ย. เวลา 08:33 • ความคิดเห็น

ทำไมการแต่งตั้ง “ที่ปรึกษาชาวจีน” โดยผู้ว่าฯ จึงเป็นเรื่องที่ (ทุกคนควร) จับตามอง?

ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา ข่าวการแต่งตั้งนักธุรกิจชาวจีนให้เป็น “ที่ปรึกษาผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี” กลายเป็นประเด็นร้อนที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ในสังคมไทยอย่างกว้างขวาง หลายคนตั้งคำถามว่า
2
“โปร่งใสหรือไม่?” “จำเป็นแค่ไหน?” และ “ไม่มีคนไทยที่เหมาะสมกว่าหรือ?”
1
แม้คำสั่งแต่งตั้งจะระบุว่า เพื่อ “ให้คำปรึกษาและเสนอแนะแนวทางในประเด็นที่สำคัญและเป็นประโยชน์ต่อการบริหารราชการ”
1
แต่ต้องยอมรับนะครับว่า ค่อนข้างจะคลุมเครือ เพราะไม่แน่ชัดถึง “ประเด็นอะไร?” “เหตุผลเพิ่มเติมคืออะไร”
ดังนั้นกลับยิ่งสร้างคำถามมากกว่าคำตอบ โดยเฉพาะเมื่อที่ปรึกษาคนดังกล่าวเป็น “ชาวต่างชาติ” และ “ชาวจีน” ในบริบทที่มีความอ่อนไหวหลายมิติ
หากวิเคราะห์ตามเนื้อผ้าและบริบทที่เป็นไปได้ จังหวัดปราจีนบุรีตั้งอยู่ในเขตเศรษฐกิจพิเศษ EEC (Eastern Economic Corridor) ซึ่งเป็นพื้นที่สำคัญที่ประเทศไทยต้องการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ
1
โดยเฉพาะจีนที่มีบทบาทในนิคมอุตสาหกรรมหลายแห่งในภูมิภาคนี้ การแต่งตั้งที่ปรึกษาชาวจีนอาจสะท้อนถึงความพยายามของผู้ว่าฯ ในการเชื่อมโยงกับกลุ่มทุนจีนเพื่อสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจโดยตรง
2
ถ้ามองในมุมนี้ก็พอจะเข้าใจได้ว่าเป็นเรื่องของกลยุทธ์ในการพัฒนาจังหวัด แต่ประเด็นที่หลายคนคาใจอยู่ที่ความไม่ชัดเจนของข้อมูล โดยเฉพาะถ้อยคำในคำสั่งที่ระบุว่า “ให้คำปรึกษาในประเด็นต่างๆ” โดยไม่ระบุชัดว่า “ประเด็นใด” ทำให้เกิดความคลุมเครือและสร้างข้อกังขาต่อสาธารณะ
3
อีกเรื่องที่สำคัญมาก คือข้อกฎหมายและข้อจำกัดในการจ้างชาวต่างชาติให้ทำงานในประเทศไทย ซึ่งตามกฎหมายแรงงานแล้ว ชาวต่างชาติต้องมีใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) ที่ถูกต้องและระบุขอบเขตงานชัดเจน โดยเฉพาะหากเกี่ยวข้องกับงานที่จัดอยู่ในกลุ่มอาชีพสงวน เช่น การให้คำปรึกษาทางกฎหมาย การทำงานราชการ หรืออื่นๆ ที่มีผลต่อความมั่นคง หากการแต่งตั้งนี้ไม่ได้ดำเนินการให้สอดคล้องกับข้อกฎหมาย อาจกลายเป็นช่องโหว่สำคัญที่นำไปสู่ความเสียหายในระดับระบบราชการ
5
ต้องย้ำด้วยว่า คนต่างชาติที่เข้ามาทำงานหรือใช้ชีวิตในไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมายก็มีจำนวนมาก โดยเฉพาะชาวจีนที่ลงทุน สร้างงาน สร้างรายได้ และมีบทบาทสำคัญในภาคเศรษฐกิจไทย แต่ในขณะเดียวกัน หากรัฐยังปล่อยให้บางกลุ่มที่เข้ามาแบบผิดกฎหมายสามารถแทรกตัวหรือมีบทบาทในหน่วยงานราชการได้โดยไม่ตรวจสอบ ก็จะกลายเป็นภัยเงียบที่กระทบทั้งระบบ และยังส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ของชาวต่างชาติกลุ่มที่ตั้งใจทำงานอย่างสุจริตด้วย
1
ที่ผ่านมาประเทศไทยมีประวัติของกรณีชาวจีนที่เข้ามาทำกิจกรรมแปลกๆ ที่ผิดกฎหมายหรือก้ำกึ่ง ไม่ว่าจะเป็นการรีวิวการจ้างตำรวจไทยนำขบวนรถหรู การอบรมอาสาตำรวจให้ชาวจีน หรือแม้กระทั่งการใช้วีซ่าผิดประเภทเพื่ออยู่อาศัยหรือทำธุรกิจ หากปล่อยให้กรณีเหล่านี้เกิดขึ้นโดยไม่มีมาตรการควบคุมที่จริงจัง จะทำให้เกิดภาพลักษณ์ว่า “มีเงิน ก็ทำอะไรก็ได้ในไทย” ซึ่งเป็นสิ่งที่อันตรายต่อความน่าเชื่อถือของประเทศ
เพราะฉะนั้น ความโปร่งใสจึงไม่ใช่แค่คำสวยหรู แต่เป็นหลักประกันพื้นฐานของความไว้วางใจในระบบสาธารณะ
2
การแต่งตั้งที่ปรึกษาชาวต่างชาติในระดับจังหวัดอาจเป็นสิ่งที่ทำได้
#แต่ต้องอธิบายให้สาธารณชนเข้าใจ ตรวจสอบได้ และเป็นตัวอย่างของกระบวนการที่ยึดหลักความโปร่งใสอย่างแท้จริง เพราะหากเราไม่สามารถทำให้ประชาชนเชื่อมั่นในระบบได้ ทุกกลยุทธ์การดึงดูดนักลงทุน หรือการพัฒนาใดๆ ก็จะไร้ผลในระยะยาว
และในอีกแง่มุมหนึ่ง หากมีเหตุผลที่ต้องแต่งตั้งชาวต่างชาติหรือชาวจีนเป็นที่ปรึกษาจริง ๆ เพื่อช่วยวางกลยุทธ์ด้านการลงทุนหรือเศรษฐกิจ ก็ย่อมเป็นสิทธิ์ของผู้ว่าฯ ที่จะใช้ดุลยพินิจ
แต่จะยิ่งดีและเกิดประโยชน์มากขึ้น หากมี “ที่ปรึกษาชาวไทย” ทำงานควบคู่กันไปด้วย เพื่อให้เกิดการถ่วงดุล สื่อสารเชิงวัฒนธรรม และสร้างความเข้าใจร่วมกันระหว่างภาคไทยกับต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่ทิ้งรากฐานของสังคมไทยเอง
สุดท้าย ความโปร่งใสต้องเกิดในทุกระดับของสังคมไทย ตั้งแต่บนลงล่าง ไม่ใช่แค่ในนโยบายส่วนกลาง แต่ต้องสะท้อนออกมาให้เห็นจริงในทุกการตัดสินใจของทุกจังหวัด ทุกตำแหน่ง และทุกคำสั่ง เพราะนั่นคือรากฐานของความเชื่อมั่นและความยั่งยืน
ด้วยความเคารพ
#อ้ายจง #เล่าเรื่องเมืองจีน #ชีวิตในจีน #ชีวิตในไทย
โฆษณา