Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ร้อยเรื่องหลากมุมกับ ภก.ปราโมทย์
•
ติดตาม
30 เม.ย. เวลา 16:20 • สุขภาพ
ไทยพบผู้เสียชีวิตจาก "เชื้อ ANTHRAX"
วันนี้ (30 เมษายน) มีรายงานผู้เสียชีวิตจากเชื้อ ANTHRAX จำนวน 1 ราย ที่อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร ผู้ป่วยได้สัมผัสโค กระบือ และรับประทานเนื้อวัว และได้มีอาการเป็นไข้และมีตุ่มบริเวณผิวหนัง จึงได้ไปเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลดอนตาล เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2568 ก่อนจะเสียชีวิตใน 3 วันต่อมา
ในการนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้สั่งตั้งจุดสกัด ไม่ให้มีการเคลื่อนย้าย โค กระบือ และเปิดศูนย์ป้องกันและควบคุมโรค เพื่อบริการประชาชนในการตรวจเชื้อโรคแอนแทรกซ์
แอนแทรกซ์ (Anthrax) เป็นโรคติดเชื้อรุนแรงที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ Bacillus anthracis ซึ่งเป็นแบคทีเรียแกรมบวก (Gram-positive) รูปร่างแท่งที่สามารถสร้างสปอร์ (spore) ได้ สปอร์เหล่านี้มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมอย่างมากและสามารถคงอยู่ในดินได้นานหลายสิบปี โรคแอนแทรกซ์สามารถติดต่อจากสัตว์สู่คน (zoonotic disease) โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีการเลี้ยงปศุสัตว์ และยังมีความเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ด้านอาวุธชีวภาพ
เมื่อเข้าสู่ร่างกาย แอนแทรกซ์จะมีระยะฟักตัว 1 - 5 วัน อาจนานได้ถึง 60 วัน เมื่อเริ่มมีอาการมักปรากฎรอยโรคที่ผิวหนัง(Cutaneous anthrax) เริ่มด้วยอาการคันบริเวณที่สัมผัสเชื้อ ตามมาด้วยตุ่มแดง (popule) แล้วกลายเป็นตุ่มพองมีนํ้าใส(vesicle) ภายใน 2 - 6 วัน จะเริ่มยุบตรงกลางเป็นเนื้อตายสีดำคล้ายแผลบุหรี่จี้ (eschar) รอบๆ รอยแผลมักพบบริเวณศีรษะ คอ แขน และมือ
ในทางเดินอาหาร (Gastrointestinal anthrax) มีอาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเป็นเลือด และอาการในระบบทางเดินหายใจ (Inhalational anthrax) ไข้ ไอ ปวดกล้ามเนื้อ แล้วอาการจะลุกลามอย่างรวดเร็วเป็นหายใจลำบาก หายใจมีเสียงดัง (stridor) เหงื่อออกมาก (diaphoresis)ช็อก และตัวเขียว หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ภายใน 3-4 วัน ก็สามารถเสียชีวิตได้
เชื้ออ Anthrax สามารถโตได้ในสัตว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโค กระบือ สัตว์หรือมนุษย์สัมผัสหรือสูดดมสปอร์ สปอร์จะเข้าสู่ร่างกายผ่านทางผิวหนัง ทางเดินหายใจ หรือทางเดินอาหาร สปอร์จะงอก (germinate) กลายเป็นเซลล์แบคทีเรียในรูปแบบมีชีวิต (vegetative form) เริ่มแบ่งตัวและผลิตสารพิษ (toxins) หากไม่ได้รับการรักษา เชื้อสามารถแพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือด (septicemia) และนำไปสู่การเสียชีวิต
การรักษาทำได้โดยการให้ยาปฏิชีวนะ เช่น กลุ่ม Fluoroquinolones กลุ่ม Macrolides ร่วมกับการรักษาตามอาการ รวมถึงการให้ IVIG หรือแอนติท็อกซิน
การป้องกันสามารถทำได้โดยควบคุมการเคลื่อนย้ายสัตว์ เช่น โค กระบือ แจ้งสัตวแพทย์หากพบการตายของสัตว์ผิดปกติ หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ป่า หรือสัตว์เลี้ยงที่ตายโดยไม่ทราบสาเหตุ หลีกเลี่ยงการบริโภคเนื้อดิบ หรือผลิตภัณฑ์จากสัตว์ที่ไม่ได้ผ่านกระบวนการฆ่าเชื้ออย่างถูกต้อง และหากอยู่ในพื้นที่ที่เคยมีการระบาด หรือมีการแจ้งเตือนโรคจากทางราชการ ควรปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด
เมื่อช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา มีรายงานการระบาดของเชื้อแอนแทรกซ์ใน สปป. ลาว โดยมีรายงานผู้ติดเชื้อแอนแทรกซ์อย่างน้อย 54 รายในแขวงจำปาสัก โดยเฉพาะในเขตสุคูมมา (Soukhoumma District) นอกจากนี้ยังพบรายงานสัตว์เลี้ยง เช่น วัว ควาย และแพะ ตายจำนวนมาก โดยพบซากสัตว์ที่ติดเชื้อกว่า 97 ตัว
จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้น่าคิดว่าตัวเลขที่เราทราบอาจไม่ได้อัพเดท และเป็นเพียงภูเขาน้ำแข็งเท่านั้น ขอให้ผู้ที่อยู่บริเวณแหล่งที่มีการระบาด ติดตามข่าวสารและมาตรการต่างๆจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด
1
อ้างอิง
Centers for Disease Control and Prevention. (2023). Anthrax. U.S. Department of Health & Human Services. Retrieved from
https://www.cdc.gov/anthrax
Merck Veterinary Manual. (2022). Anthrax in Animals. Merck & Co., Inc. Retrieved from
https://www.merckvetmanual.com
ข่าว
สุขภาพ
2 บันทึก
10
3
6
2
10
3
6
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย