4 พ.ค. เวลา 06:37 • ธุรกิจ

ทำไม Intel ถึงพลาดโอกาสกับ iPhone? ความผิดพลาดที่มีราคาแพงที่สุดในวงการเทคโนโลยี

ในวันที่ Paul Otellini ลาออกจากตำแหน่ง CEO ของ Intel ในปี 2013 เขาได้ให้สัมภาษณ์ครั้งสุดท้ายไว้อย่างน่าสนใจว่า “เราไม่ได้ชนะหรือไม่ก็เราปฏิเสธมัน ขึ้นอยู่กับว่าคุณจะมองมันอย่างไร และโลกคงจะแตกต่างไปมากถ้าเราทำมัน…”
1
ย้อนไปยังเส้นทางที่ Intel ก้าวมาถึงจุดนี้ เราต้องเข้าใจว่า Intel ในยุคนั้นเป็นเหมือนพ่อมดผู้ยิ่งใหญ่ในโลกชิปคอมพิวเตอร์
บริษัทไม่ใช่แค่ผู้นำตลาด แต่ครอบครองตลาดได้แบบเบ็ดเสร็จอย่างแท้จริง สามารถทำกำไรได้ถึง 11 พันล้านดอลลาร์ในปี 2012
หลังจากนั้น Apple ก็เปิดตัว iPhone ในปี 2007 ซึ่ง Steve Jobs แสดงให้โลกได้เห็นว่า “ผลิตภัณฑ์ปฏิวัติวงการปรากฏขึ้นและเปลี่ยนแปลงทุกสิ่ง”
ภายในปี 2013 Apple ขาย iPhone ได้ถึง 150 ล้านเครื่อง สร้างรายได้กว่า 170 พันล้านดอลลาร์และกำไร 37 พันล้านดอลลาร์
ชิ้นส่วนหลักใน iPhone นั่นคือ System-on-Chip (SoC) แต่กลับมีชื่อไม่ใช่ Intel เป็นผู้ผลิตให้ แต่ดันกลับกลายเป็น Samsung และต่อมาคือ TSMC แทน
ด้วยคำสั่งซื้อมหาศาลจากลูกค้าอย่าง Apple ทำให้ TSMC ทะยานขึ้นไปครองบัลลังก์ชิปแซงหน้า Intel ผู้ครองราชาชิปมาเป็นเวลากว่าทศวรรษ
แม้ Intel จะอวดอ้างผลงานอันยิ่งใหญ่ใต้การนำของ Otellini แต่ “ความพลาด” ครั้งสำคัญนี้ยังคงได้รับการพูดถึงทุกครั้งในโรงเรียนธุรกิจ
ในบทสัมภาษณ์ Otellini ชี้ให้เห็นว่าเรื่องที่ผ่านมาคือการตัดสินใจเชิงตัวเลข Apple ต้องการชิปในราคาที่ต่ำกว่าต้นทุนที่ Intel คาดหวัง ซึ่งในตอนนั้นไม่มีใครคาดเดาได้ด้วยซ้ำว่า iPhone จะประสบความสำเร็จได้ขนาดนี้
เราอาจจะได้ยินเรื่งอเล่าที่กล่าวว่า Intel “ปฏิเสธ” iPhone ด้วยเหตุผลทางเงิน ซึ่งมันสะท้อนถึงกรณีคลาสสิกของบริษัทใหญ่ที่พลาดโอกาสเพราะยึดติดแค่เรื่องผลกำไร
1
แต่ความจริงไม่ได้เรียบง่ายอย่างนั้น
สิ่งที่เกิดขึ้นมันตรงข้ามกับเรื่องเล่าอย่างสิ้นเชิง เพราะในยุคนั้น Intel ลงทุนอย่างหนักในตลาดโทรศัพท์ทั้งก่อนและหลังยุค iPhone ซึ่ง Intel และ Otellini เองรู้ดีเรื่องผลิตภัณฑ์ที่จะมาพลิกโฉมวงการ
ย้อนกลับไปยังปี 2005 Otellini พยายามให้ Intel คิดเกี่ยวกับชิปราคาประหยัด อันที่จริงในตอนนั้นบริษัทก็ผลิตชิปโทรศัพท์ราคา 10-20 ดอลลาร์อยู่แล้ว
นอกจากนี้ Intel ยังเป็นผู้ผลิตชิปหน่วยความจำให้ iPhone รุ่นแรก ดังนั้นเรื่องของราคาจึงไม่ใช่อุปสรรคเดียว
ก็ต้องบอกว่าเรื่องราวจริงๆ เริ่มต้นที่ Digital Equipment Corporation (DEC) ในยุค 1980 DEC พัฒนาโปรเซสเซอร์ Alpha
ชิปที่ทำความเร็วได้สูงถึง 200 MHz ขณะ Intel ทำได้แค่ 66 MHz เท่านั้น (ในยุคนั้น) แต่ Alpha ใช้พลังงานอย่างโหดเหี้ยม ทำให้เหมาะแค่กับคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ วิศวกร DEC จึงหันไปศึกษา ARM ที่ใช้พลังงานน้อย และสร้าง StrongARM ขึ้นมา
StrongARM โฟกัสที่ตลาดอุปกรณ์พกพา โดยเฉพาะ Apple Newton โดยให้ประสิทธิภาพที่สูง แต่กินไฟแค่ 450 mW จนได้รับการนำไปใช้ใน PDA, คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อื่นๆ อย่างแพร่หลาย
ทว่าสถานการณ์ DEC กำลังดิ่งลงเหว ธุรกิจขาดทุนหลายพันล้านดอลลาร์ เดือนพฤษภาคม 1997 DEC ฟ้อง Intel ว่าละเมิดสิทธิบัตร Alpha และฝั่ง Intel ฟ้องกลับ สุดท้ายทั้งสองฝ่ายจับมือกัน DEC ขาย StrongARM ให้ Intel ในราคา 700 ล้านดอลลาร์
Intel เปลี่ยนชื่อ StrongARM เป็น XScale พร้อมเพิ่มเครื่องมือใหม่ชื่อ “Wireless MMX” มันคือการอัดเทคโนโลยี MMX ของ Intel ลงใน XScale ซึ่งแผนก็คือต้องการจะผนึกลูกค้าไว้กับ Intel
1
ARM ตอบโต้ด้วยการพัฒนา Neon เหล่าผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือเริ่มหวาดระแวงกลยุทธ์ผูกขาดของ Intel
ก็ต้องบอกว่ามันเป็นการตัดสินใจผิดตั้งแต่ต้น Intel เลือก Wireless MMX แทน Digital Signal Processor (DSP) ในขณะที่ตลาดโทรศัพท์ต้องการ DSP มากกว่า ทว่าข้อผิดพลาดนี้ก็ถูกแก้ไขปี 2004 ด้วย PXA800F ที่มี DSP ในตัว
ปี 2005 Intel ประกาศ “Monahans” ชิปที่มีความเร็วเกิน 1 GHz Sean Maloney ของ Intel ยกย่องว่าเป็น “อีกก้าวหนึ่งในด้านประสิทธิภาพ” พร้อมสาธิตเล่นวิดีโอ HD
Otellini เข้ามารับตำแหน่ง CEO ในเดือนพฤษภาคม 2005 ท่ามกลางวิกฤตที่โครตหนัก AMD กินส่วนแบ่งตลาดไปแล้ว 21.4% ในตอนนั้น
Otellini ปรับองค์กรครั้งใหญ่ ตัดงาน 10,500 ตำแหน่ง พร้อมเปลี่ยนโฟกัสสู่ความต้องการของลูกค้า ไม่ใช่ความเร็วเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป
ความสำเร็จครั้งแรกคือการโน้มน้าว Steve Jobs ให้เปลี่ยนจาก PowerPC มาใช้ Intel ซึ่งการตัดสินใจนี้ช่วยให้ Mac ได้รับประโยชน์จากสถาปัตยกรรมที่ใช้พลังงานต่ำกว่า
ช่วงกลางปี 2006 Intel ขาย XScale ให้ Marvell ราคาเพียง 600 ล้านดอลลาร์ เกือบจะเท่ากับราคาที่ซื้อ StrongARM มาเมื่อเกือบทศวรรษก่อน
Otellini มีความฝันถึงอุปกรณ์ “handtop” ที่ใช้สถาปัตยกรรม x86 รัน Windows Vista ภายในปี 2010 แนวคิดนี้จะผงาดขึ้นมาครองตลาดมือถือด้วยพลังของระบบนิเวศ Windows Intel ยังเชื่อใน WiMAX ว่าจะปฏิวัติการสื่อสารโทรศัพท์ให้ล้ำสมัย
แล้วมันเกิดอะไรขึ้นในการเจรจาระหว่าง Intel และ Apple?
ก็ต้องบอกว่า Jobs ค่อนข้างระมัดระวังอย่างมาก ไม่เปิดข้อมูลให้ Intel โดย Jobs ได้กล่าวว่า”เราไม่ต้องการสอนพวกเขาทุกอย่าง ซึ่งพวกเขาสามารถนำไปขายให้กับคู่แข่งของเรา”
Intel ไม่มีชิปที่เหมาะในขณะนั้นเพราะ Otellini มุ่งมั่นกับ x86 บนมือถือมากกว่า ส่วน XScale ถูกขายทิ้งไป ตัวเลือกสำหรับ Apple หมดลง วิศวกรทั้งสองฝ่ายเข้าใจกันว่าผลิตภัณฑ์ไม่ตอบโจทย์
ความสัมพันธ์ Intel-Apple ไม่ดีนัก Jobs บ่นว่า Intel “เหมือนเรือกลไฟ ไม่ค่อยมีความยืดหยุ่น” มันไม่ใช่สภาพแวดล้อมที่จะทำงานร่วมกันในโครงการสำคัญอย่าง iPhone
นี่คือสถานการณ์ที่ชัดเจนในตอนนั้น การหารือระหว่างผู้นำทั้งสอง แต่ขาดความเข้าใจกันและกัน Intel ไม่รู้ว่า SoC สำหรับอุปกรณ์ลึกลับนี้จะเปลี่ยนโลก ฝั่ง Apple ระแวงข้อมูลและสงสัยในความมุ่งมั่นของ Intel ต่อธุรกิจมือถือ
เมื่อ iPhone ปรากฏตัวในปี 2007 Otellini ก็ประหลาดใจ โอกาสของ Intel มันได้หายไปหมดสิ้น iPhone รุ่นแรกไม่ได้ใช้ชิปเทพอย่างที่คิด แต่ใช้ SoC เรียบง่ายจาก Samsung ความเร็วเพียง 412 MHz ลดลงจากสเปคเดิม 666.6 MHz เพื่อเน้นในเรื่องการประหยัดพลังงาน
บทส่งท้าย
ความผิดพลาดครั้งนี้ไม่ใช่แค่เรื่องของราคา แต่คือการพลาดจังหวะเวลา ขาดวิสัยทัศน์ และการไม่เข้าใจการปฏิวัติที่กำลังมา
Intel มีเทคโนโลยีครบครัน แต่ไม่มีความอดทนและยืดหยุ่นพอที่จะคว้าโอกาส
บทเรียนนี้ยืนเป็นเครื่องเตือนใจถึงวิธีการที่การตัดสินใจเพียงครั้งเดียวสามารถขีดชะตาชีวิตบริษัทและอุตสาหกรรมทั้งหมด
ในขณะที่ Intel กำลังดิ้นรนเพื่อหาทางกลับคืนสู่ความยิ่งใหญ่ในยุค AI ใหม่ เรื่องราวของการพลาดในการผลิตชิปให้กับ iPhone ยังคงเป็นบทเรียนสำคัญที่อุตสาหกรรมเทคโนโลยีต้องจำ
1
ความสำเร็จและความล้มเหลวในโลกของธุรกิจเทคโนโลยีนั้นมักเกิดจากการตัดสินใจที่เหมือนเป็นเรื่องเล็กในตอนนั้น แต่กลายเป็นความผิดพลาดมูลค่ามหาศาลในเวลาต่อมา
◤━━━━━━━━━━━━━━━◥
หากคุณชอบคอนเทนต์นี้อย่าลืม 'กดไลก์'
หากคอนเทนต์นี้โดนใจอย่าลืม 'กดแชร์'
คิดเห็นอย่างไรคอมเม้นต์กันได้เลยครับผม
◣━━━━━━━━━━━━━━━◢
ติดตามสาระดี ๆ อัพเดททุกวันผ่าน Line OA ด.ดล Blog
คลิกเลย --> https://lin.ee/aMEkyNA
รวม Blog Post ที่มีผู้อ่านมากที่สุด
——————————————–
ติดตาม ด.ดล Blog เพิ่มเติมได้ที่
=========================
โฆษณา