6 พ.ค. เวลา 08:00 • ไลฟ์สไตล์

แพทย์หมดไฟสูงกว่าอาชีพอื่น? เปิดเคสหมอฝึกหัดในสหรัฐเบิร์นเอาท์ถึงขีดสุด! สุดท้ายจบชีวิตตนเอง

ปัญหาภาวะหมดไฟในการทำงานไม่ได้เกิดกับพนักงานบริษัทในหลายอุตสาหกรรมเท่านั้น แต่บางสายอาชีพกลับพบปัญหานี้หนักหน่วงมากกว่า เรากำลังพูดถึงสายอาชีพบุคลากรทางการแพทย์ ที่ช่วงหลังมานี้มีรายงานภาวะหมดไฟ (Burnout) ถี่ขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในกลุ่มแพทย์พยาบาลคนรุ่นใหม่ ที่เริ่มแสดงออกให้เห็นว่าปัญหานี้ส่อแววรุนแรงกว่าคนรุ่นก่อนๆ
ล่าสุด.. เกิดเหตุน่าเศร้าในวงการแพทย์ฝั่งอเมริกา เมื่อมีรายงานว่า ดร.นาคิตา มอร์ติเมอร์ (Nakita Mortimer) หนึ่งในแพทย์ฝึกหัดฝีมือดี ผู้ซึ่งเคยเป็นผู้นำจัดตั้งสหภาพแพทย์ฝึกหัด เรียกร้องชั่วโมงงานที่เป็นธรรม แต่เธอกลับจากโลกนี้ไปด้วยการจบชีวิตตนเอง ท่ามกลางเสียงสะท้อนจากเพื่อนร่วมอาชีพที่เริ่มตั้งคำถามถึงสุขภาพจิตและความยั่งยืนของระบบฝึกงานในโรงพยาบาล
เหตุการณ์ดังกล่าวกำลังปลุกกระแสให้วงการแพทย์ในสหรัฐ หันกลับมาทบทวนเงื่อนไขการฝึกงานที่กัดกินสุขภาพจิตของบุคลากรทางการแพทย์ในกลุ่มคนรุ่นใหม่
ดร.นาคิตา มอร์ติเมอร์ เป็นผู้นำมาตลอดชีวิต ตั้งแต่เป็นพี่คนโตในครอบครัวที่อพยพจากเฮติมาเรียนต่อในสหรัฐฯ ในปี 2012 จนถึงช่วงที่เธอฝึกงานด้านวิสัญญีแพทย์ที่ Montefiore Medical Center ในนิวยอร์ก เธอเป็นแกนหลักในการจัดตั้งสหภาพแพทย์ฝึกหัด เพื่อผลักดันให้มีการปรับปรุงสภาพการทำงานที่หนักหน่วง และกดดันเกินรับไหวสำหรับคนวัยเริ่มต้นอาชีพ
“ความจริงที่ว่าอาชีพแพทย์มีอัตราการหมดไฟและการฆ่าตัวตายสูงที่สุดเมื่อเทียบกับอาชีพอื่น แสดงให้เห็นถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการเปลี่ยนแปลง” ดร.นาคิตา เคยให้สัมภาษณ์เรื่องนี้กับสื่อท้องถิ่น The City เมื่อพฤศจิกายน 2022
การเสียชีวิตของเธอไม่ใช่เหตุการณ์เดียวที่สะเทือนวงการแพทย์ จากผลสำรวจปี 2024 โดยองค์กร Physicians Foundation พบว่า เกือบ 1 ใน 4 (25%) ของแพทย์ฝึกหัดเคยคิดทำร้ายตัวเอง และ 1 ใน 5 ของพวกเขา ก็รายงานว่ารู้จักเพื่อนหรือเพื่อนร่วมงานที่เคยคิดฆ่าตัวตายในช่วงปีที่ผ่านมา
แพทย์ฝึกหัดหลายคนลังเลที่จะขอความช่วยเหลือ แม้จะมีบริการสนับสนุนด้านสุขภาพจิต เพราะกลัวว่าจะถูกมองว่าไม่เหมาะกับงานที่ต้องรับความเครียดสูง หลายคนเผยว่า เริ่มมีความคิดอยากตายเป็นครั้งแรกตั้งแต่ในช่วงฝึกงานในโรงพยาบาลแล้ว
อ่านต่อ:
โฆษณา