Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Wicha Pakhunme
•
ติดตาม
9 พ.ค. เวลา 12:55 • ธุรกิจ
ทำไมต้องจ้าง รปภ.
เนื่องจากในชีวิตประจำวัน มีภัยคุกคามชนิดต่างๆ ที่ส่งผลต่อความปลอดภัยของบุคคล สิ่งปลูกสร้างและการดำเนินธุรกิจ
รปภ. จึงได้เข้ามามีบทบาท เพื่อตอบสนองกับภัยคุกคามในชีวิตประจำวัน เช่น
- การลักขโมย
- การทำลายทรัพย์สิน
- การบุกรุก/คนจรจัด
- การคุกคามทางเพศ
- การใช้ความรุนแรงในที่ทำงาน
- การรับมือกับเหตุการณ์ฉุกเฉิน/อุบัติเหตุ
รปภ. ได้ทำหน้าที่เพื่อลดความเสี่ยงเหล่านั้น โดยการปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ การให้ความช่วยเหลือและการตอบสนองที่รวดเร็ว
ความแตกต่างในหน้าที่ปฏิบัติของ รปภ. จะขึ้นอยู่กับหน่วยงานหรือบริษัทที่มีการจ้าง รปภ. เช่น
รปภ. ห้างสรรพสินค้า/ร้านค้า: เน้นในเรื่องการรับมือกับการลักขโมย การสอดส่องและการให้บริการลูกค้า
รปภ. บริษัทเอกชน: เน้นในเรื่องความปลอดภัยของพนักงาน การเข้าออกพื้นที่ของบุคคลหรือยานพาหนะและการรักษาทรัพย์สิน/ข้อมูลของทางบริษัท
รปภ. โรงงานอุตสาหกรรม: เน้นในเรื่องของการเข้าออกพื้นที่ของบุคคลหรือยานพาหนะ การเฝ้าระวังพื้นที่อันตรายและการบังคับใช้กฎบริษัท
รปภ. งานอีเว้นท์: เน้นการควบคุมบุคคล/ฝูงชนและการรับมือกับเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์
รปภ. ที่พักอาศัย: เน้นการควบคุมการเข้าออกของบุคคลหรือยานพาหนะและความปลอดภัยของผู้พักอาศัย
รปภ. ภาคขนส่ง: ปฏิบัติหน้าที่ในสนามบิน สถานีขนส่ง สถานีรถไฟและท่าเรือ เพื่อลดภัยคุกคามชนิดต่างๆ
จะเห็นได้ว่า องค์กรภาคเอกชนและภาครัฐ จำเป็นต้องใช้งบประมาณส่วนหนึ่งในการจัดจ้าง รปภ. เพื่อให้บุคคลหรือประชาชนเกิดความมั่นใจในความมั่นคงปลอดภัยขององค์กร
หากไม่มี รปภ. อยู่ตามสถานที่ต่างๆ ภัยคุกคามจะเกิดขึ้นโดยง่ายและอาจก่อให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินอย่างไม่อาจประเมินค่าได้
ตัวอย่างที่เราเห็นได้ง่ายในชีวิตประจำวัน คือ ห้างสรรพสินค้าชั้นนำ จะมีการจ้าง รปภ. ไว้เป็นจำนวนมาก ทั้งในและนอกห้าง
ถึงแม้ว่าจะมีค่าใช้จ่ายในการจัดจ้าง รปภ. ค่อนข้างสูง แต่ทางห้างสรรพสินค้าก็พร้อมที่จะจ่ายเพื่อความปลอดภัยของลูกค้า อีกทั้งยังเป็นการรักษาชื่อเสียงและทรัพย์สินของทางห้างฯ อีกด้วย
หากคุณต้องการความช่วยเหลือ อย่าได้ลังเลที่จะเรียกหา รปภ. พวกเขายินดีที่จะให้ความช่วยเหลือแก่คุณเสมอ
พวกเขาคือผู้ที่จะช่วยให้คุณรอดได้ในยามวิกฤต
บทความโดย
วิชา พาคุณมี
(Professional Security)
แนวคิด
เรื่องเล่า
พัฒนาตัวเอง
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย