Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Thairath Online - ไทยรัฐออนไลน์
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
15 พ.ค. เวลา 09:00 • ไลฟ์สไตล์
6 นิสัย “ใช้เงินเก่ง” ที่อาจกำลังทำให้เราเก็บเงินไม่อยู่สักที
แม้ประเทศไทยจะเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัล แต่ปัญหาเรื่อง วินัยการเงินของคนไทย ยังคงเป็นโจทย์ใหญ่ที่หลายฝ่ายเป็นห่วง จากผลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย พบว่า
- คนไทยกว่า 60% ไม่มีเงินออมเพียงพอสำหรับกรณีฉุกเฉิน
- เกือบ ครึ่งหนึ่งไม่มีความรู้พื้นฐานด้านการวางแผนการเงิน
นั่นหมายความว่า ต่อให้มีรายได้ประจำ แต่หากยังมีพฤติกรรม “ใช้ก่อนคิดทีหลัง” ก็ยากที่จะหลุดพ้นจากวงจร ทำงาน-ใช้เงิน-ไม่มีเงินเก็บ-เป็นหนี้ และ ทำงานวนไป
ในบทความนี้ ชวนมาลองเช็กตัวเองกันดูว่าเรากำลังมี 6 นิสัย “ใช้เงินเก่ง” แบบนี้อยู่หรือเปล่า?
1. ซื้อของตามอารมณ์ (Emotional Spending)
บางคนไม่ได้มีเป้าหมายในการซื้อของ แต่แค่รู้สึกเครียด เบื่อ หรืออยากได้อะไรสักอย่างเพื่อเยียวยาหัวใจ เช่น หลังประชุมเครียด เปิดแอปช้อปปิ้งแล้วสั่งกระเป๋าใหม่โดยไม่คิด เพราะ “มันลดราคา” หรือ “อยากให้รางวัลตัวเอง” ซึ่งฟังดูเล็กน้อย แต่เมื่อพฤติกรรมนี้เกิดขึ้นบ่อย ๆ เงินที่ควรเป็นเงินออมก็หายไปกับอารมณ์ชั่ววูบโดยไม่รู้ตัว
2. ใช้เงินก่อนคิด (ใช้ก่อน ค่อยว่ากัน)
ไม่มีการทำบัญชีรายรับรายจ่าย ไม่รู้แน่ชัดว่าเดือนหนึ่งควรใช้เงินเท่าไร ใช้อะไรได้บ้าง เงินเดือนเข้าแล้วใช้จ่ายทันที ทั้งค่าของกิน ค่าเที่ยว ค่าขนมลูก โดยไม่ได้กันเงินไว้ก่อนสำหรับค่าใช้จ่ายจำเป็นหรือเงินออม นี่คือพฤติกรรมที่ทำให้ “มีรายได้เท่าไหร่ ก็ไม่มีทางพอ” เพราะขาดการจัดลำดับความสำคัญของเงิน
3.ช้อปเพราะโปรโมชั่น (FOMO – Fear of Missing Out)
พฤติกรรมนี้อันตรายอย่างยิ่งในยุคที่ทุกอย่างอยู่ในปลายนิ้ว แอปฯ ช้อปปิ้งตั้งโปรโมชั่นรายวัน รายชั่วโมง
ตัวอย่าง: “Flash Sale” 12.12, 3.3, หรือ “วันนี้วันเดียวเท่านั้น” มักจะจูงใจให้เราซื้อของที่ไม่จำเป็นเพียงเพราะกลัวพลาดของถูก ซึ่งการซื้อของเพราะกลัวพลาด แทนที่จะได้ประโยชน์ กลับทำให้เสียเงินฟรี ๆ โดยไม่รู้ตัว
4. รูดก่อน ผ่อนทีหลัง (ใช้เครดิตจนลืมเช็กความสามารถ)
บัตรเครดิตหรือผ่อน 0% อาจดูเหมือนเป็นเครื่องมือช่วยผ่อนคลายภาระ แต่หากไม่มีวินัย ก็กลายเป็น “ดาบสองคม” ได้ง่ายมาก เช่น โทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ออก รีบผ่อนทันทีเดือนละ 2,000 บาท ทั้งที่ยังผ่อนเครื่องเก่าไม่หมด และรายได้แทบไม่พอใช้ สุดท้ายต้องจ่ายขั้นต่ำวนไป ดอกเบี้ยบาน จนหนี้สะสมกลายเป็นดินพอกหางหมู
5. ไม่จดบันทึกรายจ่าย (ไม่มีภาพรวมการเงินของตัวเอง)
การไม่รู้ว่า “เงินหายไปไหน” คือหนึ่งในปัญหาใหญ่ของคนที่เก็บเงินไม่อยู่ พอสิ้นเดือน รู้แค่ว่าเงินหมด แต่ไม่รู้หมดไปกับอะไร เช่น กินกาแฟวันละ 2 แก้ว เท่ากับ เดือนละ 3,000 บาท โดยไม่ทันรู้ตัว ซึ่งถ้าเราไม่รู้ว่าเราใช้จ่ายไปกับอะไร ก็ไม่มีทางรู้ว่าจะปรับปรุงตรงไหนให้มีเงินเหลือเก็บได้
6. เก็บเงินทีไร มีเหตุให้ใช้ตลอด (ไม่มีแผนสำรองไว้รับมือ)
บางคนตั้งใจเก็บเงิน แต่พอมีเหตุฉุกเฉิน เช่น รถเสีย ป่วยกะทันหัน หรือของใช้พัง กลับต้องหยิบเงินเก็บมาใช้ตลอด
ตัวอย่าง: พยายามเก็บเงินเดือนละ 3,000 แต่เดือนถัดไปแม่เข้าโรงพยาบาล ต้องควักเงินเก็บออกมา เพราะไม่มี “กองทุนฉุกเฉิน” เงินเก็บที่ไม่มีการกันไว้เป็น “ฉุกเฉินจริง ๆ” ก็มีโอกาสถูกใช้แบบไม่ตั้งใจอยู่เสมอ
●
แล้วคนไทยจะเริ่มมีวินัยทางการเงินได้อย่างไร?
ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน แค่เริ่ม “รู้ตัว” และ “ลงมือปรับพฤติกรรมทีละนิด” ก็สามารถเปลี่ยนแปลงอนาคตทางการเงินของตัวเองได้
4 วิธีเริ่มต้นเปลี่ยนแปลงง่าย ๆ
- จดบันทึกการใช้เงินทุกวัน : ใช้แอปหรือสมุดก็ได้
- ตั้งงบใช้จ่ายรายเดือน : โดยกันเงินออมไว้ตั้งแต่ต้น
- เลิกตามโปรโมชั่นที่ไม่จำเป็น : คิดเสมอว่า "เราซื้อเพราะต้องใช้ หรือแค่รู้สึกอยาก?"
- มีเงินสำรองอย่างน้อย 3–6 เท่าของค่าใช้จ่ายรายเดือน : กันไว้สำหรับเหตุฉุกเฉินโดยเฉพาะ
สุดท้าย “นิสัยใช้เงิน” ไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ เพราะมันคือพฤติกรรมที่สะสมจนกลายเป็นปัญหาใหญ่ทางการเงินได้การเปลี่ยนพฤติกรรมเหล่านี้ ไม่ใช่แค่เพื่อให้เรามีเงินเก็บ
แต่เพื่อให้เรา มีอิสระในการใช้ชีวิต ไม่ต้องวิ่งหนีหนี้ หรือกังวลทุกครั้งที่เงินเดือนออก
ที่มา : ธปท. , สำนักงานสถิติแห่งชาติ , ศูนย์แก้ไขหนี้ออนไลน์ by BAM
อ่านข่าวการเงินส่วนบุคคล และการวางแผนการเงิน กับ Thairath Money เพื่อให้คุณ "การเงินดีชีวิตดีได้ที่
https://www.thairath.co.th/money/personal_finance
ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้
https://www.facebook.com/ThairathMoney
อ่านเพิ่มเติม
thairath.co.th
6 นิสัย “ใช้เงินเก่ง” ที่อาจกำลังทำให้เราเก็บเงินไม่อยู่สักที
ทำงาน -ใช้เงิน-ไม่มีเงินเก็บ-เป็นหนี้-ทำงานวนไป เปิด 6 นิสัย “ใช้เงินเก่ง” ที่อาจกำลังทำให้เราเก็บเงินไม่อยู่สักที
3 บันทึก
2
3
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย