15 พ.ค. เวลา 17:07 • สุขภาพ

AI จะทำให้เด็กโง่ลงจริงไหม?

ในปัจจุบันคงเป็นไปได้ยากแล้วที่เราจะปฏิเสธการมีบทบาทของปัญญาประดิษฐ์ที่มีต่อชีวิตประจำวัน แม้แต่เรื่องเล็กๆน้อยๆอย่างการเลือกร้านที่จะสั่งอาหารออนไลน์ การเดินทาง การทำงาน ล้วนมี AI เข้ามามีบทบาทไม่มากก็น้อย
ทำให้หลายฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ครูบาอาจารย์ พ่อแม่ ต่างให้ความกังวลว่า AI จะทำให้พัฒนาการทางการเรียนรู้ของเด็กแย่ลง เด็กก็แค่ลอกการบ้านจาก AI เอามาส่ง ไม่ได้คิดเอง ซึ่งจะกระทบต่อการเรียนรู้ของเด็กในอนาคต
วันนี้จึงนำการศึกษา “The effect of ChatGPT on students’ learning performance, learning perception, and higher-order thinking: insights from a meta-analysis” ตีพิมพ์ 6 พฤษภาคม 2025 ในวารสาร Humanities and Social Sciences Communications (Nature Publishing Group) ที่พูดเรื่องพัฒนาการของเด็กที่เป็นผลจาก AI มาฝากกันครับ
บทความวิจัยจากวารสาร Humanities and Social Sciences Communications ของ Nature เรื่อง "The effect of ChatGPT on students’ learning performance, learning perception, and higher-order thinking: insights from a meta-analysis" ได้วิเคราะห์ผลกระทบของ ChatGPT ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การรับรู้การเรียนรู้ และการคิดขั้นสูงของนักเรียน โดยอ้างอิงจากการวิเคราะห์เมตาของการศึกษาวิจัย 51 ชิ้นที่เผยแพร่ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2022 ถึงกุมภาพันธ์ 2025
สิ่งที่การวิเคราะห์จากการศึกษานี้พบ มีความน่าสนใจอย่างมาก
เพราะนอกจาก AI จะไม่ได้ทำให้เด็กโง่ลงแล้ว ยังทำให้ฉลาดขึ้นอีกด้วย
โดยการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ChatGPT มีผลกระทบเชิงบวกอย่างมากในการปรับปรุงผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โดยมีขนาดผล (effect size) เท่ากับ 0.867 นอกจากนี้ มีผลกระทบเชิงบวกในระดับปานกลางต่อการรับรู้การเรียนรู้ของนักเรียน โดยมีขนาดผลเท่ากับ 0.456 และส่งเสริมการคิดขั้นสูง ของนักเรียนในระดับปานกลาง โดยมีขนาดผลเท่ากับ 0.457
1
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (learning performance) เพิ่มขึ้น ทัศนคติและประสบการณ์การเรียน (learning perception) รวมถึงทักษะคิดขั้นสูง (higher-order thinking) ดีขึ้น หลังจากได้ค่า g ของแต่ละงาน นักวิจัยจึงคำนวณค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักด้วยโมเดลสุ่ม-ผล (random-effects model) เนื่องจากพบความแตกต่างของแต่ละงานวิจัยสูง (I² ≈ 89%) ซึ่งสะท้อนถึงความหลากหลายของวิชา วิธีสอน และบริบทต่างๆ ที่ส่งผลให้ข้อมูลกระจายตัวกว้าง โมเดลสุ่ม-ผลจึงช่วยให้ผลสรุปแสดงภาพรวมได้อย่างแม่นยำ
นอกจากนี้ หากจำแนกเป็นกลุ่มรายวิชา พบว่า ChatGPT มีผลกระทบมากที่สุดในรายวิชาที่เน้นการพัฒนาทักษะและความสามารถ (g = 0.874) และในรายวิชา STEM เช่น ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ คณิตศาสตร์ เห็นผลได้ดีกว่าวิชาประเภท ภาษา/การเขียน (g = 0.737)
โดยการคาดการณ์ เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น
1. AI สามารถโต้ตอบกับเด็กได้ทันที เหมือนมีติวเตอร์ส่วนตัว แถมมีองค์ความรู้ที่ไม่จำกัด ช่วยให้นักเรียนแก้โจทย์ได้เร็วขึ้น จึงยกระดับคะแนนและความเข้าใจเชิงลึก
2
2. problem-based ChatGPT ทำหน้าที่อธิบายแนวคิดและเสนอแนวทางแก้ปัญหาได้ตรงจุด
3. ระยะเวลาที่เหมาะสม หากระยะเวลาน้อยเกินไป อาจยังไม่พอให้นักเรียนฝึกตั้งคำถามคุณภาพสูง แต่อย่างไรก็ตาม หากนานเกินไป จะทำให้เด็กเกิด "ภาวะพึ่งพา AI" จนลดการทบทวนความรู้ด้วยตนเอง
1
แม้จะฟังดูมีแต่ประโยชน์ แต่หากปราศจากการควบคุม ภาวะพึ่งพา AI แบบที่ผู้ใหญ่กลัวก็จะเกินขึ้น และทำให้เด็กไมไ่ด้รับประโยชน์จากการใช้ AI ดังนั้นการประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์กับการเรียนจึงเป็นสิ่งที่ควรมีการฝึกสอนอย่างจริงจัง และมีการควบคุม เพื่อให้เด็กใช้งานได้อย่างถูกต้องและได้รับประโยชน์สูงสุดจากเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์
อ้างอิง
โฆษณา