Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ร้อยเรื่องหลากมุมกับ ภก.ปราโมทย์
•
ติดตาม
16 พ.ค. เวลา 15:33 • สุขภาพ
ทำไมผู้หญิงป่วยภูมิคุ้มกันมากกว่าผู้ชาย
สมัยยังเป็นเด็กละอ่อนปี 5 เดินไปหาเคสบนวอร์ดอายุกรรม เดินหาเคส SLE แต่ดันไปเดินบนวอร์ด Med ชาย 🤣 ก็เลยโดนสวดไปตามระเบียบ
2
เพราะลืมไปว่า โรคเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันนั้นเกิดได้ในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย
แต่ว่า เพราะอะไร?
โรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเองเป็นกลุ่มโรคที่ระบบภูมิคุ้มกันเข้าใจผิดและโจมตีเนื้อเยื่อตนเอง พบได้บ่อยในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายอย่างมีนัยสำคัญ ตัวอย่างเช่น โรค systemic lupus erythematosus (SLE) พบในผู้หญิงมากกว่าเพศชายประมาณ 8.8 : 1 ซึ่งในภาพรวมมีรายงานว่าราว 80% ของผู้ป่วยโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเองเป็นเพศหญิง
1
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องมีทั้งปัจจัยทางพันธุกรรม ฮอร์โมน และสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ยีนที่อยู่บนโครโมโซม X ฮอร์โมนเอสโตรเจน ผลกระทบทางอีพิเจเนติกส์ และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งล้วนกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันของผู้หญิงตอบสนองต่อร่างกายตนเองมากขึ้น จึงเสี่ยงต่อโรคเหล่านี้สูงกว่าผู้ชาย
1
ปัจจัยด้านพันธุกรรมเป็นปัจจัยหลักที่เป็นเหตุผลของทุกอย่าง เนื่องจากผู้หญิงมีโครโมโซม X จำนวนสองชุด (46,XX) ขณะที่ผู้ชายมีเพียงชุดเดียว (46,XY) ร่างกายจึงมีกลไกปิดยีนบนโครโมโซม X ชุดหนึ่ง (X-inactivation) เพื่อป้องกันไม่ให้สร้างโปรตีนเกินความจำเป็น แต่มีรายงานว่ายีนบางส่วนบนโครโมโซม X หลบเลี่ยงการปิดทิ้ง ทำให้มีการแสดงออกของยีนเป็นสองเท่า ซึ่งสามารถกระตุ้นการอักเสบได้มากขึ้นในผู้หญิง
1
2
นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้หญิงที่มีโครโมโซม X เกิน (เช่น 47,XXX) หรือผู้ชายที่มียีน X เพิ่ม (47,XXY) จะมีอุบัติการณ์ของโรคภูมิคุ้มกันอย่าง SLE และ Sjögren’s syndrome สูงขึ้น ยีนภูมิคุ้มกันหลายตัวบนโครโมโซม X เช่น FOXP3 และ TLR7 พบว่าหากแสดงออกมากกว่าปกติ จะเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคภูมิคุ้มกัน ทำให้ผู้หญิงมีแนวโน้มเกิดโรคเหล่านี้ได้บ่อยกว่าผู้ชาย
ฮอร์โมนเพศก็มีผลเช่นกัน
ฮอร์โมนเอสโตรเจนซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศหญิง ส่งผลโดยตรงต่อเซลล์ภูมิคุ้มกันหลายประเภท เนื่องจากเซลล์เหล่านี้มีตัวรับฮอร์โมนเอสโตรเจน (ERα/ERβ) ทั้งบนผิวและภายในเซลล์ เอสโตรเจนช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตและการอยู่รอดของเซลล์ B รวมถึงกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนชนิดของแอนติบอดี (class switching) มากขึ้น ผลลัพธ์คือผู้หญิงจะผลิตแอนติบอดีและ autoantibody ได้มากกว่าผู้ชาย
นอกจากนี้ เอสโตรเจนยังไปลดการสร้าง AIRE ซึ่งเป็นยีนสำคัญในต่อมไทมัสที่ช่วยคัดกรองและทำลายเซลล์ภูมิคุ้มกันที่ตอบสนองกับเนื้อเยื่อตัวเอง (กระบวนการ tolerance ส่วนกลาง) ในขณะที่ฮอร์โมนเพศชาย จะส่งเสริมการสร้าง AIRE ผลจากความแตกต่างนี้คือผู้หญิงมีโอกาสเกิดเซลล์ T ที่ตอบสนองต่อเนื้อเยื่อตนเองมากกว่าผู้ชาย ทำให้เสี่ยงต่อโรคภูมิคุ้มกันมากขึ้นได้มากขึ้นนั่นเอง
นอกจากนี้ก็ยังมีปัจจัยกระตุ้นอื่นๆ เช่น สิ่งแวดล้อม ความเครียดเรื้อรัง สารเคมีบางชนิดที่อาจกระตุ้นการทำงานที่มากเกินไปของภูมิคุ้มกัน การติดเชื้อไวรัสบางชนิดอาจเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการอักเสบเรื้อรังและสร้างแอนติบอดีต่อตนเองเพิ่มขึ้น
ผู้หญิงควรตระหนักถึงความเสี่ยงนี้และสังเกตอาการผิดปกติตั้งแต่เนิ่น ๆ เช่น อาการปวดข้อต่อ บวม หรือมีผื่นแดงตามผิวหนังที่เกิดขึ้นเรื้อรัง รวมทั้งอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่ายโดยไม่ทราบสาเหตุ หากมีอาการเหล่านี้เป็นเวลาติดต่อกันนาน ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยว่าอาจเป็นโรคภูมิคุ้มกันหรือไม่ เพราะการตรวจพบและดูแลรักษาแต่เนิ่นๆ จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนและลดความรุนแรงของโรคได้.
อ้างอิง
https://www.jci.org/articles/view/180076/figure/1
https://www.jci.org/articles/view/180076/figure/3
https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/18190880/#:~:text=development,stress%2C%20and%20of%20the%20major
สุขภาพ
ความรู้รอบตัว
35 บันทึก
36
4
48
35
36
4
48
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย