18 พ.ค. เวลา 12:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ

เส้นทางรถไฟ จีน-ลาว จุดเปลี่ยนสำคัญส่ง "ทุเรียน"ไทยบุกแดนมังกร

“ทุเรียน”ราชาผลไม้ไทย เป็นสินค้าเกษตรส่งออกลำดับต้นๆ ของไทย โดยในปี 67 ไทยส่งออกทุเรียน 859,183 ตัน มูลค่า 3,755.7 ล้านดอลลาร์ มีสัดส่วนถึง 72.9% ของมูลค่าการส่งออกผลไม้สดทั้งหมดของไทย ตลาดส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ 1. จีน (สัดส่วน 97.4% ของมูลค่าการส่งออกทุเรียนสดของไทย) 2. ฮ่องกง 3. เกาหลีใต้ 4. มาเลเซีย และ 5. สหรัฐอเมริกา
2
“ตลาดจีน” ถือเป็นตลาดส่งออกทุเรียนอันดับ 1 ของไทย ซึ่งทุเรียนไทยได้รับความนิยมจากผู้บริโภคชาวจีน เมื่อเทียบกับทุเรียนจากประเทศอื่นๆ โดยในช่วงไตรมาส 2 ทุเรียนไทยเริ่มส่งออกไปจีนตั้งแต่เดือน เม.ย.เป็นต้นไปผ่านด่านขนส่งทางบกเป็นส่วนใหญ่ ทั้งรถบรรทุก และรถไฟ
ล่าสุดเว็ปไซต์กรมส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ กระทวงพาณิชย์ โดยกรมส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ (สคต.) ณ นครเฉิงตู ประเทศจีน รายงานว่า ในช่วงต้นเดือนพ.ค.ของทุกปี ได้เข้าสู่ฤดูกาลเก็บเกี่ยวผลไม้เขตเมืองร้อน อาทิ ทุเรียน มังคุดและมะพร้าว ถือเป็นช่วงนำเข้าและยอดขายสูงสุดประจำปี
ตามรายงานจากสำนักข่าวซินหัว เมื่อวันที่ 6 พ.ค. 2568 ศุลกากรหนานซา เมืองกว่างโจว ได้ดำเนินการตรวจปล่อยทุเรียนไทยล็อตใหญ่จำนวน 117 ตู้คอนเทนเนอร์ น้ำหนักรวม กว่า 1,600 ตัน ซึ่งประกอบด้วยทุเรียนสายพันธุ์ยอดนิยม อาทิ ทุเรียนพันธุ์หมอนทอง ทุเรียนพันธุ์ก้านยาว ทุเรียนพันธุ์กระดุมและทุเรียนพันธุ์ชะนี โดยทุเรียนทั้งหมดถูกกระจายเข้าสู่ห้างค้าส่งและซูเปอร์มาร์เก็ตในเศรษฐกิจพิเศษกวางตุ้ง ฮ่องกงและ มาเก๊า
โดยตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. เรือขนส่งทุเรียนจากต่างประเทศทยอยเทียบท่าหนานซาอย่างต่อเนื่อง ท่าเรือหนานซายังมีเรือเร็วที่ขนส่งทุเรียนจากไทยแล้ว รวม 9 ลำ คิดเป็น 200 ตู้คอนเทนเนอร์ หรือราว 2,500 ตัน สะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ความต้องการบริโภคทุเรียนของผู้บริโภคชาวจีนยังคงอยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าราคาทุเรียนในช่วงต้นฤดูกาลจะยังคงมีราคาสูง
ปี 2568 นับเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของเส้นทางโลจิสติกส์ผลไม้ไทย โดยเฉพาะทุเรียน เมื่อขบวนรถไฟจีน-ลาว (China–Laos Railway) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Belt and Road Initiative ได้เริ่มใช้เป็นเส้นทางนำเข้าทุเรียนอย่างเป็นทางการ
โดยทุเรียนล็อตแรกถูกบรรจุในตู้ควบคุมอุณหภูมิจากคลังรวบรวมผลไม้ในจังหวัดจันทบุรี เดินทางข้ามแดนด้วยรถบรรทุกผ่านสะพานมิตรภาพไทย–ลาว สู่นครหลวงเวียงจันทน์และเข้าสู่ระบบรถไฟขบวนพิเศษจีน–ลาว ซึ่งเป็นขบวนรถไฟขากลับสำหรับขนส่งสินค้าเกษตร นำส่งถึงสถานีรถไฟนานาชาตินครเฉิงตู ในมณฑลเสฉวน ประเทศจีน จากนั้นสินค้าจะถูกถ่ายเทสู่ศูนย์โลจิสติกส์ของโครงการ “New Western Land-Sea Corridor” เพื่อเปลี่ยนถ่ายตู้คอนเทนเนอร์และกระจายต่อไปยังตลาดต่างมณฑลนอกเสฉวน รวมถึงมณฑลกวางตุ้งและเจ้อเจียง
จุดแข็งของเส้นทางใหม่นี้ คือ ลดระยะเวลาขนส่งจากเดิม 5–7 วัน (ทางเรือ) เหลือเพียง 2–3 วัน ทำให้สินค้ายังมีความสดใหม่ ลดอัตราการเน่าเสียและความเสียหายระหว่างขนส่ง เส้นทางคมนาคมนี้เชื่อมโยงตลาดจีนฝั่งตะวันตก ซึ่งมีศักยภาพการบริโภคสูงซึ่งแต่เดิมเข้าถึงได้ยาก เช่น นครเฉิงตู ฉงชิ่งและซีอาน เป็นต้น
อ่านต่อ:
โฆษณา